ระบบบันทึกเสียง

ระบบบันทึกเสียง
วิวัฒนาการของการบันทึกเสียง
  ก่อนที่จะมาเป็นตัวแผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่มีลักษณะเป็นแป้นหมุน รูปร่างต่างๆกันมากมายในปัจจุบันนี้ คงจะสงสัยกันว่า มันมีวิวัฒนาการมาอย่างไร โดยส่วนตัวผมแล้ว เมื่อเราจะศึกษาเรื่องในเรื่องหนึ่งให้เป็นที่ถ่องแท้ ก็คงมิอาจที่จะมองข้ามเรื่องของประวัติศาตร์และวิวัฒนาการของสิ่งนั้นๆ จึงขอใช้เนื้อที่สักเล็กน้อยเป็นการเกริ่นนำให้ทราบถึงพัฒนาการคร่าวๆและบุคคลสำคัญบางท่านที่เป็นผู้ผลิตเครื่องเล่นแผ่นเสียงให้เราได้ใช้กันถึงทุกวันนี้
ถ้าจะเอ่ยถึงเรื่องของการบันทึกเสียง บุคคลสำคัญที่เรามักจะจำได้ที่เป็นผู้ผลิตเครื่องบันทึกเสียงคนแรกคือ Thomas Alva Edison แต่จริงๆแล้ว บุคคลแรกที่เป็นผู้ที่สามารถ “จับ” เอาคลื่นเสียงที่เรามองไม่เห็นมาเป็นเส้นซิกแซกให้เรามองเห็นได้เป็นคนแรกคือ Leon Scott 

ปี 1857 Leon Scott ได้ผลิตเครื่องที่สามารถบันทึกคลื่นเสียง เช่นเสียงพูด มาลงในกระดาษได้คนแรก เครื่องนั้นคือ Phonautograph หลักการก็คือว่า จะมีกรวยทรงกระบอกคล้ายโทรโข่งทำหน้าที่จับคลื่นเสียง ที่ปลายด้านเล็กของโทรโข่งนั้นจะเป็น diaphragm และยึดติดกับ stylus ที่ทำด้วยขนของสุกร เมื่อมีคลื่นเสียงเข้ามา ก็จะทำให้ diaphragm ขยับตัว และตัว stylus ก็ขยับด้วย ปลาย stylus นั้นก็จะไปขูดลงบนกระดาษเขม่าที่ผ่านการรมควัน ทำให้เห็นเป็นเส้น แต่ข้อเสียของ phonautograph คือไม่สามารถที่จะเล่นกลับเป็นเสียงได้ 

ปี 1878 Thomas Alva Edison ได้ทำการผลิตเครื่อง Phonograph ขึ้น โดยขยายต่อความคิดของ Leon Scott โดยการใช้เข็มเหล็กกรีดลงบนแผ่นดีบุกทรงกระบอก (tin foil) ทำให้สามารถบันทึกและเล่นกลับได้ แต่ข้อเสียของ Phonograph ก็คือว่ามันสามารถเล่นกลับได้ไม่กี่ครั้งก็เสื่อมสภาพ (ภาพด้านล่าง)

phonograph ในยุคเริ่มแรก


phonograph ในยุคต่อมา

Charles Sumner Tainte




ปี 1886 Charles Sumner Tainter ได้พัฒนาเครื่องบันทึกเสียงเรียกว่า Graphophone โดยการเปลี่ยนจากกระบอก tin foil มาเป็นกระดาษทรงกระบอกที่เคลือบด้วย wax ทำให้สามารถเล่นกลับได้หลายครั้ง เครื่อง graphophone นี้จึงเป็นที่แพร่หลายกันมาก โดยเฉพาะในด้านของงาน office ที่มีการบันทึกเสียงพูด และมีการเล่นกลับพร้อมกับมีผู้ถอดเสียงเป็นพิมพ์ดีด และอาจสื่อสารต่อไปในรูปของโทรเลข หรือโทรศัพท์ แต่ในด้านของเสียงเพลงนั้น ยังเป็นในลักษณะ commercial ได้ยากยิ่ง เพราะว่าไม่สามารถที่จะทำสำเนาหลายๆชุดจากการบันทึกเสียงครั้งเดียวได้ ถ้าจะผลิตเพลงๆหนึ่งหลายๆ copy ก็จะต้องให้นักร้องเล่นซ้ำๆหลายๆครั้ง ทำให้ต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูงสำหรับเพลง
                                                  (เครื่อง graphophone)

สนทนาทางโทรศัพท์
 คือ ที่มีระบบปฏิบัติการ Windows XP / Windows 7 สามารถบันทึกเสียงการสนทนา ปราศัย
ได้จำนวนหลายคู่สายในระบบเดียว ทำให้เกิดเสถียรภาพในการทำงานสูง เหมาะสำหรับธุรกิจทุกประเภท ทำงานร่วมกับระบบโทรศัพท์ทั่วไปทั้งแบบโทรศัพท์จากชุมสาย และโทรศัพท์ภายในสำนักงาน มีการใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน นอกจากนี้ ยังมีระบบสำรองข้อมูลให้อัตโนมัติ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลที่บันทึกจดจำไว้
ระบบบันทึกเสียงสนทนาทางโทรศัพท์อัตโนมัติ (Voice Logger) สำหรับองค์กร เริ่มต้นที่ 1/4/8/16 - 128 คู่สาย เหมาะสำหรับ ระบบ Call Center, ธุรกิจซื้อขายหลักทรัพย์, ธุรกิจเร่งรัดหนี้สิน, ธุรกิจประกันภัย, ธุรกิจที่ต้องการบันทึกเสียงเก็บไว้เพื่อพัฒนาบุคลากรฯ และเพื่อธุรกิจ หรือเพื่อตรวจสอบ การสนทนาทักทายในภายหลัง เพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ หรือ อื่น ๆ    เครื่องบันทึกเสียงระบบบันทึกเสียงสนทนาทางโทรศัพท์ ที่ใช้เทคโนโลยีประมวลผลสัญญาณดิจิตอลประสิทธิภาพสูง สามารถใช้งานผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Web Based User Interface) และ Local Monitoring ผ่านระบบเครือข่าย (LAN) ตลอด 24 ชั่วโมง ระบบบันทึกเสียงสนทนาสามารถทำงานได้หลายคู่สายพร้อมกันและทุกคู่สายทำงานเป็นระบบเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบบันทึกเสียงสามารถกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานและ เงื่อนไขการค้นหาข้อมูลเสียง (Query Options) ได้หลายระดับ เสียงที่บันทึกเก็บไว้มีความคมชัด ไม่มีเสียงแทรกหรือเสียงรบกวน หน้าจอของโปรแกรมเป็น Web Interface ที่ออกแบบให้สามารถใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน และมีฟังก์ชั่นให้เลือกใช้งานได้อย่าง ครบถ้วน ระบบบันทึกซ่อนไว้เหมาะสำหรับธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็ก ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ ที่ต้องการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของพนักงาน ทั้งในรูปแบบการรับสายและการโทรออก รองรับการทำงานร่วมกับระบบโทรศัพท์ทั่วไปทั้งแบบโทรศัพท์จากตู้สาขาอัตโนมัติ (PABX) และโทรศัพท์ภายใน read moreบันทึกเสียงเซฟไว้ ได้ทันที่เมื่อยกหู ฟังเสียงที่บันทึกไว้ฟังย้อยหลังได้ ตามวันเดือนปี กำหนดสิทธิ์ในการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนได้โดยไม่เหมือนกัน ฟังเสียงการบันทึกฟังได้แบบสดๆ และแบบการบันทึกบันทึกฟังภายหลังโทรศัพท์บันทึกเสียงการสนทนาที่สำคัญที่สุด ไม่มีการหยุดบันทึก จดจำสามารถทำงานได้ตลอดเวลาแบบ  24 ชั่วโมง ทุกๆ ฟังค์ชั่น สามารถทำงานได้แบบเรียลทาม ระบบบันทึกซ่อนไว้โชว์เบอร์ โทรออก ได้ยังสามารถ ควบคุมคุณภาพการบันทึกเซฟไว้ และ ฟังเสียงการสนทนาย้อนหลังได้ด้วยยังสามารถจัดการระบบประเภทผู้ใช้งาน ว่าแต่ละคนมีความสามารถใช้งานได้มากน้อยแค่ไหนนับการบันทึกบันทึกได้ ยังสามารถ พิมพ์รายการ การใช้งานโทรศัพท์ และแปลงเสียงการใช้งานได้แบบ MP3 และ WAVE จัดการผู้ใช้งานและการบันทึกจดจำโชว์เบอร์โทรศัพท์ ยังรวมถึงข้อมูลผู้ใช้งานผ่านระบบอินเตอร์เน็ท  หรือจะเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนตัวก็ยังได้
ระบบ บันทึกเสียงโทรศัพท์ สิ่งจำเป็นต้องมีสำหรับธุรกิจของคุณ! ผู้คนจำนวนมากเข้าใจผิดว่าระบบบันทึกเสียงโทรศัพท์ คือ อุปกรณ์เครื่องดักฟังทางโทรศัพท์ และมองภาพในแง่ลบเกี่ยวกับอุปกรณ์ . ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว, ระบบบันทึกเสียงโทรศัพท์ คือ วิธีการในการพัฒนาคุณภาพการบริการ และรวมไปถึง Training purpose. ด้วยวิธีการนี้, คุณสามารถเพิ่มความสามารถในการพูดคุยระหว่างตัวแทนขายของคุณและลูกค้าของคุณ .ดังนั้น, นี่คืออุปกรณ์ที่ดีสำหรับเพื่อเอาชนะความพึงพอใจของลูกค้าของคุณ.เครื่องบันทึกการสนทนา สิ่งที่จำเป็นสำหรับธุรกิจของคุณคนมากมาย มักเข้าใจผิดว่า การที่มีเครื่องบันทึกเสียงซ่อนไว้ ต่ออยู่กับระบบโทรศัพท์ของคุณ ภาพที่มองออกมา ไม่ค่อนจะดีนัก แต่ ในความเป็นจริงแล้ว การบันทึกเสียง ซ่อนไว้คือวิธีการปรับปรุง คุณภาพและการบริการ เพื่อฝึกฝนพัฒนา ในการบริการในครั้งต่อๆ ไปให้ดียิ่งขึ้น ระหว่างที่คุณสนทนากับลูกค้า เป็นเครื่องมือ ที่สามารถเอื้อประโยชน์ นำชัยชนะมาสู่คุณและองค์กร ทำให้เกิดความพอใจแก่ลูกค้าของคุณ

จุดเด่นของระบบที่มีมากกว่าระบบอื่น ๆ
ไม่ต้องต่อคอมพิวเตอร์ขณะบันทึก, โชว์เบอร์โทรเข้าโทรออก, ฝากข้อความเมื่อไม่มีผู้รับสายโดยตั้งช่วงเวลาได้, การแจ้งเตือนเพื่อแจ้งการบันทึกก่อนสนทนา, มีระบบให้คะแนนเมื่อจบการสนทนาปราศัย, เก็บข้อมูลการบันทึกแบบอัตโนมัติ, Login เข้าระบบผ่านระบบ Lan ได้โดยตรง, มี Server ในตัว, เก็บทุกรายละเอียดในการสนทนา พูดคุยเช่น วัน เดือน ปี ที่สนทนา, คู่สายที่โทรเข้าและโทรออก, เวลาในการสนทนาประชุมแบบเจาะจงแต่ละ Ext.เก็บข้อมูลที่บันทึกการสนทนาไว้ได้นานเป็นปี เพื่อตรวจสอบการสนทนาประชุมในภายหลังหรือเพื่อเป็นหลักฐานในการทำนิติกรรมต่าง ๆ หรือเพื่อปรับปรุงคุณภาพการให้บริการด้านต่าง ๆระบบบันทึกเสียงการสนทนาทางโทรศัพท์

แบบหลายช่องสัญญาณซึ่งจะบันทึกได้ทั้งสายโทรศัพท์แบบอนาล็อกและดิจิตอล  โดยสามารถทำการติดตั้งได้อย่างง่ายและรวดเร็ว รองรับการใช้งานในอนาคตได้ถึงหลายร้อยคู่สาย  สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ง่ายโดยผ่านบราวเซอร์จากคอมพิวเตอร์และมีคุณสมบัติพิเศษในการรายงานข้อมูลอีกหลายประการ จึงทำให้  Xtend Voice Logger เหมาะกับองค์กรที่มีศูนย์บริการตอบรับทางโทรศัพท์ หรือศูนย์บริการตอบรับข้อมูลทางโทรศัพท์ อาทิเช่น นายหน้าซื้อขายหุ้น ธนาคาร โรงพยาบาล บริษัทห้างร้าน สถาบันการศึกษาและสำนักงานกฎหมายต่างๆ




บทสนทนาทั้งหมดจะถูกบันทึกและเก็บในลักษณะของ Wave Format ซึ่งสามารถกำหนดรูปแบบการบีบอัดข้อมูลและดึงข้อมูลไฟล์เสียงในออกมาในรูปแบบของ MP3/PCM/GSM ได้

 Browser-based user interface
ผู้ใช้สามารถเข้าถึงการใช้งานระดับต่างๆ โดยผ่านบราวเซอร์ ซึ่งรองรับผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อมกัน โดยการใช้งานดังกล่าวจะช่วยให้ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หรือผู้บริหารระดับสูงสามารถนำบทสนทนามาพิจารณาทบทวนเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้
 Logs complete call details
บทสนทนาที่เกิดจากการรับสายโทรเข้าและโทรออกจะถูกบันทึกลงในระบบอย่างสมบูรณ์ รวมถึงรายละเอียดการโทรต่างๆ เช่น การแสดงเลขหมาย วันที่ เวลาและระยะเวลาการโทร
Powerful search & reporting
ด้วยระบบการสืบค้นข้อมูลและการรายงานที่มีประสิทธิภาพทำให้คุณสามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถดึงข้อมูลออกมายังแฟ้มข้อมูลในรูปแบบของ zip หรือ Excel เพื่อทำการวิเคราะห์ในอนาคตได้ มากไปกว่านั้นระบบยังสามารถตรวจสอบและการดักฟังการโทร ณ ขณะปัจจุบันได้อีกด้วย
Call record commenting & tagging
การเพิ่มหมายเหตุและทำเครื่องหมายเพื่อใช้ในการติดตามข้อมูลการสนทนา สามารถทำให้พบข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วผ่านคุณสมบัติการสืบค้นข้อมูล
Advance Audio Player
โปรแกรมการเล่นไฟล์ออดิโอแบบ ActiveX-Based ซึ่งมีความสามารถพิเศษแฝงมาด้วย อาทิ AGC, DTMF Mute และ Loop Play
 Backup/Archiving capability
สำหรับการสำรองข้อมูล ข้อมูลไฟล์เสียงจะถูกเขียนลงใน CD, DVD, Folder หรือ เก็บในรูปแบบของ .Zip file ซึ่งหากข้อมูลหลักเกิดล้มเหลวก็สามารถกู้ข้อมูลคืนกลับมาจากไฟล์ที่ได้ทำการสำรองไว้ในภายหลังได
 Alert & Client-side popups
ด้วยคุณสมบัติ Logger Client ทำให้สามารถมองเห็นการการโทร ณ ขณะปัจจุบันได้ทั้งหมดในองค์กร รวมถึงระบบการแจ้งเตือนเนื่องจากทรัพยากรเหลือน้อยหรือสภาวะล้มเหลวต่างๆและหน้าต่างแสดงข้อมูลที่เครื่องลูกข่าย
Phonebook & call statistics
สมุดโทรศัพท์เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติพิเศษที่ระบบได้เพิ่มลงในระบบ ซึ่งสามารถกำหนดข้อมูลในสมุดโทรศัพท์เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานอาทิ การรายงาน หน้าต่างแสดงข้อมูลและการสืบค้นข้อมูลรูปแบบต่างๆ ได้  อีกทั้งระบบยังออกแบบการแสดงสถิติการโทรศัพท์ในรูปแบบของแผนภูมิภาพซึ่งช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลของช่องสัญญาณและช่วงเวลาต่างๆ ดังที่ต้องการได้
จะบันทึกเสียง ก็จะต้องมีอุปกรณ์บันทึกเสียง
ปัจจุบันงานบันทึกเสียงใช้ระบบดิจิตอลกันหมดแล้วครับ แบ่งเป็น
1-บันทึกด้วย คอมพิวเตอร์ หัวใจก็คือ คอมพิวเตอร์ แต่ก็ยังต้องมีอุปกรณ์อื่นๆอยู่ดี เช่น ไมโครโฟน Interface, Mixer, ลำโพง, หูฟัง........
2-เครื่องบันทึกแบบสำเร็จ
- เครื่องอัดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเลย โดยไม่ต้องใช้ คอมพิวเตอร์แต่จริงๆในเครื่องก็บรรจุคอมพิวเตอร์ ไว้ในนั้นแหละ แต่ออกแบบให้ใช้งานง่ายๆ อัดได้หลายแทรคแล้วแต่รุ่น
- และอีกแบบคือเครื่อง อัดแบบพกพา ส่วนใหญ่เป็นแบบมีไมค์ในตัว อัดแบบ Stereo 2 Chanel อย่าง Zoom รุ่น H1 ,Tascam DR-05 หรือ รุ่นที่เสียบ ไมค์ข้างนอกได้ อย่าง H4N เหมาะสำหรับนักข่าว พกพาไปมาง่าย
มาไล่เรียงกันดูนะครับ...

1-บันทึกด้วย คอมพิวเตอร์
1. Computer (ทางเราไม่ได้จำหน่าย แต่ติดต่อ จัดการให้ได้)
Mac - PC ก็คอมพิวเตอร์เหมือนกัน เพียงแต่่ใช้ระบบต่างกัน อันไหนก็ได้แล้วแต่ใครเป็นแฟนอะไร คุณสมบัติ CPU ก็เร็วๆ ยิ่งเร็วยิ่งดี (ของ Intel จะดี) Ram เยอะๆ hardisk เร็วๆ .....นอกนั้นตัวประกอบครับ ไม่ว่าจอ เคส คีย์บอร์ด เมาส์ แล้วแต่ใครชอบแบบไหน
--Mac ค่อนข้างเสถียร เพราะประกอบโดยบริษัทเดียว แต่ก็สั่งส่วนประกอบจากบริษัทอื่น ข้อเสียงแพงจะทำอะไรต้องจ่าย ต้อง regist ไม่ได้ดีกว่า PC
--PC ส่วนประกอบทำโดยหลายผู้ผลิต หลาย Driver หลาย Version Window และโปรแกรมมีหลากหลาย....มีไวรัสกวนใจ แต่ข้อดีคือ ราคาถูก ทำอะไร ก็ได้ มันส์ดี ผมเคยมี Mac G4 ใช้ แต่วันนี้ก็ใช้ PC เป็นหลักครับ ค่อนข้าง OK ไม่มีปัญหาอะไร
2. อุปกรณที่จำเป็นหลัก
นี่แหละครับที่เราจำหน่าย..เรียงลำดับเลยครับ
-Audio Interface หรือ Sound Card (ดูรายละเอียดได้ที่>
นี่คือสิ่งแรกที่คุณต้องมี เพื่อเป็นตัวเชื่อมสัญญาณระหว่างคอมพิวเตอร์กับสิ่งที่เราต้องการอัด และต้องการฟัง จริงๆใช้ Sound Card ที่ติดกับคอมพิว เตอร์ก็ได้ แต่การ์ดพวกนั้นไม่ได้ออกแบบสำหรับงานบันทึกเสียงโดยเฉพาะ คุณภาพต่ำ มีปัญหาจุกจิกหลายอย่าง เช่น เสียงหน่วง(Latency) แจ็คเล็ก
--Audio Interface มีทั้งแบบ Internal PCI card และแบบ External ต่อทาง USB หรือ Firewire
1-Internal PCI card ตัวถูกสุดน่า จะเป็น ESI Maya44...สี่พันกว่าบาทครับ ส่วนรุ่น-ยี่ห้ออื่นๆก็ มีหลายรุ่น
2-External USB หรือ Firewire ราคาก็เริ่มที่ สี่พันกว่าบาท
-Head Phone หรือ ลำโพงมอนิเตอร์---เสียงที่คุณทำ ได้ยินผ่าน 2 ตัวนี้ครับ
ลำโพงมอนิเตอร์ สำหรับฟังเสียงที่เราอัดและเล่นกลับออกมา ฟังได้หลายคน ขนาดของลำโพงควรสัมพันธ์กับขนาดห้อง ห้องเล็กใช้ลำโพงใหญ่ ก็ไม่ เข้ากัน เสียงอาจจะล้น ห้องใหญ่ใช้ลำโพงเล็กได้ แต่ต้องฟังแบบใกล้ๆ (Near field) ส่วนขนาด ยี่ห้อ รุ่น ล้วแต่งบประมาณครับ
-Mixer ศูนย์รวมของเสียง ทั้งเข้า-ออก ไม่มีก็ได้ แต่ยุ่งยาก ปวดหัวกับ latency อยากใส่ Effect เสียงร้องก็ไม่ได้ talkback ก็ลำบาก
-Microphones ต้นเสียงต่างๆจะผ่าน Microphone ก่อน ยกเว้น เสียบ direct อย่าง Effect กีตาร์-เบส
เพียงเท่านี้ก็บันทึกเสียงได้แล้ว ส่วน Software ก็แล้วแต่ใครชอบตัวไหน Sonar Cubase Nuendo Protools Logic ล้วนเป้าหมาย เดียวกันครับ
3. อุปกรณ์เฉพาะอื่นๆ
แต่ละคนอาจจะใช้อุปกรณ์ไม่เหมือนกัน เช่น Midi Interface, Midi Controller, Monitor Control, Headphone Amp, Direct Box, Mic PreAmp, Compressor.....
เลือกอุปกรณ์ต่างๆ จากยี่ห้อ รุ่น ราคา ให้พอดี ให้เหมาะกับงานของคุณ หากงบประมาณ ของคุณมีไม่มาก ก็อย่าใช้ของแพงเลยครับ เอา แบบพอดีๆแต่ให้ครบ ให้ทำงานได้ อย่าลืมว่าดนตรี หรือเสียงที่ได้ออกมาไม่ได้ขึ้นกับอุปกรณ์อย่างเดียว อยู่ที่ฝีมือของคนทำด้วย และอยู่ ที่ตัวเพลงด้วย หากคุณเป็นมือใหม่ ให้ปรึกษากับเราก่อน ไม่งั้นคุณอาจจะได้ของที่ไม่เหมาะกับงานของคุณ และอาจะต้องเสียเงิน 2 ต่อ ลอง set เริ่มกันดู ตามรายละเอียดด้าน

ประเภทของ soundcardและการบันทึกเสียง
Soundcard หรือ การ์ดเสียง ที่หลายๆคนรู้จักกันเป็นอย่างดีว่าเป็นอุปกรณ์เสริมในคอมพิวเตอร์เพื่อไว้เชื่อมต่อ และถ่ายทอดสัญญาณเสียงจากคอมพิวเตอร์สู่ลำโพง หรือ หูฟังเพื่อให้เราได้ยินเสียง โดยในบทความนี้ผมจะพาไปรู้จักกับ Soundcard ระดับที่ใช้ในการบันทึกเสียงระดับอาชีพ หรือที่เรียกว่า Audio Interface หรือ อุปกรณ์เชื่อมต่อด้านเสียงกัน
Soundcard กับ Audio Interface


โดยคอมพิวเตอร์ในยุคก่อนหน้านี้จะไม่มีการ์ดเสียง built in อยู่ใน  mainboard เหมือนในปัจจุบัน โดยต้องหาซื้อการ์ดเสียงมาเพื่อไว้ฟังเพลง และเสียงดนตรีจากการดูหนัง ฟังเพลง เล่มเกมส์ ซึ่งลักษณะมันก็จะเป็นการ์ด PCI  ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่คนติดในการใช้เรียกอุปกรณ์ประเภทนี้ว่า Soundcard หรือการ์ดเสียง แม้ปัจจุบันมันจะไม่ใช่การ์ดแล้วก็ตาม และมีช่องต่อสัญญาณเสียงหลายช่องทั้ง input, output และบางการ์ดอาจจะเป็นแบบ Surround 5.1 หรือ 7.1 ก็จะยิ่งมีช่องเพิ่มเติมมากขึ้น  โดย Connector ที่ใช้เชื่อมต่อก็จะเป็น mini trs ขนาด 3.5 mmn และมักจะมีช่องต่อ Midi ผ่านช่องต่อ D-Sub แต่ในหลายปีหลัง และในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทั้งแบบตั้งโต๊ะ หรือ Notebook ก็จะมี Soundcard แบบ Bulit in มาเลยทันทีไม่ต้องหาซื้อเพิ่มแต่อย่างใด โดยตัวที่เป็นลักษณะ built in นั้นก็จะออกแบบมาเพื่อไว้ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ ทั่วๆไป ถึงแม้จะมีช่อง Input ไว้สามารถบันทึกเสียงได้ในทางปฏิบัติ แต่หากต้องการคุณภาพเสียงที่ดี หรือใส่ใจในคุณภาพเสียง ก็จะไม่เหมาะในการบันทึกเสียงแน่นอนเนื่องจาก Soundcard แบบ Built in เหล่านี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่องานบันทึกเสียงในระดับคุณภาพที่เหมาะสมด้วยข้อจำกัดหลายๆอย่างทั้ง ภาค A/D หรือ Audio to Digital Converter, Latency (การหน่วงของเสียง) ที่สูง, คุณภาพของภาคขยายสัญญาณไมค์ (Pre Amp), จำนวนช่องที่ต่อในการเชื่อมสัญญาณ (Channel), อัตราส่วนระดับสัญญาณต่อเสียงรบกวน (Signal to Noise Ratio), เสียงรบกวนจากภาคจ่ายไฟ เป็นต้น

                                                 องค์ประกอบของ Audio Interface


               ในปัจจุบันอุปกรณ์ที่เป็นศูนย์กลางในการบันทึกเสียงทั้งใน Studio ใหญ่ๆ หรือใน Home Studio คือคอมพิวเตอร์ และเราจำเป็นต้องใช้ Audio Interface เพื่อที่จะบันทึกเสียงลงสู่คอมพิวเตอร์หรือเพื่อส่งสัญญาณเสียงไปสู่ลำโพงมอนิเตอร์ โดยหน้าที่ของ Audio Interface คือไว้เชื่อมต่อสัญญาณเสียงอย่างน้อยหนึ่ง channel หรือมากกว่าเข้าสู่ หรือออกจากคอมพิวเตอร์ ในระดับ high resolution หรือความละเอียด และคุณภาพสูงเพื่อบันทึกเสียง และเล่นกลับ (playback)

Audio Interface แบบ Multi Channels 6 Ins/4 Outs ที่ใช้ในการบันทึกเสียงพร้อมกันหลายชิ้นดนตรี TASCAM US600
ในการบันทึกเสียงบน Software อย่าง DAW (Digital Audio Workstation) บน Computer จำเป็นต้องได้รับการแปลงสัญญาณเป็น Digital ก่อนผ่านภาคแปลงสัญญาณจากอนาลอกเป็นดิจิตอล (A/D Converter) ซึ่งการแปลงสัญญาณนั้นจะทำการแปลงในสัญญาณระดับ Line Level เท่านั้น ซึ่งหากต้องการบันทึกเสียงไมค์ลงไปก็ต้องการภาคขยายสัญญาณเสียงไมค์โครโฟน (Microphone PreAmp) ที่มี Voltage ต่ำให้เป็น Line Level ก่อน และเมื่อแปลงสัญญาณเรียบร้อยแล้วก็ต้องทำการส่งสัญญาณผ่านแผงวงจรไปสู่คอมพิวเตอร์ผ่านรูปแบบการเชื่อมต่ออย่าง USB, Firewire หรือ PCI และในการส่งสัญญาณออกจากคอมพิวเตอร์ก็ต้องผ่านภาคแปลงสัญญาณดิจิตอลสู่อนาลอก (D/A Converter) เพื่อนำสัญญาณออกในช่อง Output หรือช่องต่อสัญญาณหูฟัง โดยคุณภาพในแต่ละส่วนจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพเสียงของ Audio Interface
โดยในการเลือกซื้อหรือใช้ Audio Interface ประเด็นข้อแรกที่ใช้ในการเลือกคือ จำนวน Input และ Output โดยพิจารณาว่าต้องการใช้งาน Input และ Output พร้อมกันจำนวนเท่าไร โดยต้องพิจารณาถึงประเภทของสัญญาณ Input ด้วยว่าเป็นสัญญาณไมค์ หรือ Line โดยหากต้องการต่อไมค์ก็ต้องเลือกรุ่นที่มีภาค Pre Amp ในตัว และหากเป็นไมค์โครโฟนประเภท Condenser ทั่วไปก็ต้องการ Pre Amp ที่สามารถจ่ายไฟ Phantom Power +48V ได้ด้วย และ Function อื่นๆที่จะติดมาด้วยสำหรับรุ่นที่ราคาสูงขึ้นมาหน่อยเช่น High Pass Filter (ตัวตัดสัญญาณเสียงย่านความถี่ต่ำ), pad, ช่องต่อสัญญาณ Hi-Z สำหรับเครื่องดนตรีเช่น กีต้าร์ เป็นต้น และในหลายๆรุ่นก็จะมี Digital In/Out อย่าง S/PDIF, ADAT, AES/EBU โดยเราสามารถใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการเลือกได้ในกรณีที่เรามีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณแบบ Digital ได้ และ Audio Interface รุ่นที่มีราคากลาง-สูงมักจะมีช่องต่อ MIDI in/Out (Musical instrument digital interfae) ให้ด้วยเพื่อไว้เชื่อมต่อเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดหรืออื่นๆ
Connector มาตรฐานที่ Audio Interface ระดับอาชีพควรมีคือ XLR หรือ 1/4″ TRS ในขณะที่ Soundcard ทั่วไปมักจะเป็น Connector แบบ rca หรือ mini trs 3.5 mm โดยเพื่อคุณภาพของการบันทึกเสียงระดับสูงสุดควรจะเลือก Audio Interface ที่มีช่อง Input ต่อสัญญาณแบบ Balanced +4dBu เพื่อให้สัญญาณมีความแรงที่สุดเพื่อประโยชน์ในการทำงาน

ความสำคัญของภาคแปลงสัญญาณ
โดยสิ่งแรกที่คนทั่วไปพิจารณาในการเลือก Audio Interface มักจะเป็นเรื่อง Spec และจำนวน In/Out เป็นหลัก แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือเรื่องคุณภาพเสียง โดยปัจจัยหลักที่มีผลต่อคุณภาพเสียงคือภาค Converter โดยสำหรับงานบันทึกเสียงแล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับภาคแปลงสัญญาณคือ ความเที่ยงตรงของสัญญาณเสียงทั้งขาเข้า และขาออก โดยในในขาเข้า หรือ A/D Converter นั้นหากมีความผิดเพี้ยนในการแปลงสัญญาณจากอนาลอกเป็นดิจิตอลก็จะไม่สามารถแก้ไขใดๆได้ภายหลัง และสำหรับภาค D/A Converter มีหน้าที่ไว้แปลงสัญญาณจากดิจิตอลในคอมพิวเตอร์สู่สัญญาณเสียงอนาลอกออกมาสู่อุปกรณ์ภายนอกอย่างหูฟัง ลำโพงเพื่อรับฟังและไว้มอนิเตอร์เสียงจริงๆที่เราอัดเสียงลงไปหรือทำงาน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ภาค Converter ทั้ง  A/D และ D/A ต้องมีความแม่นยำ (Accurate) และเที่ยงตรง (Flat) เพื่อที่เราจะได้เสียงอย่างเราตั้งใจอัดเสียงลงไป หรือเพื่อการ mix หรือแก้ไขงานให้ได้ถูกต้องตามต้นฉบับของเสียงจริง


มาตรฐานของ Audio Interface ในยุคปัจจุบันควรที่จะรองรับการทำงานในระดับ Sample Rate ที่ 44.1 Khz ขึ้นไป ซึ่งปัจจุบันรองรับได้สูงถึง 192Khz และควรจะทำงานได้ในระดับความละเอียดที่ 24 Bit โดยควรหลีกเลี่ยงอุปกรณ์ที่รองรับได้สูงสุดเพียง 16 Bit โดยการบันทึกเสียงในระดับ 32 Bit ถือได้ว่าเกินความจำเป็นในปัจจุบัน และยังไม่มี hardware ใดๆออกมารองรับ โดยจุดสำคัญที่สุดไม่ได้อยู่ที่ spec แต่เพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่คุณภาพเสียงซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการทดสอบคือ “การฟัง”

รูปแบบการเชื่อมต่อ
แต่ก่อน Audio Interface จะมาในรูปแบบ PCI ซึ่งเวลาติดตั้งหรือต่อ-ถอดสายแต่ละครั้งก็ต้องก้มๆเงยๆอยู่ใต้โต๊ะกันเสมอ โดยอาจจะมีบางรุ่นที่มี breakout box หรือกล่องสำหรับไว้เชื่อมต่อแยกมาภายนอกให้ แต่หลังจาก Computer Notebook และความนิยมในการใช้งาน port USB อย่างแพร่หลายทำให้ Audio Interface ในช่วงหลายปีหลังจะนิยมแบบของ USB และ Firewire เป็นหลัก โดยก็ยังมีผู้ผลิตหลายเจ้าที่ยังผลิตแบบ PCI (หรือ PCMCIA สำหรับใช้ใน notebook) แต่ความนิยมก็ลดน้อยลงไปมากเนื่องจาก USB และ Firewire สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ และ Notebook และง่ายต่อการเชื่อมต่อและเคลื่อนย้ายมากกว่า รวมถึงเป็น plug and play แต่สำหรับรุ่นสูงๆที่ใช้ในห้องอัดใหญ่ๆก็ยังนิยมในรูปแบบของ  PCI card เนื่องจากมีความเสถียร รวมถึงมี bandwidth ที่สูง เช่น Pro Tools HD ที่เป็น System ที่นิยมในห้องบันทึกเสียงขนาดใหญ่ และห้อง Post Production


ในปัจจุบัน Audio Interface ระดับกลาง นิยมใช้ USB แบบ USB2.0 ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 480 Mbits/วินาที และ Firewire 400 และ Firewire 800 มีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 400 Mbits/วินาที และ 800 Mbits/วินาที ตามลำดับ แต่ในทางปฏิบัติแล้วบางครั้ง Firewire 400 ส่งข้อมูลได้เร็วกว่า USB 2.0 เนื่องจากมาตรฐานการรับส่งข้อมูล Host Based ของ USB มักจะไม่สามารถคงความเร็วที่ 480 Mbits/วินาทีได้ตลอดเวลา แต่ Firewire จะเป็นการรับส่งข้อมูลรูปแบบ peer ต่อ peer ซึ่งมีความสามารถในการคงความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้มีประสิทธิภาพกว่าและกิน CPU น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม  Bandwidth ไม่ได้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาเลือกใช้ Audio Interface เนื่องจาก ทั้งแบบ USB 2.0 และ Firewire  มีประสิทธิภาพเพียงพอในการรองรับการทำงานพร้อมกันหลาย Channels ได้เป็นอย่างดี หรืออย่างก่อนหน้านี้ Audio Interface หลายรุ่นที่เป็น USB 1.1 ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 12 MBits/วินาที ก็ยังสามารถทำงานใน Project ที่ Channels ไม่เยอะได้ดี สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาคือการออกแบบ และควบคุมคุณภาพการผลิตจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้และมีความเชี่ยวชาญในด้าน Audio Interface ทั้งแบบ USB 2.0 และ Firewire ซึ่งมีหลายยี่ห้อดังๆที่เป็นที่รู้จักเช่น Tascam, Native Instruments, Focusrite, M Audio, Presonus, Motu, RME เป็นต้น โดยมีผู้ผลิตอุปกรณ์ด้าน Pro Audio หลายเจ้าที่หันมาผลิต Audio Interface แต่ยังมีปัญหาในการใช้งาน และการออกแบบโดยเฉพาะในเรื่อง Driver (โดยผมมีประสบการณ์ตรงจากการใช้งาน และติดตั้งของหลายยี่ห้อที่หันมาทำ แต่ยังออกแบบมาได้ไม่ดี และมีปัญหาในการใช้งานค่อนข้างมาก) โดยควรพิจารณาการเลือกใช้ Audio Interface แบบ USB และ  Firewire เจ้าที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิต Audio Interface เป็นหลัก โดยปัจจัยอื่นๆที่ใช้ประกอบการพิจารณาในการเลือก Audio Interface เพื่อบันทึกเสียงและทำงานเพลงคือ Latency (ความหน่วงของเสียง) และค่า Signal to Noise ratio (อัตราส่วนระหว่างระดับสัญญาณ และเสียงรบกวน) เป็นต้น

โดยหลักในการปฏิบัติที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของ Audio Interface แบบ USB 2.0 และ Firewire ได้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้นคือการเลือกซื้อ Card ที่ใช้เชื่อมต่อ USB 2.0 หรือ Firewire แบบแยกออกมาต่างหากจาก Mainboard (สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ) โดยเลือก card ที่ใช้ chipset ที่ดีอย่าง Texas Instruments เป็นต้น โดยราคาประมาณ 1 พันกว่าบาท โดยนอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานแล้วจะช่วยลดปัญหาในการใช้งานได้ด้วย โดยปัญหาที่เจอหลายๆครั้งที่ไม่สามารถแก้ได้อาจเกิดจากการ์ดที่ใช้งานเพื่อเชื่อมต่อ USB2.0  หรือ  Firewire  ของคอมพิวเตอร์ไม่มีคุณภาพมากพอ โดยผมเคยเจอกรณีใช้ Audio Interface แบบ Firewire และมีปัญหาในการใช้งานเกือบทุกครั้งที่เปิดเครื่อง โดยหาวิธีแก้ปัญหาสารพัดทั้ง re-install ทั้งเปลี่ยนสาย ทั้งลงโปรแกรมใหม่ และสุดท้าย format เครื่องใหม่ แต่ก็ยังไม่หายสุดท้ายลองเปลี่ยนการ์ดเชื่อมต่อดู หายทันที โดยเสียเวลาในการแก้ปัญหาเป็นวันๆกันเลยทีเดียว


โดยในตอนนี้รูปแบบการเชื่อมต่อใหม่ๆอย่าง USB3.0 หรือ Thunderbolt  (ที่พัฒนาโดย Intel และร่วมมือกับ  Apple ในการนำเข้าสู่ตลาด) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งในอนาคตมาตรฐานของ Audio Interface คงเปลี่ยนจาก USB2.0 และ Firewire 400 มาเป็นรูปแบบใหม่ๆนี้ ซึ่งเราคงจะต้องมาตามดูกันว่าวงการ Audio Interface และ Computer Music จะพัฒนาต่อไปในรูปแบบใด
อุปกรณ์อื่นๆที่มี function หน้าที่เป็น Audio Interface ในตัว
ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิต และความต้องการในการใช้งานที่หลากหลายทำให้ผู้หลิตออกสินค้าที่พ่วงหลายหน้าที่เข้าไว้ด้วยกันเช่น Midi Controller ที่มาพร้อมกับ Audio Interface, ไมค์โครโฟนแบบ USB ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วหากต้องการคุณภาพในการบันทึกเสียงในระดับสูงควรจะเลือก Audio Interface แบบแยกต่างหากเพื่อคุณภาพของเสียงในระดับสูงสุด แต่ในบางกรณีที่งบไม่ถึง และไม่ได้มี requirement ที่สูงในการทำงานมากนักก็สามารถเลือกใช้อุปกรณ์เหล่านี้ได้ แต่คุณภาพเสียงในด้าน A/D หรือ D/A Converter  จะไม่สามารถสู้กับตัว Audio Interface แบบแยกตัวได้
ไมค์โครโฟนแบบ USB
ไมค์โครโฟนแบบ USB คือไมค์โครโฟนเป็นไมค์โครโฟน ที่มีวงจร A/D Converter ในตัว โดยต่อกับคอมพิวเตอร์แบบ USB เพื่อบันทึกเสียงจากไมค์ลักษณะนี้ลงคอมพิวเตอร์ได้จบในตัวเดียวไม่ต้องผ่าน PreAmp หรือ Audio Interface อีกเพื่อความสะดวก และประหยัดเงินในประเป๋า โดยมักจะนิยมในกลุ่ม Youtuber หรือการบันทึกเสียงระดับ demo หรือเพื่อ share ใน Social media เช่น  Facebook และรวมถึงในบางรุ่นสามารถนำมาเชื่อมต่อกับ iPad ได้โดยผ่าน Camera Connection Kit เพื่อบันทึกเสียงร่วมกับ App ต่างๆได้ด้วย โดยปกติแล้วไมค์แบบ USB จะมีราคาไม่สูง และเริ่มต้นเพียง 2 พันกว่าบาท แต่ในบางรุ่นที่ราคาสูงขึ้นอาจจะมี D/A Converter ด้วยเพื่อไว้ต่อ Output ออกหูฟังหรือลำโพงได้จบจากอุปกรณ์ตัวเดียว

DJ Audio Interface & Controller
นอกจาก Audio Interface ที่เป็นศูนย์กลางในการทำงานด้านบันทึกเสียงบนคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันแล้ว DJ ในปัจจุบันก็ได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการเปิดเพลงเป็นหลักเช่นเดียวกัน โดยนิยมใช้ Audio Interface เพื่อเปิดเพลง และ DJ Controller ในการควบคุม และเปิดเพลงในตัวเดียว รวมถึงการเชื่อมต่อกับเครื่องเล่น CDJ หรือ Turntable เพื่อไว้ควบคุมการเปิดเพลงที่เปิดจากคอมพิวเตอร์ผ่านระบบ Digital Vinyl System (DVS) โดยหลักแล้ว DJ จะเน้นการเปิดเพลง playback ซึ่งจะให้ความสำคัญกับทางด้าน D/A Converter เป็นพิเศษเพื่อให้คุณภาพเสียงที่เล่นออกไปสู่ผู้ชมมีคุณภาพที่ดีที่สุด

DAC สำหรับ  Head-Fi และ Hi-Fi
โดยในปััจจุบัน Computer เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในทุกด้านไม่เว้นแม้กระทั่งวงการ Hi-Fi หรือ Head-Fi (คำที่ใช้เรียกนักเล่นหูฟัง โดยผสมกันระหว่าง Headphones + Hifi) ซึ่งสำหรับการใช้งานในลักษณะนี้จะไม่เน้นในภาค A/D Converter แต่จะเน้นด้าน D/A Converter ที่ให้ความไพเราะเพื่อสุนทรียในการฟังเพลง โดยไม่เน้นในเรื่องของความ Flat อย่างที่ด้าน Professional Audio จะให้ความสำคัญเป็นหลัก โดยคำว่า DAC ที่เรียกกันจนติดปากนั้นย่อมาจาก Digital to Analog Converter นั่นเอง


หลักในการเลือก Audio Interface
โดยการเลือกซื้อ เลือกใช้ Soundcard หรือ Audio Interface ที่สำคัญและถูกต้องที่สุดคือให้เลือกจากลักษณะการใช้งานของเราเป็นหลักเพื่อให้ได้คุณภาพที่เหมาะสม และไม่ฉีกกระเป๋าจนเกินไป และอย่าไปพะวงแต่กับตัวเลข Spec ต่างๆแต่เพียงอย่างเดียว เพราะสุดท้ายแล้วเราต้องนำไปใช้งานด้านเสียง ซึ่งวิธีทดสอบที่ดีที่สุดของเครื่องเสียงคือ “การทดลองฟัง”  นั่นเอง เพราะความคุ้นเคย และรสนิยมด้านเสียงของแต่ละคนนั้นมีความแตกต่างกันตามความชอบและประสบการณ์ ดังนั้นเชื่อ “หู” ของคุณดีที่สุดครับ และอย่าลืมเพลิดเพลินในเสียงเพลงเพราะมัวแต่เครียดในการเลือกอยู่
อ้างอิง
http://joetraithep.com/soundcard-and-recording/
http://www.audiocity2u.com/Knowledge--audio-recording.html
http://www.smartlifetech.co.th/solutionsdetail/95-90-59/Voice-Logger-System%3EVoice-Logger-System--.html
http://board.postjung.com/542471.html
จัดทำโดย
นาย ฤทธิชัย บุญสา
นางสาว วรรณกานต์ แดงดิษฐ์
นาย นพดล แจ้งพรหมอินทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น