CD/DVD/BD

CD/DVD/BD


คืออะไร

 ซีดี (Compact Disc):CD
        คือแผ่นออพติคอลเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตรฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน
        แผ่นซีดี หรือซีดี-รอม (CD-ROM : Compact Disc-Read Only Memory) ประดิษฐ์ในนามบริษัท จุดเริ่มต้นคือปี 1978 บริษัทฟิลิปส์และโซนี่จับมือกันผลิตคอมแพ็กดิสก์สำหรับบันทึกเสียง หรือ ซีดขึ้น ซึ่งขณะนั้นฟิลิปส์พัฒนาเครื่องเล่นเลเซอร์ดิสก์ออกจำหน่ายแล้ว และโซนี่ก็ได้วิจัยการบันทึกเสียงแบบดิจิตอลมานานนับสิบปีแล้ว





 ดีวีดี (Digital Video Disc หรือ Digital Versatile Disc : DVD)     
         คือ ซีดีที่สามารถบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง และข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ได้ และถึงแม้ดีวีดีจะมีหน้าตาเหมือนกันกับซีดี แต่ว่าสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่าถึง 7 ถึง 14 เท่าเลยทีเดียว จุดมุ่งหมายของดีวีดีก็เพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลทุก ๆ อย่าง เช่น ความบันเทิงภายในบ้าน ข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ หรือในธุรกิจไว้ในแผ่นเพียงแผ่นเดียว รวมถึงเข้ามาแทนที่แผ่นซีดี วีดีโอเทป เลเซอร์ดิสก์ ซีดีรอม หรือแม้กระทั่งวีดีโอเกมส์ ขณะนี้ดีวีดีกำลังได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง เนื่องจาก ดีวีดีให้ภาพและเสียงที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับโทรทัศน หรือเทปวีดีโอทั่ว ๆ ไป นอกจากนั้นยังใช้งานสะดวก และทนทานกว่าด้วย






 บลูเรย์ดิสก์ (Blu-ray Disc) หรือ บีดี (BD)
       คือรูปแบบของแผ่นออพติคอลสำหรับบันทึกข้อมูลความละเอียดสูง ชื่อของบลูเรย์มาจาก ช่วงความยาวคลื่นที่ใช้ในระบบบลูเรย์ ที่ 405 nm ของเลเซอร์สี "ฟ้า" ซึ่งทำให้สามารถทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าดีวีดี ที่มีขนาดแผ่นเท่ากัน โดยดีวีดีใช้เลเซอร์สีแดงความยาวคลื่น 650 nm







ประเภทของแผ่น CD/DVD/BD

CD-ROM
เป็น แผ่นดิสก์สำหรับอ่านอย่างเดียว (Read-only) ไม่สามารถทำการเพิ่มเข้าหรือลบข้อมูลออกได้ โดยทั่วไปใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆและโปรแกรม เช่น แผ่น Setup CD ของวินโดวส์เอ็กซ์พี เป็นต้น
ความจุของแผ่นดิสก์: 650 MB
การใช้งาน: สามารถใช้งานได้กับไดร์ฟ CD/DVD ของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องเล่น CD หรือ DVD

  
CD-R
เป็นแผ่นดิสก์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง (การบันทึกแต่ละครั้งเรียกว่า Session) แต่ไม่สามารถทำการลบข้อมูลออกได้
ความจุของแผ่นดิสก์: 650 MB และ 700 MB
การใช้งาน: สามารถใช้งานได้กับไดร์ฟ CD/DVD ของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องเล่น CD หรือ DVD โดยการบันทึกแต่ละครั้งจะต้องทำการปิด Session ให้เรียบร้อย 


CD-RW
เป็น แผ่นดิสก์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง และยังสามารถทำการลบข้อมูลออกได้ ทั้งนี้สามารถทำการบันทึกข้อมูลและลบข้อมูลได้หลายครั้ง
ความจุของแผ่นดิสก์: 650 MB
การใช้งาน: สามารถใช้งานได้กับไดร์ฟ CD/DVD ของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องเล่น CD หรือ DVD



 แผ่น DVD-ROM
ป็นแผ่นดิสก์ สำหรับอ่านอย่างเดียว (Read-only) ไม่สามารถทำการเพิ่มเข้าหรือลบข้อมูลออกได้ โดยทั่วไปใช้ในการเก็บข้อมูลต่างๆและโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ เช่น แผ่น Setup CD ของวินโดวส์วิสต้า เป็นต้น
ความจุของแผ่นดิสก์: 4.7 GB
การใช้งาน: ามารถใช้งานได้กับไดร์ฟ DVD ของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องเล่น DVD

 
 แผ่น DVD-R
เป็นแผ่นดิสก์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง (การบันทึกแต่ละครั้งเรียกว่า Session) แต่ไม่สามารถทำการลบข้อมูลออกได้
ความจุของแผ่นดิสก์: 4.7 GB
การใช้งาน: สามารถใช้งานได้กับไดร์ฟ DVD ของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องเล่น DVD โดยการบันทึกแต่ละครั้งจะต้องทำการปิด Session ให้เรียบร้อย

 
 แผ่น DVD+R
ป็นแผ่นดิสก์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง (การบันทึกแต่ละครั้งเรียกว่า Session) แต่ไม่สามารถทำการลบข้อมูลออกได้
ความจุของแผ่นดิสก์: 4.7 GB
การใช้งาน: สามารถใช้งานได้กับไดร์ฟ DVD ของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องเล่น DVD โดยการบันทึกแต่ละครั้งจะต้องทำการปิด Session ให้เรียบร้อย

 
 แผ่น DVD-RW
เป็น แผ่นดิสก์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง และยังสามารถทำการลบข้อมูลออกได้ ทั้งนี้สามารถทำการบันทึกข้อมูลและลบข้อมูลได้หลายครั้ง
ความจุของแผ่นดิสก์: 4.7 GB
การใช้งาน: สามารถใช้งานได้กับไดร์ฟ DVD ของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องเล่น DVD โดยการบันทึกแต่ละครั้งจะต้องทำการปิด Session ให้เรียบร้อย

 
แผ่น DVD+RW
เป็น แผ่นดิสก์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง และยังสามารถทำการลบข้อมูลออกได้ ทั้งนี้สามารถทำการบันทึกข้อมูลและลบข้อมูลได้หลายครั้ง
ความจุของแผ่นดิสก์: 4.7 GB
การใช้งาน: สามารถใช้งานได้กับไดร์ฟ DVD ของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องเล่น DVD โดยการบันทึกแต่ละครั้งจะต้องทำการปิด Session ให้เรียบร้อย

 
 แผ่น DVD-RAM
เป็น แผ่นดิสก์ที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ครั้ง และยังสามารถทำการลบข้อมูลออกได้ ทั้งนี้สามารถทำการบันทึกข้อมูลและลบข้อมูลได้หลายครั้ง
ความจุของแผ่นดิสก์: 2.6 GB / 4.7 GB / 5.2 GB / 9.4 GB / 
การใช้งาน: ใช้งานกับไดร์ฟแบบ DVD-RAM เท่านั้น ไม่สามารถอ่านด้วยเครื่องเล่น CD หรือ DVD ได้


BD-R (SL) 
เป็น Blu-Ray Disc ROM แบบ Single Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 25 GB 

BD-R (DL) 
เป็น Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบหน้าเดียว มีความจุ 50 GB 

BD-R (2DL) 

เป็น Blu-Ray Disc ROM แบบ Double Layer แบบสองหน้า มีความจุ 100 GB







วิวัฒนาการ CD/DVD/BD

CD

CD มีจุดเริ่มต้นในปี 1978 โดยมีบริษัทฟิลิปส์ (Philips) และ โซนี่ (Sony) ร่วมมือกันในการผลิตคอมแพคดิสก์สำหรับบันทึกเสียง โดยในปี 1982 ได้มีการกำหนดมาตรฐานของซีดีรวมทั้งรายละเอียดของการบันทึกเสียง เช่นวิธีการอ่าน และขนาดของซีดี โดยกำหนดแผ่นดิกส์เป็น 5 นิ้ว ที่กำหนด 5 นิ้วเพราะว่าแผ่นขนาดนี้สามารถบรรจุซิมโฟนี่หมายเลข 9 ของบีโธเฟนได้ ในปี 1970 ทั้งสองบริษัทได้มีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมในการใช้เทคโนโลยีของซีดีกับคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการพัฒนาซีดีรอมที่พวกเราได้ใช้กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน CD จัดเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลรูปแบบหนึ่ง โดยใ้ช้เทคโนโลยีเลเซอร์สีแดงที่มีความยาวคลื่่นแสง 780 nm (nanometer) ซึ่งมักจะไว้ใช้งานทางด้าน Multimedia เช่น ภาพ และเสียง โดยส่วนใหญ่ีมีวัตถุประสงค์ในการบันทึกข้อมูลเื่พื่อการบันเทิง และใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งตัองใช้เนื้อที่ในการเก็บมากกว่า 50 MB ดังนั้นแล้ว จึงจำเป็นที่ข้อมูลเหล่านี้ต้องอาศัยการจัดเก็บไว้ในแผ่นซีดี ในปัจจุบันเครื่่องอ่านซีดีรอมจะมีราคาถูกลงอย่างมากจึงทำให้กลายเป็นอุปกรณ์ และสื่อที่ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใช้ในการบันทึกข้อมูล และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เพื่่อจำหน่ายให้กับลูกค้าเนื่องจากความจุที่มากกว่าและราคาทีถูกกว่า โดยปกติจะจำแนกแผ่นซีดีออกเป็น 3 ชนิดคือ CD-ROM (Compact Disc Read Only Memory - ไม่สามารถลบข้อมูลได้) มักใช้ในการบันทึกเพื่อเผยแพร่สำหรับฐานข้อมูลขนาดใหญ่และปริมาณมาก ๆ เช่น พจนานุกรม และโปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เป็นต้น CD-R (CD –Recordable - สามารถเขียน แต่ไม่สามารถลบข้อมูลได้) มักใช้ในการบันทึกข้อมูลถาวร เช่นการบันทึกเพลง เป็นต้น CD-RW (CD-Rewritable - สามารถอ่าน เขียนและลบข้อมูลได้) โดยมากมักใช้ในการบันทึกและแก้ไขงานนำเสนอสื่อประสมต่าง ๆ โดยทั่วไป จะมีขนาดบรรจุข้อมูล 2 ขนาดความจุข้อมูลคือ 650 และ 700 MB โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้นาน 70 นาที และมีการใช้บันทึกข้อมูลได้เพียงด้านเดียว (Single side media) ลักษณะของแผ่นซีดีจะเป็นวง Track มีระยะห่างกัน 1.6 ไมครอน (Micron) โดยTrack จะถูกแบ่งเป็นท่อนเล็กๆ (Bump) เรียงกันเป็นแถว แต่ละท่อนมีความกว้าง 0.5 ไมครอน มีความยาว 0.83 ไมครอน และสูง 125 นาโนเมตร (nanometers) ซึ่งถ้านำ Bump แต่ละท่อน มาต่อเรียงกัน ก็จะได้ความยาว 3 กิโลเมตรต่อแผ่น CD 1 แผ่น

 


DVD

ดีวีดีมีเมื่อปี 1995 หลังจากซีดี 13 ปี โดยมีกลุ่มพันธมิตรใหม่ได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสมาคม ดีวีดี (DVD Consortium) ซึ่งมีบริษัทฟิลิปส์ โซนี่ และอีก 7 บริษัท อาทิเช่น ฮิตาชิ แมทซูซิต้า (พานาโซนิค) ไพโอเนียร์ มิตซูบิชิ เจวีซี ธอมสัน โตชิบ้า และ ไทม์ วอร์นเนอร์ ดีวีดีจัดเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์สีแดง โดยใช้ความยาวของคลื่นแสง 650 nm (nanometer) รูปลักษณ์ภายนอกของแผ่นดีวีดี จะมีลักษณะเช่นเดียวกับซีดี โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 ชนิดเหมือนกับซีดี คือ DVD-ROM – เป็นแผ่นที่บันทึกข้อมูลได้เพียงอย่างเดียว สามารถเก็บวีดีโอคุณภาพสูงพร้อมเสียงที่มีคุณภาพเทียบได้กับภาพยนตร์ที่ฉายในโรงภาพยนตร์ อุตสาหกรรมนี้จึงได้เปลียนวิธีการเผยแพร่งานจากการใช้เทปมาเป็นดีวีดีในปัจจุบัน DVD-R (DVD-Recordable) – เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลไ้ด้เพียงครั้งเดียว โดยมากมักใชสำหรับสร้างและเก็บงานสำคัญที่มีปริมาณข้อมูลมากหรือการบันทึกวีดีทัศน์แบบถาวร DVD-RW (DVD-Rewritable) – เป็นแผ่นข้อมูลที่สามารถเขียนข้อมูลซ้ำได้หลายครั้ง มีความจุของข้อมูลประมาณ 17 GB ซึ่งสามารถเก็บได้มากกว่าซีดี 7 เท่า และเท่ากับฟล๊อปปี้ดิสก์ 3,357 แผ่น เหตุผลที่ทำ่ให้ดีวีดีมีความจุมากกว่า คือการมีโครงสร้างของการจัดเก็บข้อมูลภายในที่มีขนาดเล็กกว่าจึงทำให้สามารถจุอัดได้แน่นมากกว่าและการใช้แสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่นที่สั้นกว่า คือประมาณ 635-650 nm (nanometer) และสุดท้ายคือดีวีดีสามารถเก็บได้มากกว่าซีดี 1 ชั้น (layer) ซึ่งในแบบ 1 ชั้น (layer) คือประมาณ 4.7 GB สามารถให้ภาพที่คมชัดใกล้เคียงกับเทปต้นแบบ สามารถบีบอัดสัญญาณดิจิตอล รวมถึงการส่งผ่านของข้อมูลที่มีความเร็วถึง 4 เท่า และเก็บระบบเสียงที่เป็นระบบ Dolby Digital ซึ่งในหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุเสียงพากย์ได้ 8 ภาษา และบันทึกคำบรรยายได้ถึง 32 ภาษา จึงเหมาะสำหรับใช้บันทึกข้อมูลทางด้านภาพยนตร์และวงการบันเทิง แผ่น DVD มีลักษณะเป็นวงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาด 4.8 นิ้ิว (120 mm) หนา 0.6 mm และสามารถแบ่งเป็น 4 รูปแบบตามความจุซึ่งมีเทคนิคในการเก็บที่ไม่เหมือนกันดังนี้ 1. Single-Side, Single Layer หรือ DVD 5 เป็นแผ่นที่ทำการจัดเก็บภาพได้เพียงชั้นเดียว และหน้าเดียว โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้ 4.7 GB (เวลาที่บันทึกได้ 2 ชม) โดยจะใช้วัสดุ 2 แผ่นประกบกันแต่ใช้งานเีพียงส่วนล่งแค่แผ่นเดียวในการบันทึกข้อมูลซึ่่งรูปแบบนี้ให้งานได้แพร่หลายมากที่สุด 2. Single-Side, Double Layer หรือ DVD 9 จะมีลักษณะคล้าย DVD 5 คือมีการบันทึกข้อมูลลงในหน้าเดียว แต่จะบันทึกข้อมูลไว้ 2 ชันกระบวนการผลิตจะเป็นวัสดุแผ่นเดียว บันทึกข้อมูลได้ประมาณ 8.5 GB (เวลาที่บันทึกได้ 4 ชม) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้บันทึกข้อมูลที่ต้องการรายละเอียดมาก ๆ เช่น ภาพยนตร์ต้องการคุณภาพของภาพสูง ๆ เรื่องยาว ๆ โดยจะบรรจุข้อมูลเสียงไว้อีกชั้นหนึ่ง 3. Double-Sided, Single Layer หรือ DVD 10 เป็นแผ่นที่สามารถบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองหน้า และในแต่ละหน้าก็จะสามารถบันทึกข้อมูลได้เีพียง 1 ชั้น ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลไ้ด้เป็น 2 เท่าของ DVD 5 คือ 9.4 GB (เวลาที่บันทึกได้ 4.5 ชม) 4. Double-Sided, Double Layer หรือ DVD 18 เป็นแผ่นที่สามารภบันทึกข้อมูลลงไปในแผ่นได้ทั้งสองด้าน และแต่ละด้านสามารถบันทึกได้มากถึงสองชั้น สามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 17 GB (เวลาที่บันทึกได้ 8 ชม ) จึงเป็นรุ่นที่จุได้สูงสุด และการนำไปใช้งานมักเป็นการบันทึกข้อมูลขนาดใหญ่มาก ๆ




BD

 เราคงไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาเรื่องของเนื้อที่ในดิสก์ไม่พอใช้งานอีกต่อไป เรามารู้จักกับเทคโนโลยีแผ่นบันทึกข้อมูลออปติคอลดิสก์แบบใหม่ที่สามารถบันทึกเก็บและเล่นข้อมูลได้มากถึง 20 ชั่วโมงกันดีกว่าค่ะ BD เป็นแผ่นบันทึกข้อมูลออปติคอลดิสก์รูปแบบใหม่ ที่ใช้ความยาวคลื่นแสงเลเซอร์ 405 NM (Nanometer) ที่ีมีความยาวคลื่นสั้นและความถึ่่สูง หรือช่วงแสงสีฟ้า (Blue-Violet) จึงทำให้เก็บข้อมูลได้มากกว่าแบเดิม ที่ใช้คลื่นแสงสีแดง โดยมีสถาบัน Blu-ray Disc ® Association (BDA) และมีการรวมตัวของหลาย ๆ บริษัทฯ เช่น Matsushita, Pioneer, Phillips, Thomson, LG Electronics, Hitachi, Sharp, Samsung และ Sony ซึงมี Sony เป็นผู้นำ นอกจากนี้ ทาง Blu-Ray ยังได้รับการสนับสนุนจาก 6 บริษัท หลัก เช่น 20th century Fox, MBM Studio, Paramout Pictures, Sony Picture Entertainment, The Walt Disney Company, Warner Bros. จึงเป็นส่วนทำให้ Blu-Ray มุ่งเน้นประโยชน์ทางด้านวงการบันเทิง เช่น หนัง หรือเครื่องเล่น Play Station 3


 

คุณสมบัติของ CD/DVD/BD

CD
– ความจุข้อมูลมหาศาล ซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 680 เมกกะไบท์ เทียบได้กับ หนังสือ 250,000 หน้า หรือข้อความในกระดาษพิมพ์ดีดจำนวน 300,000 แผ่น หรือหนังสือสารานุกรม 1 ชุดจำนวน 24 เล่ม หรือภาพสี 5,000 ภาพ หรือเท่ากับข้อมูลในแผ่น floppy disk ขนาด 104 เมกกะไบท์ 460 แผ่น หรือ ใน hard disk ขนาด 20 เมกกะไบท์ ถึง 34 ชุด ถ้าบุคคลคนหนึ่งอ่านหนังสือหนึ่งหน้าต่อหนึ่งนาทีโดยไม่หยุดพักในเวลา 12ชั่วโมงต่อวัน ประมาณว่าจะต้องใช้เวลาเกือบ 11 เดือนจึงจะอ่านข้อมูลในแผ่น CD-ROM แผ่นหนึ่งได้หมด
– บันทึกข้อมูลนานาประเภท อยู่ในลักษณะของดิจิทัล ( digital encoding ) สามารถบันทึกข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพถ่ายสีและขาวดำ ภาพเคลื่อนไหว ภาพกราฟิคเสียงพูด และเสียงดนตรี ได้อย่างมีคุณภาพสูง
– การสืบค้นฉับไว CD-ROM บรรจุข้อมูลได้มากมายมหาศษลแต่สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วและแม่นยำภายในเวลาเพียง1 วินาทีเท่านั้น
– มาตรฐานสากล แผ่น CD-ROM มีรูปแบบมาตราฐานจึงสามารถใช้กับหน่วยขับ CD-ROM หรือเครื่องเล่น CD-ROM ทั่วไปได้เหมือนกัน
– ราคาไม่แพง ทั้งแผ่นและเครื่องเล่นซีดีรอมมีราคาถูกลงอย่างมากและมีอย่างแพร่หลาย
– อายุการใช้งานนาน CD-ROM มีอายุการใช้งานนาน แต่แผ่นก็สามารถเสื่อมสภาพได้จากความชื้นและความร้อนต่างๆ
– ความคงทนของข้อมูล CD-ROM เป็นสื่อที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสนามแม่เหล็กจึงทำให้ข้อมูลอยู่คงที่ตลอดไป และที่สำคัญ ไม่ติดไวรัสเนื่องจากไม่สามารถเขียนทับได้
– ประหยัด เมื่อเปรียบเทียบขนาดเนื้อที่การบันทึกข้อมูลระหว่างแผ่น CD-ROM กับแผ่น floppy disk แล้ว จะเห็นได้ว่า CD-ROM แผ่นหนึ่ง สมารถบรรจุข้อมูลได้
มากกว่าแผ่น floppy disk หลายร้อยเท่า จึงทำให้ประหยัดเงินในการใช้ CD-ROM เพียงแผ่นเดียวแต่บันมึกข้อมูลได้มากกว่า
– ความสะดวก เนื่องจาก CD-ROM เป็นแผ่นที่มีขนาดเล็ก จึงทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บ สามารถพกพาไปใช้ในที่ต่างๆได้โดยสะดวก และส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ง่ายโดยทางไปรษณีย์
DVD
 -สามารถบันทึกข้อมูลวิดีโอที่ความละเอียดสูงได้ถึง 120 นาที
- การบีบอัดของวิดีโอในรูปแบบ MPEG-2 นั้นมีอัตราส่วนอยู่ที่ 4 : 0 : 1
- สามารถมีเสียงในฟิล์มได้มากถึง 8 ภาษา โดยในแต่ละภาษาอาจจะเป็นระบบเสียงสเตอริโอ 2.0 ช่อง (รูปแบบ PCM) หรือ ระบบเสียงรอบทิศทาง (เช่น 4.0, 5.1, 6.1 ช่อง) ในรูปแบบ Dolby Digital (AC-3) หรือ Digital Theater System (DTS)
- มีคำบรรยาย (Subtitle) ได้มากสูงสุดถึง 32 ภาษา
- ภาพยนตร์ดีวีดีบางแผ่นนั้น สามารถเปลี่ยนมุมกล้องได้ด้วย (Multiangle)
 -ทำภาพนิ่งได้สมบูรณ์เหมือนภาพสไลด์
- ควบคุมระดับสิทธิการเล่น (Parental Lock)
-มีรหัสพื้นที่ใช้งานเฉพาะพื้นที่กำหนด (Regional Codes)
 BD
-สามารถบันทึกข้อมูลที่มีความละเอียดสูงเช่น Full HD 4K ฯลฯ
-มีพื้นที่ในการจัดเก็บสูง เพียงพอต่อการใช้งาน




ที่มา:
 http://www.vcharkarn.com/varticle/32558
 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5
 https://sdfband556.wordpress.com/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87/
 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5
 http://www.dpu.ac.th/techno/page.php?id=3361
 http://www.oknation.net/blog/itpro/2008/12/15/entry-3
 https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C
 รวบรวมข้อมูลโดย:

นาย ธเนศ นวลอยู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น