กล้องโทรทัศน์
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อันดับแรกที่
ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์จะต้องรู้จักและคุ้นเคยกับมันเป็นอย่างดี
เพราะกล้องจะเป็นตัวสร้างภาพให้ปรากฏขึ้นเพื่อนนำไปบันทึกเทปโทรทัศน์
หรือสามารถนำไปออกอากาศสดได้ทันที ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์จะต้อระลึกอยู่เสมอว่า
คุณภาพของภาพที่ถ่ายโดยกล้องโทรทัศน์จะดีหรือไม่ดี ก็อยู่ที่คุณภาพของกล้องเอง
ไม่ว่าจะเป็นความคมชัด ความสดใสของสีสัน หรือแม้กระทั่งปริมาณของสัญญาณรบกวน
ล้วนแล้วเป็นผลที่มาจากตัวกล้องโทรทัศน์เองทั้งสิ้น
ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่ากล้องโทรทัศน์เป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่ผู้ผลิตได้ผลิตขึ้นมาเพื่อหวังผลทางการค้า
คุณภาพของกล้องจึงมีส่วนสัมพันธ์กับราคา กล่าวคือ ถ้ากล้องราคาถูก ๆ
แต่จะหวังคุณภาพอันเลอเลิศ
ก็คงเป็นไปไม่ได้ ซึ่งเราจะทราบถึงเหตุผลว่า
เพราะเหตุใดกล้องโทรทัศน์จึงมีความแตกต่างกัน และอย่างไรจึงจะเรียกว่า มีคุณภาพดีเลิศ
จะพิจารณาจากจุดใดบ้าง ซึ่งสามารถจะนำไปกล่าวอ้างสำหรับปัจจัยในการพิจารณาได้เมื่อมีการปฏิบัติงานจริง
นอกจากนั้นยังมีอุปกรณ์อื่นที่นำมาต่อพ่วงกับกล้องอีกหลายชนิด
เพื่อผลในการผลิตซึ่งเราจำเป็นต้องทราบ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดต่อไป
ลักษณะและส่วนประกอบของกล้องโทรทัศน์
กล้องโทรทัศน์มีลักษณะเหมือนกล้องภาพยนตร์
แต่ต่างกันตรงที่ไม่มีกลักใส่ฟิล์มภาพยนตร์เท่านั้น ถ้ามองจากภายนอกแล้ว
จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่สำหรับผู้ที่มีความคุ้นเคยกับกล้องทั้งสองชนิด
ก็จะสามารถแยกความแตกต่างระหว่างกล้องโทรทัศน์และกล้องถ่ายภาพยนตร์ได้อย่างชัดเจน
โดยทั่วไปตัวกล้องโทรทัศน์ทำมาจากวัสดุที่เป็นโลหะที่มีน้ำหนักเบาและพ่นสีด้านนอก
ภายในจะประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ติดยึดอยู่บนโครงตัวกล้อง
มีเลนส์และจอภาพ (Viewfinder)
อยู่ด้านหน้า ด้านข้าง จะมีสวิตช์ต่าง ๆ ปุ่มปรับสัญญาณ ตลอดจนขั้วต่อสายเพื่อการใช้งานในลักษณะต่าง
ๆ ด้านท้ายของตัวกล้องก็จะมีส่วนบันทึกภาพ
จะเห็นได้ว่า
บริเวณด้านล่างของตัวกล้องจะเป็นฐานเว้า หุ้มด้วยยางนุ่มอย่างดี
สำหรับประทับบ่าของผู้ถ่ายภาพได้อย่างพอเหมาะ
การประทับบ่าถ่ายภาพด้วยกล้องโทรทัศน์นั้น ถ้ากล้องมีน้ำหนักเบาเท่าใด
ก็จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ถ่ายมากเท่านั้น เพราะจะไม่ทำให้เมื่อยล้าได้ง่าย
จะได้ภาพที่ดีตลอดเวลา ตรงข้ามกับกล้องที่มีน้ำหนักมาก จะทำให้เมื่อยล้าได้เร็ว
เพราะนอกจากจะมีน้ำหนักที่กดลงมาแล้ว ประกอบกับอากาศที่ร้อนมากของเมืองไทย
ก็จะเป็นตัวบั่นทอนที่จะทำให้เหนื่อยง่ายและเมื่อยล้าได้เร็ว
ปกติกล้องโทรทัศน์ดังรูป ก็จะมีน้ำหนักอยู่ประมาณ 4-5 กิโลกรัม
เมื่อนับรวมน้ำหนักของอุปกรณ์ประกอบทุกอย่างแล้ว
กล้องโทรทัศน์มีส่วนประกอบหลักอยู่
4 ส่วน ดังนี้
1. เลนส์ (Lens)
2. ตัวกล้อง (Camera Head)
3. จอดูภาพ (Viewfinder)
4. แหล่งจ่ายไฟฟ้า (Power Supply)
เลนส์
เลนส์คือส่วนที่เป็นกระจกชิ้นเดียวหรือหลายชิ้น
ประกอบกันขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นตาของกล้อง จึงต้องมีส่วนควบคุมความชัด
ขนาดของช่องรับแสง และเวลาในการเปิดรับแสง
เลนส์เป็นส่วนประกอบที่จะต้องทะนุถนอมที่สุดของกล้อง ต้องจับถือด้วยความระมัดระวัง
ช่างภาพที่มีประสบการณ์จะเอาใจใส่กับระบบเลนส์เป็นพิเศษ
อย่างไรก็ตามสำหรับกล้องขนาดเล็ก เลนส์อาจฝังตัวอยู่ภายในตัวกล้อง เหลือไว้ให้เห็นเฉพาะกระจกเลนส์ชั้นนอกสุด
ส่วนเลนส์ทีใช้สำหรับกล้องแบบมืออาชีพ จะเป็นเลนส์ที่อยู่ภายนอกตัวกล้อง
มีขนาดใหญ่ยื่นออกมาทางด้านหน้า ช่างภาพสามารถควบคุมความชัดของภาพ
ตลอดจนการปรับค่าช่องรับแสงที่ตัวกระบอกเลนส์ได้ทันที
ส่วนควบคุมเลนส์
(Lens Control)
กล้องโทรทัศน์ที่ใช้อยู่โดยทั่วไป ไม่ว่าจะถูกจัดอยู่ในระดับใดก็ตาม
ระบบของเลนส์จะต้องถูกควบคุมด้วยลักษณะ 3 ประการต่อไปนี้
-
การปรับเปลี่ยนระยะความคมชัด (Focus) :
คือการปรับระยะห่างของเลนส์กับตัวรับภาพ
เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดที่สุด การปรับโฟกัสขั้นพื้นฐานก็คือ
การปรับความคมชัดของภาพ
ซึ่งหมายถึงทั้งภาพหรือเฉพาะส่วนของวัตถุที่ต้องการก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละซ็อต
วัตถุที่อยู่ใกล้เลนส์เกินไปอาจจะไม่สามาระปรับให้ชัดได้
หากไม่มีการติดตั้งเลนส์พิเศษ การปรับโฟกัสปกติทำได้กลายวิธี
ตั้งแต่การปรับเองที่วงแหวนโฟกัสรอบกระบอกเลนส์ หรืออาจกระทำที่ตัวควบคุมระยะไกล
โดยติดไว้ที่แขนแพนของตัวกล้องก็ได้ (มักใช้ในสตูดิโอ)
กล้องขนาดเล็กนิยมใช้การโฟกัสแบบอัตโนมัติ เพราะสะดวกกว่า
แต่อาจมีปัญหาโฟกัสไม่ได้เพื่ออยู่ในที่มืด ฝนตก มีวัตถุผ่านหน้า
หรือวัตถุที่ต้องการจะถ่าย ไม่อยู่ในบริเวนกลางจอภาพ (Viewfinder) เป็นต้น การฝึกปรับโฟกัสเองด้วยมือจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้
และยังสามารถควบคุมการเลือกโฟกัสเฉพาะจุดได้อีกด้วย
-
การปรับเปลี่ยนช่องรับแสง (F-Stop) :
เป็นการปรับขนาดของช่องรับแสงจะเกี่ยวข้องกับการเปิดช่องกว้างหรือแคบของตัว
Diaphragm หรือ Iris ที่อยู่ภายในเลนส์
การเปิดขนาดของ Iris จะไม่มีความต่อเนื่อง
แต่จะมีขนาดเป็นขั้น ๆ ซึ่งแต่ละขั้นจะเรียกว่า F-Stop ซึ่งจะหมายถึงความกว้างของช่องรับแสง
ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง
ก็จะทำให้ปริมาณแสงที่ผ่านเข้ากล้องเปลี่ยนไปเป็นสองเท่านั้นเอง
-
การปรับเปลี่ยนความยาวโฟกัส (Focal Length) :
เป็นการปรับระยะห่างระหว่างเลนส์กับตัวรับภาพ
จนกระทั่งจะได้รับภาพที่คมชัดที่สุด ระยะห่างนี้เราเรียกว่าความยาวโฟกัส ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในเลนส์แต่ละตัว
เลนส์บางชนิดมีความยาวโฟกัสคงที่ ในขณะที่เลนส์บางชนิดสามารถปรับค่าความยาวโฟกัสหลายค่า
ในเลนส์ตัวเดียวกัน
กล่าวโดยสรุปได้ว่า
การควบคุมเลนส์จะได้ผลของภาพคือ
1. ความชัดเจนของภาพ
ซึ่งมีผลมาจากการปรับระยะชัด
2. ความคมชัดที่ปรากฏ
มีความชัดเจนทั้งภาพ หรือ ในส่วนสำคัญที่ต้องการให้ปรับระยะชัด
3. การจัดองค์ประกอบของภาพให้เหมาะสม
4. ความสว่าง ความชัดเจนของโทนแสงสีในภาพ
ชนิดของเลนส์
โดยปกติ
เลนส์ที่ติดมากับกล้องโทรทัศน์โดยทั่วไปจะเป็นเลนส์ซูม (Zoom Lens) ที่สามารถดึงภาพจากไกล
เข้ามาใกล้ได้ แต่ในกล้องโทรทัศน์บางประเภท ก็อาจจะใช้เลนส์ที่แตกต่างออกไป
ซึ่งเลนส์ที่ใช้กับกล้องโทรทัศน์จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ดังนี้
1. Prime Lens
2. Zoom Lens
1. Prime Lens : เป็นเลนส์ชนิดที่มีการระบุความยาวโฟกัสแน่นอน
ซึ่งแบ่งระยะความยาวโฟกัสของเลนส์ออกเป็น 3 ระยะคือ
1.1
Narrow-angle
lenses: เป็นเลนส์ที่ให้ภาพในมุมแคบ
แต่สามารถถ่ายภาพวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในระยะไกล ให้เข้ามาใกล้ได้
บางครั้งเราเรียกเลนส์แบบนี้ว่า “Telephoto Lens”
ระบบเลนส์แบบ
Narrow-angle
lenses จะใช้เมื่อ
-
ช่างภาพไม่สามารถเข้าไปใกล้วัตถุหรือสิ่งที่ถ่ายได้
โดยอาจมีสิ่งกีดขวางในการถ่ายทำ หรือ สิ่งที่ถ่ายเป็นสัตว์ที่ดุร้าย
- ไม่มีเวลาเพียงพอในการเคลื่อนย้ายกล้อง
-
ตำแหน่งของการถ่ายทำไม่สามารถเปลี่ยนได้
1.2
Normal
angle lenses: เป็นระบบเลนส์ที่ให้ภาพในมุมปกติ
1.3
Wide-angle
Lens : เป็นระบบเลนส์ที่ให้ภาพในมุมกว้าง แต่วัตถุที่ถ่ายดูเล็กและอยู่ไกล
1.
Zoom
Lens : เป็นระบบเลนส์ที่ได้รับการออกแบบมาให้มีระยะความยาวโฟกัสที่หลากหลาย
สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการโดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเลนส์
จึงมีการนำระบบเลนส์ซูม (Zoom
Lens) มาใช้ติดตั้งที่ตัวกล้อง ระบบเลนส์ซูม
สามารถปรับเปลี่ยนความยาวโฟกัสได้ในขณะถ่ายทำ โดยการซูมเข้า (Zoom IN) เพื่อให้ได้ภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือ ซูมออก (Zoom Out) เพื่อให้ได้ภาพหรือสิ่งที่ถ่ายมีขนาดเล็กลง
ออปติคอลซูมหรือดิจิตอลซูม
แม้ว่ากล้องโทรทัศน์โดยทั่วไปมักจะมีการใช้เลนส์ซูมแบบออปติคอล
แต่กล้องโทรทัศน์รุ่นใหม่ ๆ โดยเฉพาะรุ่นที่ใช้เทประบบดิจิตอล
ผู้ผลิตก็มักจะติดตั้งฟังก์ชั่นการทำงานของเลนส์ซูมแบบดิจิตอลมาให้ด้วย
ซึ่งการใช้งานทั้งสองลักษณะนี้สร้างความสงสัยให้แก่ช่างภาพมือใหม่เป็นอย่างมาก ว่าเมื่อจะใช้เลนส์ซูมควรจะใช้การทำงานของเลนส์ซูมแบบใดดี
การซูมแบบออปติคอล เป็นการซูมโดยใช้เลนส์ของกล้อง
เช่น ช่างภาพถือกล้องอยู่หากจากนางแบบ 10 เมตร หากช่างภาพต้องการโคลสอัพหน้านางแบบ
ช่างภาพก็จะปรับวงแหวนของซูมหรือปรับปุ่มปรับซูมที่ตัวกล้อง
ซึ่งก็สามารถจะดึงภาพนางแบบมาอยู่ในระยะใกล้ได้
การซูมแบบดิจิตอล จะเป็นการขยายภาพจาก ตัวรับภาพหรือ CCD
คือเอาภาพวิดีโอที่ถ่ายมาแล้ว มาขยายให้ใหญ่ขึ้น
สิ่งที่ควรจำสำหรับการใช้ดิจิตอลซูมก็คือ ยิ่งใช้ดิจิตอลซูมมากเท่าใด
ภาพก็จะยิ่งลดความคมชัด มีเม็ดสีรบกวนเพิ่มขึ้น จนมองไม่ออกว่าเห็นเป็นภาพอะไร
ตัวกล้องถ้าแปลจากภาษาอังกฤษ จะต้องเรียกว่า “หัวกล้อง” แต่คนไทยไม่นิยมเรียก เราเรียกว่า “ตัวกล้อง” ซึ่งเป็นที่บรรจุอุปกรณ์หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นตัวรับภาพ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพ โดยจะกล่าวย่อยเป็นข้อ ๆ ดังนี้
1.1
ตัวรับภาพ (Charge
Couple Device : CCD)
CCD เป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอสิกส์ชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า
Semiconductor ซึ่งอุปกรณ์ CCD นี้เปรียบเสมือนดวงตาของกล้องโทรทัศน์
หน้าที่หลักของ CCD คือรับแสงที่ผ่านจากเลนส์เข้ามา
แล้วแปลงให้เป็นข้อมูลแบบดิจิตอล CCDภายในตัวกล้องมีหลายขนาดด้วยกัน
มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปถึงขนาดใหญ่
เช่น
¼ นิ้ว , 1/3 นิ้ว , 2/3 นิ้ว
ซึ่งขนาดของ CCD ที่มีขนาดใหญ่ก็จะย่อมให้คุณภาพของภาพดีกว่า
หลักการทำงานของ CCD
กล้องโทรทัศน์ก็เหมือนกับสินค้าอื่น ๆ อีกหลานประเภทที่มีการแบ่งระดับราคา
ฟังก์ชั่นการทำงาน รวมทั้งเทคโนโลยีที่มีอยู่กับตัวกล้อง
ส่วนประกอบชิ้นหนึ่งที่มีความแตกต่างกันระหว่างกล้องในแต่ละดับราคาก็คือ CCD กล้องโทรทัศน์ที่เป็นกล้องในระดับผู้ใช้ทั่วไป (Consumer) ก็จะมี CCD เพียงตัวเดียว
แต่ถ้าเป็นกล้องในระดับมืออาชีพ (Professional / Broadcast) ก็จะมีจำนวน
CCD ทั้ง 3 ตัว หรือเรียกกันว่า “3 CCD”
นั่นเอง
ภาพที่เกิดขึ้นในกล้องโทรทัศน์นั้นเกิดจากแสง
ปกติแล้วแสงที่เรามองเห็นอาจเป็นแค่บางส่วนของแสงที่มีอยู่ในธรรมชาติทั้งหมด เช่น
เรามองเห็นแสงแดดเป็นสีขาวทั้งที่ความจริงแล้ว แสงแดดประกอบด้วยสีอื่น ๆ อีกหลายสี
แต่เราไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากต้องการมองเห็นแสงสีอื่น ๆ
ก็ต้องมีเครื่องมือสำหรับแยกสี เช่น การใช้ปริซึม
การแยกสีเป็นหน้าที่โดยตรงของตัว
CCD ที่ตัว CCD จะมีฟิลเตอร์สำหรับแยกสีติดอยุ่เป็นจำนวนมาก
เมื่อแสงส่องผ่านเลนส์มายังตัว CCD แสงก็จะถูกแยกออกมาเป็นสี แต่แทนที่ CCD จะแยกออกมาเป็นเจ็ดสีเหมือนสีรุ้ง สีที่ถูกแยกจะมีเพียงสามสีเท่านั้น คือ
สีแดง , สีเขียว , สีน้ำเงิน (Red , Green , Blue : RGB) ซึ่งสีสามสีนี้เป็นแม่สี
สามารถนำมาผสมกันให้เกิดเป็นแสงสีต่าง ๆ ได้อีกเป็นล้าน ๆ สี
กล้องที่มี
CCD อยู่เพียงอันเดียวจะมีฟิลเตอร์แยกสีติดอยู่ที่ CCD โดยมีลักษณะการจัดเรียงเป็นช่องสี่เหลี่ยมสลับสีคล้ายกับตารางหมากรุกซึ่งเรียกว่า
“Bayer Filter” เมื่อแสงส่องผ่านเลนส์เข้ามา
ฟิลเตอร์ก็จะกรองสีของแสงออกมาเป็นสีทั้งสามสี (RGB) เพื่อนำไปผสมเป็นภาพต่อไป
ส่วนกล้องที่มี
CCD สามตัว หลักการก็ยังคงเหมือนเดิม คือต้องมีฟิลเตอร์ในการแยกสี
เพียงแต่ฟิลเตอร์ไม่ได้รวมทุกสีอยู่ใน CCD แต่ละอัน แต่ละ CCD
จะมีฟิลเตอร์เพียงสีเดียว คือ อันหนึ่งสีแดง อันหนึ่งสีเขียว
อีกอันหนึ่งสีน้ำเงิน
ถ้ามองในแง่ของคุณภาพแล้ว
กล้องที่ใช้ CCD สามตัว ย่อมดีกว่ามี CCD เพียงตัวเดียว
เนื่องจากกล้องแบบ 3 CCD จะให้ภาพที่คมชัด
สีสันของภาพสดใสกว่า แต่การที่กล้องใช้ CCD
ถึงสามอันก็จะทำให้ราแพงขึ้น ซึ่งมีตั้งแต่ระดับราคาเป็นแสนบาทจนถึงหลายล้านบาททีเดียว
1.1 แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Circuits)
บรรดาแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง
ๆ ที่มีอยู่ในตัวกล้องจะทำหน้าที่ขยายสัญญาณภาพที่ผลิตออกมาจาก CCD ให้สูงขึ้น
ลดสัญญาณรบกวนลง จนท้ายสุดก็จะมีการผสมสัญญาณใหม่ รวมเป็นสัญญาณภาพสีที่สมบูรณ์ อันประกอบด้วยสัญญาณภาพสีที่รวมกันแล้ว
และคลื่นสัญญาณที่สร้างระบบโทรทัศน์ PAL และสัญญาณนี้เองที่เรานำไปออกอากาศหรือบันทึกเทปโทรทัศน์เพื่อผลิตเป็นรายการออกมา
1.2 ตัวกล้อง
สร้างขึ้นจากโครงโลหะเบาไร้สนิมจำพวกอลูมิเนียมหล่อ
ซึ่งภายในตัวกล้องก็จะเป็นที่บรรจุอุปกรณ์และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ถูกบรรจุไว้ภายในอย่างแน่นหนา
เป็นลักษณะเสียบเข้า และถอดออกได้โดยง่ายเพื่อสะดวกต่อการซ่อม
1.3 ฟิลเตอร์ ND (Natural Density Filter)
ฟิลเตอร์
ND เป็นกระจกกรองแสงสีเทาติดตั้งอยู่ที่ตัวกล้อง (ด้านหลังของเลนส์)
เพื่อลดแสงให้เหมาะสมสำหรับการทำงาน หากไม่มีหรือยังลดลงไม่พอ
อาจจะติดตั้งฟิลเตอร์เพิ่มเติมที่หน้าเลนส์เองได้ ปกติจะมีให้เลือกตั้งแต่ 1/10
(10%) จนถึง 1/100 (1%) ถ้าช่างภาพเลือกลดแสงที่
10% จะเทียบเท่ากับการปรับลดช่องรับแสงลง 3 Stop นอกจากการนำมาใช้ทางด้านแสงโดยตรงแล้ว การใช้กระจกกรองแสงลดลงมาก ๆ
ทำให้ต้องมีการเปิดช่องรับแสงให้กว้างขึ้นเพื่อชดเชย และการเปิดช่องรับแสงกว้าง ๆ
นี้จะทำให้ความชัดลึกลดลง และเป็นการช่วยการทำโฟกัสเฉพาะที่ได้อีกด้วย
1.4 Zebra Pattern
การปรับตั้ง
Zebra Pattern
จะปรากฏเป็นเส้นทแยงมุมสีดำขึ้นบริเวณ
ส่วนของภาพที่มีความสว่างจ้าเกินกำหนด (Overexposed) ซึ่งถ้าภาพบริเวณนี้เมื่อบันทึกลงไปจะขาดรายละเอียดคือ
มองเห็นเป็นสีขาวอย่างเดียว ฟังก์ชั่นนี้จะขีดเป็นกลุ่มเส้นคล้ายม้าลายเพื่อแสงว่า
บริเวณนี้ไม่ใช่ส่วนสีขาว แต่เป็นภาพที่มีแสงจ้าเกินไป
เพื่อให้เป็นแนวทางในการปรับการให้แสงที่เหมาะสม
กล้องบางรุ่นสามารถเลือกระดับในการแสดงแสงจ้านี้ได้หลายระดับเช่น 80% , 90%
และ 100%
1.5 การปรับค่าเกรน (Video gain adjustment)
การปรับเกรน
เป็นการปรับให้แสงผ่านเลนส์ด้วยวิธีปกติเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่ในกรณีที่ปรับทุกอย่างจนสุดแล้ว
แสงยังไม่พอ จึงต้องนำวิธีการ การขยายสัญญาณวิดีโอด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์มาใช้
กล้องแต่ละรุ่นจะมีวิธีการปรับแต่งกันออกไป บางกล้องอาจต้องอาจจะต้องไปทำในเมนู
บางกล้องจะมีลูกบิดหมุนเป็นขั้น ๆ หน่วยของอัตราการขยายมีค่าเป็น dB
1.1 ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed)
เนื่องจากระบบโทรทัศน์จะแสดงภาพแต่ละภาพด้วยความเร็ว
1/50 วินาทีตามมาตรฐาน NTSC
หรือ 1/60 วินาทีตามมาตรฐาน PAL ดังนั้นอะไรก็ตามที่เคลื่อนที่เร็วกว่าอัตรานี้มาก
ๆ ก็จะทำให้ภาพที่มองเห็นพร่ามัว บางทีช่างภาพไม่ได้ระวังเรื่องนี้มาก เพราะมันเป็นการสร้างความรู้สึกในเรื่องความเร็วไปในตัว
แต่เมื่อไหร่ที่หยุดภาพมาดูทีละเฟรม ก็จะมองเห็นข้อบกพร่องนี้
โดยการอ่านข้อมูลภาพจาก CCD ด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ให้เร็วขึ้น
มันจึงเท่ากับเป็นการลดเวลาของการเปิดหน้ากล้องไปในตัว
ความเร็วในการอ่านหรือการกำหนดชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์นี้อาจปรับเป็นขั้นเช่น
1/60 , 1/125 , 1/500 , 1/1000 และ 1/2000 วินาที
หรือจะเพิ่มขึ้นที่อย่างต่อเนื่องขึ้นอยู่กับการออกแบบกล้องแต่ละรุ่น
การใช้อิเล็กทรอนิกส์ชัตเตอร์ที่เร็วขึ้นจะช่วยให้การเปิดภาพช้าของวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็วดูชัดเจนขึ้น
นอกจากนั้นยังช่วยลดแถบเลื่อนเมื่อถ่ายจอคอมพิวเตอร์หรือทีวีอีกด้วย
เนื่องจากการใช้ชัตเตอร์เร็วจะลดเวลาในการเปิดหน้ากล้องดังกล่าวไปด้วย
1.2 การปรับสมดุสีขาว/ดำ (White / Black Balance)
แสงสีขาวที่เรามองเห็นกันอยู่นั้น
จริง ๆ แล้วเกิดจากส่วนผสมในสัดส่วนของสีต่าง ๆ ใน
สเป็กตรัม ตั้งแต่ ม่วง คราม
น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง
แสงบางชนิดจะประกอบไปด้วยสเป็กตรัมบางส่วนที่มีความสำคัญมากเท่านั้น
ทำให้สีขาวไม่ขาวจริง ๆ ดังตัวอย่างเช่น แสงจากเทียนหรือหลอดทังสเตน
ปกติจะมีแสงออกเหลือง ซึ่งเราจะเรียกว่ามีอุณหภูมิแสงต่ำ ในเวลากลางวันอุณหภูมิแสงจะแปรเปลี่ยนไปเรื่อย
ๆ จากแสงที่ออกน้ำเงิน ซึ่งเป็นแสงที่อุณหภูมิแสงสูงในตอนเช้า
ไปจนถึงอุณหภูมิแสงต่ำในตอนเย็น
ซึ่งสมองของคนเราจะสามารถปรับและชดเชยการส่องสว่างต่าง ๆ
เหล่านี้ให้เป็นสีขาวเดียวกันได้ ซึ่งความสามารถของการปรับตัวของสายตานี้
คือความสามารถที่เรียกว่า การปรับสมดุลแสงสีขาวโดยอัตโนมัติ
ในทางกลับกัน
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ในโทรทัศน์ปกติจะไม่มีความสามารถนี้ จะไม่มีการชดเชยสิ่งต่าง ๆ
ด้วยตัวของมันเอง การส่องสว่างด้วยแสงที่ออกสีเหลืองหรือสีน้ำเงิน
ก็จะทำให้วัตถุที่มีสีขาวผสมสีเหล่านั้นไปด้วย จึงต้องมีกระบวนการจัดการสองวิธี
คือ
-
การปรับกล้องเพื่อชดเชยอุณหภูมิของสีโดยใช้กระจกกรองแสงสำหรับแก้สี (Color Correction Filter) ที่เหมาะสมเป็นวงล้อให้เลือกภายในตัวกล้อง
หรือการปรับอัตราการขยายของช่องสี RGB ภายในตัวกล้อง
การปรับสมดุลของสีใหม่ในกล้องโดยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์นี้เราเรียกว่า “การปรับสมดุลแสงสีขาว (White Balance) นั่นเอง
-
การปรับอุณหภูมิของแสงที่แหล่งแสง ให้เหมาะกับสมดุลสีของตัวกล้อง
เช่น เมื่อให้หลอดไฟแบบมีใส้ ในเวลากลางวัน ซึ่งหลอดไฟแบบนี้จะให้แสงสีเหลือง
ขณะสีแสงธรรมชาติจะให้แสงสีขาว จึงต้องมีการนำเอากระจกกรองแสงสีน้ำเงินกั้นหลอดไฟไว้
เพื่อปรับอุณหภูมิสีให้สูงขึ้น
กล้องโทรทัศน์ทั้งหลายจะต้องมีระบบปรับสมดุลแสงสีขาวเพื่อให้ได้ภาพที่มีสีถูกต้องตลอด
การปรับมักจะมีให้เลือกทั้งแบบอัตโนมัติ หรือปรับด้วยมือ
การปรับด้วยมือมักจะเล็งกล้องไปที่วัตถุสีขาวในบริเวณที่จะถ่ายทำ ปรับโฟกัสให้ชัด
แล้วจึงกดปุ่ม White
Balance กล้องก็จะทำการปรับสมดุลแสงสีขาวให้ และทำให้ได้ภาพที่มีสีตรงธรรมชาติ
ในขณะที่กล้องโทรทัศน์บางรุ่นจะมีปุ่มปรับสมดุลแสงสีดำ (Black Balance) ด้วย
การปรับสมดุลแสงสีดำจะไปปรับระดับสีดำของ ช่อง R G B เพื่อไม่ให้มีสีใด
ๆ เกิดขึ้น ปกติจะปรับเมื่อ...
-
เมื่อใช้กล้องเป็นครั้งแรก
หรือเมื่อกล้องไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน ๆ
-
เมื่อกล้องถูกย้ายไปถ่ายในที่มีอุณหภูมิสีที่แตกต่างกันมาก
ๆ
-
เมื่อมีการปรับเกรน
(Gain) ของกล้อง
การปรับจะเริ่มจากสมดุลแสงสีขาวก่อน
แล้วจึงปรับสมดุลแสงสีดำต่อมา แล้วจึงปรับสมดุลแสงสีขาวซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
3.จอดูภาพ
จอดูภาพจะติดตั้งอยู่ส่วนหน้าของกล้องทางด้านซ้ายใกล้กับเลนส์
มีไว้สำหรับดูภาพในขณะถ่ายทำ และดูภาพจากเครื่องบันทึกเทปเวลาเล่นกลับ (Playback) ก็ได้
จอดูภาพในกล้องโทรทัศน์จะมีสีเป็น ขาว-ดำ ไม่ใช่สีธรรมชาติ ทั้งนี้ก็เพราะ...
-
มีไว้เพื่อดูขนาดของภาพและความสมส่วน
-
มีไว้เพื่อโฟกัสภาพให้ชัด
-
เป็นลักษณะของจอโทรทัศน์เล็ก
ๆ มีขนาดเพียง 1.5 นิ้ว การสร้างเป็นสีจึงไม่คุ้มค่า เพราะความจำเป็นมีน้อย
-
กล้องโทรทัศน์บางยี่ห้ออาจใช้จอดูภาพเป็นที่แสดงรายละเอียดข้อมูลทางเทคนิค
ให้ปรากฏบนจอดูภาพด้วย เช่น การแสดงตัวเลขของ ฟิลเตอร์ การปรับค่าสี
การแสดงความเร็วชัตเตอร์ การเตือนเมื่อแบตเตอรี่อ่อน เป็นต้น
ที่จอดูภาพยังมีเลนส์ครอบชนิดปรับได้
สำหรับคนสายตาสั้น ทำหน้าที่ถ่ายโดยไม่ต้องใส่แว่นสายตาได้ด้วย
อีกทั้งมีที่บังแสงรบกวนภาพอยู่ที่ขอบด้านนอก
แต่ในปัจจุบันนี้ กล้องโทรทัศน์ในระดับ Professional บางยี่ห้อ
ได้เพิ่มจอดูภาพในรูปแบบ LCD ติดตั้งเข้าไปที่ด้านข้างของตัวกล้องด้วย
เพื่อสะดวกในการที่มองภาพตลอดจนการเล่นกลับเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของภาพที่ถ่ายมาด้วย
จอ LCDดังกล่าว จะเป็นจอสี มีขนาด 2.5 นิ้ว ความละเอียด 200 x
640 จุด สามารถมองได้ทุกมุมมอง (TFT) แต่ในการใช้จอ
LCD ในการดูภาพเวลานาน ๆ
ก็จะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานจากแบตเตอรี่ด้วย จะทำให้แบตเตอรี่หมดเร็ว
ในกรณีที่เป็นการถ่ายทำในสตูดิโอหรือการต่อกล้องโทรทัศน์ร่วมกับรถถ่ายทำนอกสถานที่
(OB ) ซึ่งถือว่าเป็นการถ่ายทำแบบมีศูนย์รวม
จอดูภาพนิยมติดตั้งบริเวณด้านหลังของกล้อง และมีขนาดจอที่โตกว่า
เพื่อสะดวกต่อการดูภาพ ตามปกติจอแบบนี้จะมีขนาด 4” – 6” และเป็นสีขาว-ดำ
เช่นกัน
กล้องโทรทัศน์ต้องการพลังงานไฟฟ้าในการทำงาน
ตามปกติถ้านำกล้องไปใช้นอกสถานที่ พลังงานไฟฟ้าก็ได้มาจาก แบตเตอรี่
ซึ่งแบตเตอรี่ที่นิยมใช้กับกล้องโทรทัศน์ในปัจจุบันนี้ก็คือ แบตเตอรี่ชนิด Lithium Ion ซึ่งจะให้พลังงานไฟฟ้าที่สูง
และสามารถอัดไฟซ้ำได้ทันที แม้ว่ายังมีพลังงานไฟฟ้าเหลืออยู่ในก้อนแบตเตอรี่
โดยไม่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่ากำหนด เหมือนกับแบตเตอรี่ชนิดอื่น ๆ
ในกรณีที่เป็นการถ่ายทำจากศูนย์รวม
คือ ในสตูดิโอ หรือต่อร่วมกับรถถ่ายทำนอกสถานที่ (OB) พลังงานไฟฟ้าจะจ่ายออกมาจากศูนย์รวม ณ จุดที่ควบคุมกล้อง (Camera
control Unit : CCU) และที่จุดนี้นอกจากจะจ่ายไฟฟ้าให้กล้องแล้ว
ยังควบคุมสีและแสงของกล้องอีกด้วย
ฐานกล้อง
(Supporting
the Camera)
การใช้กล้องโทรทัศน์ในปัจจุบัน
ช่างภาพสามารถถ่ายทำโดยการใช้ขาตั้งกล้องแบกถ่าย หรือ ถ่ายทำในสถานที่ ที่ยากต่อการถ่ายทำโดยไม่ต้องกังวลในเรื่องของภาพสั่น
(Jerk) หรือภาพสะดุด
เนื่องจากช่างภาพสามารถติดตั้งฐานกล้องซึ่งมีให้เลือกใช้ในงานหลากหลายรูปแบบ เช่น
1.
ฐานกล้องน้ำหนักเบา (Light weight Camera)
โดยทั่วไปช่างภาพมักใช้กล้องโทรทัศน์ถ่ายทำโดยการแบกถ่ายอยู่บนบ่า
ซึ่งที่ด้านล่างของกล้องจะถูกออกแบบมาให้มีลักษณะเว้า
ห่อหุ้มด้วยฟองน้ำหรือยางนุ่ม
เพื่อที่ช่างกล้องนำกล้องวางบนบ่าแล้วจะไม่รู้สึกกระด้างและรู้สึกสบาย นอกจากนี้
ยังทำให้ช่างภาพสามารถถ่ายภาพได้นิ่งขึ้น ทำให้ได้ภาพเคลื่อนไหวที่นุ่มนวล
ลักษณะของการแบกถ่ายมีดังนี้
1.
การแบกถ่าย
(Hand-held) : เป็นการใช้ตำแหน่งต่าง ๆ ของร่างกายเป็นฐานวางของกล้อง
ซึ่งจะทำให้การถ่ายภาพมั่นคงยิ่งขึ้น
2.
การแบกถ่ายโดยการใช้ผนังหรือกำแพงเป็นฐานกล้อง
3.
การใช้ขาตั้งกล้องแบบ
Monopod ยึดกับช่างภาพ
4.
การใช้
Body brance
5.
การใช้
Camera Stabilizer
ช่วยยึดกล้องเข้ากับช่างภาพในการถ่ายทำที่ช่างภาพต้อง
เคลื่อนไหวตามนักแสดง
1.
ฐานกล้องสำหรับกล้องที่ติดตั้งขาตั้งกล้อง
โดยทั่วไปกล้องโทรทัศน์ที่ใช้ในสตูดิโอมักจะติดตั้งขาตั้งกล้อง
ซึ่งจะทำให้การถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ดี ไม่สั่นไหว เหมาะสำหรับการถ่ายทำเป็นเวลานาน
ๆ นอกจากนี้ที่ฐานของกล้อง
ยังมีการติดตั้งแขนเหล็กทั้งทางด้านซ้ายและขวาของตัวกล้อง
ซึ่งแขนเหล็กอันนี้จะติดกับอุปกรณ์ในการดึง ZOOM และ อุปกรณ์ในการปรับโฟกัสของภาพ
ทำให้การใช้งานกล้องโทรทัศน์สะดวกมากขึ้น ขาตั้งกล้องที่ใช้งานในสตูดิโอมีหลายประเภท
ซึ่งพอจะแบ่งได้ดังนี้
1.
Monopod
: เป็นขาตั้งกล้องที่มีขาเดียว
เวลาใช้งานมักจะต้องมีการพิงกับลำตัวของช่างภาพ เพื่อให้เกิดความมั่นคงมากยิ่งขึ้น
2.
Camera
Tripod : เป็นขาตั้งกล้องแบบสามขา ซึ่งใช้กันทั่วไป
มักใช้ในสถานการณ์ที่ไม่มีการเคลื่อนกล้องมากนัก
3 Camera
Pedestals : เป็นขาตั้งกล้องที่มีระบบไฮโดรลิคในการเคลื่อนกล้องขึ้นลง
และสามารถเคลื่อนที่ไปทางด้านซ้าย-ขวาได้อย่างนุ่มนวล
4.
Camera Crane
: เป็นฐานกล้องซึ่งให้อิสระในการถ่ายทำแก่ผู้กำกับรายการ เนื่องจาก Crane
สามารถเคลื่อนที่ได้รอบในทุกทิศทาง และให้ภาพที่มีความนุ่มนวล
ตลอดจนมีรให้เลือกใช้หลากหลายตามความต้องการและความเหมาะสมในการใช้งาน
HDCAM
เป็นระบบเทป digital
format ที่ออกแบบมาสำหรับเทคโนโลยีการออกอากาศโทรทัศน์ความคมชัดสูง
(HDTV) และการถ่ายทำภาพยนตร์ในระบบ Digital ใช้เนื้อเทปโลหะ (Metal) คุณภาพสูง
ม้วนเล็กจะบันทึกได้ 40 นาที ส่วนม้วนใหญ่บันทึกได้ 124 นาที
MPEG
IMX
เป็นระบบเทป digital format
ที่มีการบีบอัดสัญญาณ แบบ MPEG 2 ซึ่งเหมาะสมสำหรับการออกอากาศในระบบ
Digital Television (DTV) ใช้เนื้อเทปแบบโลหะพิเศษ มีความกว้างเทป ½
นิ้ว
DVCAM
เป็นมาตรฐานงาน VDO สำหรับงานในระดับมืออาชีพ
ที่พัฒนาโดย Sony ซึ่งพัฒนาต่อจาก DV format ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการในปี 1996 DVCAM จะมีการบับอัดสัญญาณด้วยอัตรา
5:1 เป็นสัญญาณติจิตอล ให้ความคมชัดสูง เส้นเทปแม่เหล็กของ DVCAM
จะมีความกว้างเทปเท่ากับ 6.35 มม. เทป DVCAM มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม
และลักษณะการใช้งานต่างๆ ได้ดี
ตัดต่อในตำแหน่งที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ ระบบเสียง มีคุณภาพเทียบเท่า CD ใช้เนื้อเทปแบบ Metal Evaporate (ME)
DVC
PRO
เป็นระบบเทป digital format ที่ Panasonic พัฒนาต่อมาจากเทป DV แต่ปรับให้มีความเร็วเทปเพิ่มขึ้นอีก 80%-
มีการเพิ่มแทร็ค CTL เพื่อการตัดต่อแบบ linear ได้แม่นยำ ระบบเสียงเทียบเท่า CD
ใช้เนื้อเทปแบบ Metal Particle (MP)
Optical
Disc Format
มีลักษณะเป็น Blue
Ray Disc ความจุข้อมูล 23.3
GB บันทึกได้ 45-90 นาที สามารถส่งข้อมูลความเร็วสูง เหมาะสำหรับการตัดต่อ Non-linear
การเก็บรักษาเทปโทรทัศน์
1.
เก็บเทปไว้ในกล่องเสมอ
2.
ก่อนลบเทป
ควรตรวจสอบให้แน่ใจ ว่าใช่หรือม้วนที่จะลบหรือไม่
3.
อย่าเก็บเทปไว้ใกล้แม่เหล็ก
4.
อย่าเก็บเทปในที่ร้อนมาก
/ เย็นมาก / ความชื้นสูง
5.
อย่าเล่นเทปที่เครื่องเล่นที่ชำรุด
อาจทำให้เทปขาดได้
6.
อย่าใส่เทปผิดทาง หรือผิดประเภทของเครื่องเล่น
7.
อย่าให้ฝุ่นเข้าเครื่องหรือติดกับม้วนเทป
8. ห้ามใช้นิ้วมือสัมผัสโดยตรง
9. ควรติดฉลากในตำแหน่งที่กำหนด
10. ในการเก็บเทปควรวางแนวตั้ง
11. ควรนำเทปที่เก็บไว้ มากรอเทปไปกลับเป็นครั้งคราว
The
Television Control Room
ส่วนควบคุมรายการ
(The Program
Control)
1.
เครื่องรับภาพ (Monitor)
ต้องมีเครื่องรับภาพให้เพียงพอที่จะใช้ในการออกอากาศซึ่งอย่างน้อยจะต้องมี
8 จอขึ้นไปสำหรับ Studio
ขนาดเล็ก
-
Monitor
สำหรับกล้อง 3 ตัว
-
Monitor สำหรับเช็คดูภาพที่จะออกอากาศ (Preview)
-
Monitor สำหรับดูภาพที่กำลังออกอากาศ
(Program Out)
-
Monitor สำหรับเครื่อง VTR
-
Monitor สำหรับคอมพิวเตอร์กราฟิค
-
Monitor สำหรับเครื่องฉายสไลด์ หรือฟิล์มภาพยนตร์
2. ส่วนควบคุมรายการ (The Program Control)
3. ระบบติดต่อภายใน (Intercommunication System)
4. นาฬิกาและเครื่องจับเวลา
5. ส่วนควบคุมไฟ
6. ส่วนควบคุมเสียง
ส่วนควบคุมการเปลี่ยนภาพ
(The Switcher)
1.
เลือกภาพที่เหมาะสมจากแหล่งรับภาพ
2. เปลี่ยนภาพจากแหล่งรับภาพหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่ง
3.
ทำเทคนิคพิเศษ
ส่วนควบคุมการออกอากาศ
Master
Control
เป็นห้องที่สำคัญมากที่สุดห้องหนึ่งของสถานีโทรทัศน์ ใช้เป็นห้องสำหรับการนำภาพออกอากาศให้ผู้ชมได้เห็น
โดยเป็นไปตามแผนผังรายการ
ส่วนสนับสนุนการผลิตรายการ (Studio Support Areas)
- ห้องฉาก
- ห้องแต่งตัว
- ห้องสมุดเทป / เสียง
สตูดิโอเสมือน
(Virtual
Studio)
Virtual Studio เกิดจากความพยายามที่จะนำเอาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์
, ภาพ 3 มิติ , การกำหนดแสงเงา และพื้นผิว
ของภาพ 3 มิติ มาผนวกเข้าไว้ด้วยกัน กับการจัดฉากในรายการโทรทัศน์
Mixer
แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1.
Microphone
Mixer
2.
Portable
Mixer
3.
Analog console
4.
On-air Broadcast Console
5.
Production
Console
Media
Recording [Analog Format]
Magnetic Tape
เทปบันทึกเสียง (Audio Tape)
หรือถูกเรียกอีกอย่างว่า เทปแม่เหล็ก(Magnetic Tape) ซึ่งบนเนื้อเทปจะมีส่วนประกอบของ
“เหล็ก (iron oxide)” ฉาบอยู่บนผิวหน้าของตัวเทป
ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก เมื่อมีการบันทึกเสียง ส่วนตัวฐานของเทป
จะทำมาจากวัสดุที่เรียกว่า
“Mylar” มีลักษณะคล้ายเทปใส (Scotch tape)
ตามสถานีวิทยุทั่วไป จะมีเครื่องบันทึกเทปที่หลากหลาย แต่อย่างน้อยจะต้องมีเครื่องบันทึกที่เป็นมาตรฐาน
ที่เหมือนกัน 3 ชนิดคือ
- Reel-to-Reel
- Cartridge
- Tape Cassette
ซึ่งเครื่องทั้ง 3 ชนิดนี้ก็จะมีการออกแบบที่แตกต่างกันไป
ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเล่นและบันทึก
Reel-to-Reel
Machines
เทป Reel
หรือ Open Reel เป็นเครื่องบันทึกเสียงที่นิยมใช้กันมากใน Studio ระดับมืออาชีพ
ด้วยคุณสมบัติของเนื้อเทปที่ถูกเคลือบไว้ด้วยสารแม่เหล็ก (Magnetic tape) และยังสามารถใช้ในการตัดต่อเสียงได้ด้วย
Cartridge
Machine
•
Cartridge
หรือ Cart เป็นเทปขนาดเล็กที่ม้วนพันอยู่ในวงล้อ
โดยมีกล่องพลาสติครูปร่างคล้ายตลับ ครอบอยู่อีกชั้นหนึ่ง
•
เทป
Cart เป็นเทปที่ได้รับความนิยมมากในวงการวิทยุกระจายเสียง มีขนาดกะทัดรัด
(เล็กกว่า Reel) ใช้งานง่าย
•
นิยมใช้ในการบันทึก
Spot โฆษณา
Cassette
Machine
• เป็นเทปขนาดเล็ก มีม้วนเทปวงล้อคู่ บรรจุอยู่ในตลับ
(Cassette) นิยมใช้กันในสถานีวิทยุกระจายเสียงทั่ว ๆ ไป
•
มีขนาดเล็ก
คุณภาพของการบันทึกเสียงต่ำ
•
ความเร็วเทปที่ใช้ในการบันทึกค่อนข้างช้า
โดยเนื้อเทปจะวิ่งด้วยความเร็ว 1 7/8 IPS
•
มี
Noise ค่อนข้างมาก โดยทางผู้ผลิตเครื่องเล่นเทป ได้นำเอาเทคโนโลยี
การลดเสียงรบกวน (Noise)ของ Dolby มาใช้กับเครื่องเล่นเทป
ทำให้แก้ปัญหานี้ไปได้
•
ในการใช้งานจริงตามสถานีวิทยุ
อาจจะใช้เทป cassettes ในการเปิดเพลง under เสียงพูด
เนื่องจากการเปิดเพลงในลักษณะ fade under จะเป็นเสียงที่เบา
ทำให้ไม่ได้ยิน noise ที่ติดมากับเนื้อเทป
•
ยากแก่การตัดต่อ
•
ถ้าใช้เครื่องเล่นเทประดับ
Professional สามารถความค่าการบันทึกเทปให้ได้เสียงที่มีความคมชัดใกล้เคียง MD เลยทีเดียว
Media
Recording [Digital Format]
ถ้าจะมีการเปรียบเทียบการบันทำเสียงในระบบ Analog และระบบ
Digital แล้ว จะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร ในหลาย ๆ ด้าน
เช่น การบันทึกเสียงในระบบ digital
นั้น จะให้เสียงที่คมชัด สดใส ไม่มี noise ไม่มีการบิดเบือนของเสียง
หรือการแตกพร่าของเสียง จึงทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากสำหรับวงการบันทึกเสียงในปัจจุบันที่พยายามจะเปลี่ยนระบบจาก
analog มาเป็น digital
การบันทึกเสียงในระบบดิจิตอลนั้น เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง เสียงธรรมชาติที่เกิดขึ้น
กับ สัญญาณไฟฟ้ามาผสมกัน โดยสัญญาณของการบันทึกเสียงแบบดิจิตอลจะนำค่าความถี่ของเสียง
(Frequency) และช่วงความกว้างของคลื่นเสียง (Amplitude)
มาบันทึกในระบบตัวเลข 0,1
Compact
Disc
•
CD
เป็นฟอร์แมตสื่อดิจิตอลที่มีการพัฒนาร่วมกันระหว่างโซนี่กับฟิลิปส์
ในช่วงต้นศตวรรษหลังปี ค.ศ.1980
•
CD
ใช้ฟอร์แม็ทการบันทึกแบบ PCM (Puls Code Modulation) ซึ่งจะสุ่มแปลงความถี่ (Sampling) ของเสียงเพลง
ให้เป็นข้อมูลดิจิตอลแสดงเป็นตัวเลข (Quantize) ซึ่งถูกแทนค่าด้วยกลุ่มตัวเลข
(0,1) จำนวนมาก
•
CD
จะมีการ Sampling ที่ 44.1 kHz และQuantization ขนาด 16 bit สำหรับการบันทึกและการเล่นกลับของข้อมูลดิจิตอล
•
จากการ
Sampling ดังกล่าว ทำให้เสียงที่ได้จากแผ่น CD มีความสดใส
ไร้เสียงรบกวน ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากในวงการ Audio Production และ Broadcasting
Digital
AudioTape
•
DAT
ถือว่าเป็นเทประบบดิจิตอลที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในวงการ Audio
Production และ Broadcast โดยที่เทป DAT
พัฒนาออกมาทีหลังแผ่น CD และเป็นสื่อดิจิตอลสื่อเดียวในขณะนั้นที่สามารถบันทึกได้
ในขณะที่ CD เป็นสื่อดิจิตอลที่เล่นอย่างเดียว
•
เทป
DAT มีลักษณะคล้ายกับเทป cassette แต่มีขนาดเล็กกว่า
•
เครื่องเล่นเทป
DAT จะสามารถเล่นและเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วกว่าเทป analog เดิม
MiniDisc
•
MD
ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ในตลาดผู้บริโภคทั่วไป (Consumer) ทั่วไปมากกว่าที่จะในมาใช้ในระดับมืออาชีพอย่างจริงจัง
•
ลักษณะจำเพาะของ
MD
- เป็นระบบดิจิตอล
- มีขนาดเล็กกว่า CD (Disc ที่ใช้ในการบันทึกมีความกว้างเพียง 2.5 นิ้ว)
- บีบอัดสัญญาณในระบบ ATRAC ให้คุณภาพเสียงในระดับ
CD (44.1 kHz)
- สามารถบันทึกได้
- เข้าถึงข้อมูลได้เร็ว เหมือน CD
- มีน้ำหนักเบา
แม้ว่า MD
จะถูกสร้างขึ้นมาสำหรับตลาดผู้บริโภคทั่วไป
แต่ด้วยประสิทธิภาพอันเกินตัวของมัน ทำให้คนในวงการ Professional เริ่มมองเห็นความสำคัญ จึงได้มีการนำเอา MD ไปพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้นจนสามารถนำมาใช้งานในระดับโปรได้
โดยนำไปใช้ในรูปแบบของการบันทึกแบบ Multitrack ซึ่งสามารถบันทึกได้สูงสุดถึง
8 track ในแผ่น MD เพียงแผ่นเดียว
•
ในการบันทึกแผ่น
MD แบบปกติจะบันทึกได้ 74 นาที (เท่ากับ CD)
•
แต่ถ้าบันทึกแบบ
MultiTrack ในระบบ 8 แทรคจะเหลือเพียง 18 นาที และ
4 แทรคจะเหลือเพียง 37 นาที
Hard-Disk
Recording
รูปแบบการทำงานของห้องบันทึกเสียงในปัจจุบันนี้
จะประกอบไปด้วยเครื่องมือหลากหลายชนิด มาประกอบกันอยู่ในห้องบันทึกเสียง
ไม่ว่าจะเป็น Mixer / เครื่องบันทึกเทป / เครื่องแปลงสัญญาณ ฯ แต่ด้วยนวัตกรรมใหม่ สามารถทำให้อุปกรณ์อันหลากหลาย
สามารถมารวมอยู่ในอุปกรณ์เพียงตัวเดียวได้ นั่นคือ “เครื่องบันทึกเสียงแบบใช้
HardDisk”
Hard-Disk
Recording แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
- แบบ Stand
Alone
- แบบบันทึกลงในคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีการแปลงสัญญาณเสียง
โดยผ่าน Sound Card ลงไปบันทึกที่ Hard Disk ของคอมพิวเตอร์ และสามารถทำการตัดต่อเสียง ใส่ Effect ต่าง ลงไป ทำให้การทำงานในห้องบันทึกเสียงสะดวกรวดเร็วขึ้น
แหล่งความรู้เพิ่มเติม
Hausman, Carl.
Modern radio production 4th ed. Belmont ,
Calif. : Wadsworth Pub. Co. , 1996
Millerson,
Gerald. Video production handbook 3rd ed. Oxford : Focal Press, 2001
Millerson,
Gerald. Television production 13rd ed. Oxford : Focal Press, 1999
Millerson,
Gerald. The technique of television production 9th rev. ed.. New York , N.Y.
: 1972
http://www.bpcvalue.com/
http://pro.sony.com.hk
http://www.studiodv.com
http://www.studv.com
จัดทำโดย
นางสาว วรรณกานต์ แดงดิษฐ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น