ไมโครโฟน Microphone


ไมโครโฟน Microphone


    หรือ เรียกกันแบบย่อว่า ไมค์ (Mic.) คือ อุปกรณ์แปลงพลังคลื่นเสียง ให้กลายเป็นคลื่นสัญญาณไฟฟ้า โดยมีจุดกำเนิดจากการคิดวิธีส่งสัญญาณโทรศัพท์

     ไมโครโฟนได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆมากมาย ทั้งด้านการสื่อสาร, การบันทึกเสียง, ระบบคาราโอเกะ, เครื่องช่วยฟัง, อุตสาหกรรมภาพยนต์,การแสดงสดและการบันทึกเสียง หรืองานของวิศวกรด้านเสียง(Audio Engineering), โทรโข่ง, งานกระจายเสียงและแพร่ภาพทางวิทยุและโทรทัศน์ ,งานมัลติมีเดีย บนคอมพิวเตอร์, การรับคำสั่งเสียงในอุปกรณ์ IT,การส่งสัญญาณเสียงบนสื่ออินเทอร์เน็ต (VoIP) หรืองานเสียงที่อยู่นอกเหนือการได้ยิน เช่น การตรวจสอบด้วยอุลตร้าซาวด์หรือ การตรวจจับการสั่นสะเทือน

     ไมโครโฟนมีการออกแบบหลากหลายตามการใช้งาน โดยส่วนใหญ่ที่ใช้งานในปัจจุบัน จะเป็นแบบทำงานด้วยการเหนี่ยวนำของคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้า หรือไดนามิค ไมโครโฟน (Dynamic microphone)แบบการเปลี่ยนแปลงค่าประจุไฟฟ้า หรือ คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟน (Condenser microphone) นอกจากนั้นยังมีแบบ Piezoelectric generation หรือ light modulation

    โดยทุกแบบล้วนมีจุดประสงค์เพื่อสร้างสัญญาณเสียง ตามการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้า (electrical voltage signal) จากการสั่นสะเทือนเชิงกล (Machanical vibration) ซึ่งมาจากพลังเสียงที่ไมค์ได้รับเข้าไปนั่นเอง



ไมโครโฟนคืออะไร




ความหมายของไมโครโฟน ไมโครโฟน คือ อุปกรณ์ที่เปลี่ยนเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้า การออกแบบไมโครโฟนที่ดี จะต้องสามารถเปลี่ยนพลังเสียงได้ดี ตลอดย่านความถี่เสียง ซึ่งมีความจำกัดมาก จึงมีเทคโนโลยีหลายอย่าง้กิดขึ้นเพื่อให้ได้สัญญาณสียง ที่ดีเหมือนต้นกำเนิดเสียง ดังนั้น จึงมีไมโครโฟนหลายชนิดที่มีคุณลักษณะไม่เหมือนกัน

     เสียงที่ดีย่อมมาจากต้นแบบที่ดี  แม้ว่าเครื่องไม้เครื่องมือที่วางระบบไว้ในงานเสียง  จะดีจะแพงเพียงไรแต่หากต้นแบบไม่ดีก็ไม่อาจจะทำให้เสียงที่ออกไปดีขึ้นมา ได้  เช่นเดียวกับพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ดีย่อมให้ลูกที่มีคุณภาพดี  ในส่วนของระบบสัญญาณเสียงก็เช่นกัน  เพียงแต่เครื่องเสียงประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ  หลายส่วนเข้ามาประกอบกัน  แต่จุดหนึ่งที่น่าพิจารณาคือต้นแบบ

      มิใช่ว่าเอานักดนตรีฝึกหัดมาเล่นกับเครื่องเสียงดี ๆ  แล้วจะทำให้เพลง ๆ นั้นดี – แน่นด้วยคุณภาพ  มิใช่ว่าเอานักร้องเสียงไม่เอาเรื่องเอาราวมาร้องเพลงแล้วใช้เครื่องเสียงดี ๆ  จะทำให้เสียงออกมาดีได้

และเอานักร้อง-นักพูดที่มีน้ำเสียงอุดมด้วยมนต์เสน่ห์  มาร้องมาพูดกับไมโครโฟนราคาถูก  ๆ  แล้วจะทำให้คุณภาพเสียงของไมโครโฟนนั้นดีขึ้นได้  ไม่งั้นแล้วเราอาจจะจัดรายการโปรโมทไมโครโฟนสักรุ่นหนนึ่ง-ยี่ห้อหนึ่ง  โดยการเอานักพูด นักร้อง – นักพากย์ที่มีเสียงดี ๆ  มาร้องมาพูดมาพากย์  แล้วจะทำให้เสียงออกมาดี  และขายไมโครโฟนนั้น ๆ ได้  เปล่าทั้งนั้น  เพราะคุณภาพของเสียงย่อมขึ้นอยู่กับตัวรับเสียง  ซึ่งในเครื่องเสียงเรียกว่า  “ต้นแบบของเสียง”(Source)

เพราะไมโครโฟน  คืออุปกรณ์ที่จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงธรรมชาติหรือที่เรียกว่าพลังงานที่เป็นอะคูสติค(Acoustic) เป็นพลังงานไฟฟ้า  รายละเอียดที่สำคัญของไมโครโฟนอยู่ที่ว่าจะมีกี่คนที่เลือกใช้ไมโครโฟนได้ ถูกต้อง  เพราะไมโครโฟนไม่ได้มีการสร้างมาแบบเดียวโดด  ๆ   ได้มีการออกแบบไมโครโฟนมาเฉพาะงาน  มีทิศทางของการรับเสียงที่แตกต่างกัน  มีความถี่ตอบสนองที่แตกต่างกันออกไป  มีลักษณะของการเน้นระดับเสียงที่ไม่เหมือนกัน  และอื่น ๆ  อีกบางประการ


ดังนั้นการศึกษาถึงระบบไมโครโฟนควรจะตั้งคำถามอย่างน้อย  คำถามคือ

1. ไมโครโฟนมีกี่ชนิด  แต่ละชนิดมีคุณสมบัติอย่างไร

2. ไมโครโฟนแต่ละตัวที่ผลิตขึ้น  มีคุณสมบัติทางทิศทางเสียงอย่างไรหรือรับเสียงได้ดีในทิศทางใดดี

3. ไมโครโฟนที่เลือกใช้นั้นให้คุณภาพเสียงและความถี่เสียงย่านไหน  หรือตอบสนองความถี่เสียงใดดี

4. ไมโครโฟน ตัวนั้น ๆ  มีรูปร่างหน้าตาแบบใด   เพราะงานบางงานเป็นงานที่ต้องใช้รูปแบบของไมโครโฟนให้เหมาะสม  เช่นในการถ่ายทำโทรทัศน์จำเป็นที่จะต้องใช้ไมโครโฟนหลบมุม  ไมโครโฟนตัวเล็ก  หรือไมโครโฟนหนีบเน็คไท

จึงเห็นได้ว่าจากปัจจัยเบื้องต้น  ไมโครโฟนและการเลือกชนิดของไมโครโฟน  นับเป็นรายละเอียดที่ไม่ธรรมดาเลย  ซึ่งเมื่อท่านได้ศึกษาถึงระบบการผสมเสียงหรือมิกซ์เสียง  บทบาทของไมโครโฟนจะเด่นชัดมากขึ้น   ๆ   เรียกว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา

-ชนิดของไมโครโฟน  (Types of Microphones)

ต้องย้ำกันอีกครั้งว่าไมโครโฟนคือเครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงาน เสียงธรรมชาติให้เป็นพลังงานไฟฟ้า  โดยอุปกรณ์นี้จะทำหน้าที่เป็นตัวส่งผ่ายเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงผ่านองค์ ประกอบของไมโครโฟนชิ้นส่วนต่าง  ๆ  ดังนั้นไมโครโฟนจึงมีการแบ่งแยกชนิดต่าง ๆ  ตามองค์ประกอบหรือชิ้นส่วนที่ประกอบขึ้นมาเป็นตัวไมโครโฟน  โดยไมโครโฟนที่นิยมใช้กันมีอยู่  ประเภท  โดย  ประเภทแรกที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้เป็นไมโครโฟนระดับมืออาชีพระดับโปรเฟสชัน น่อล  (Professional)   อีก  ประเภทไม่ใช่ไมโครโฟนระดับโปรเฟสชันน่อล  คือ

1.แบบมูฟวิ่งคอยล์(Moving coil)

2.แบบริบบอน  (Ribon)

3.แบบคอนเดนเซอร์หรือคาปาซิเตอร์(Condenser/Capacitor)

4.แบบคาร์บอน (Carbon)

5.แบบคริสตอลหรือแบบเซรามิค(Crystal  Ceramic)

 นี่คือการแยกประเภทจากโครงสร้างหรือจากองค์ประกอบของไมโครโฟน โดยการแยกดังกล่าวอาจจะแยกอยู่ในรูปของไมโครโฟนแบบ”ไดนามิค”  กับแบบ  “อิเล็กโตรสแตติค”

ไดนามิคไมโครโฟนอาจจะอรรถาธิบายด้วยหลักของไมโครโฟนแบบมูฟวิ่งคอยล์  แม้ว่าโดยหลักการแล้วหากจะมองแบบนามธรรมแล้วไดนามิคไมโครโฟนที่ใช้หลักการ ถ่ายทอดพลังงานในรูปของอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้า  (Electro-Magnetic)   การแยกประเด็นอย่างนี้จึงหมายรวมไปถึงไมโครโฟนแบบริบบอนซึ่งไมโครโฟนแบบนี้เราอาจเรียกได้ว่าไมโครโฟนแบบ”เวซิตี้”(Velocity)

 คอนเดนเซอร์ ไมโครโฟนอาจจะแยกออกเป็นไมโครโฟนแบบอิเล็กโตรสแตติคซึ่งเป็นไมโครโฟนที่ อาศัยสนามไฟฟ้าเป็นสื่อในการถ่ายทอดพลังงานเสียงโดยไมโครโฟนดังกล่าวใช้หลัก การของประจุไฟฟ้าหรือการเปลี่ยนแปลงสนามไฟฟ้าเป็นหลัก  ลักษณะดังกล่าวมีภาพลักษณ์เหมือนกับการทำงานของคอนเดนเซอร์หรือคาปาซิเตอร์ จึงนิยมเรียกว่าไมโครโฟนแบบคอนเดนเซอร์

หากจะแยกชนิดที่มีอิมพีแดนซ์  (Impedance)  ของ ไมโครโฟน  อาจจะแยกออกเป็นไมโครโฟนชนิดที่มีอิมพีแดนซ์สูงกับอิมพีแดนซ์ต่ำ  โดยคำนึงถึงว่าไมโครโฟนจะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้า แล้ว  พลังงานไฟฟ้านี้จะไหลผ่านวงจรด้วยค่าแรงดันไฟฟ้า   ความต้านทานต่อค่าแรงดันไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเราเรียกว่า “ค่าอิมพีแดนซ์”  หากความต้านทานต่อกระแสไฟฟ้านั้นมีค่าน้อยหรือต้านน้อย  เราเรียกว่า “โลว์อิมพีแดนซ์”  และที่สำคัญอุปกรณ์ที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่ำจะทำให้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า

ทำไมหรือ  ไมโครโฟนที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่ำมีข้อดีอยู่อย่างน้อย  ประการ(หากเทียบกับไมโครโฟนที่มีอิมพีแดนซ์สูงเนื่องเพราะหากค่าความต้านทานของไมโครโฟนต่ำ-ความต้านต่อสัญญาณมีน้อย  จึงทำให้การเกิดเสียงฮัม  และสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าน้อยกว่า  ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณรบกวนทางไฟฟ้าของมอเตอร์หรือจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์  และหากไมโครโฟนนั้นมีการต่อสายสัญญาณยิ่งยาวมากเท่าไร  ก็จะทำให้เกิดเสียงรบกวนมากเท่านั้น   นี่เองที่ทำให้งานระดับโปรเฟสชันน่อลจึงต้องเลือกใช้ไมโครโฟนที่มีอิมพีแดน ซ์เซอร์ต่ำ

เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใดก็ตามที่มีการนำเอาอุปกรณ์ที่มีอิมพีแดนซ์สูง  มาต่อร่วมกับเครื่องมืออุปกรณ์ที่มีอิมพีแดนซ์เซอร์ต่ำ  ย่อมก่อให้เกิดสัญญาณผิดเพี้ยนทันที  ความผิดเพี้ยนของสัญญาณดังกล่าวเขาเรียกตามศัพท์วิชาการว่า “ดิสทอร์ชั่น”  ในกรณีที่จำเป็นต้องต่ออุปกรณ์ที่มีอิมพีแดนซ์เซอร์ต่างกัน   จำเป็นต้องใช้เครื่องแปลงอิมพีแดนซ์เซอร์ที่เรียกว่าหม้อแปลงเพื่อแปลงอิมพี แดนซเซอร์ซึ่งอาจเรียกทับศัพท์ว่าตัวแมทซิ่งทรานส์ฟอร์เมอร์  ดังได้แสดงไลน์-แมทซิ่ง  ทรานส์ฟอร์เมอร์ไว้

ไมโครโฟนอิมพีแดนซ์ต่ำแบบต่าง ๆ(Types of Low-Impedance Microphones)

ไมโครโฟนที่มีอิมพีแดนซ์เซอร์ต่ำมีอยู่ 3 แบบ  คือมูฟวิ่ง-คอยล์ , ริบบอน และคอนเดนเซอร์  โดยไมโครโฟนแบบมูฟวิ่ง- คอยล์เป็นไมโครโฟนที่ใช้งานอย่างกว้างขว้างมากที่สุด  โครงสร้างของไมโครโฟนแบบนี้ประกอบด้วยคอยล์ขดลวดที่ปะติดไว้กับแผ่นไดอะแฟ รม  ทั้งหมดนั้นวางอยู่ในสนามแม่เหล็กซึ่งเกิดจากแม่เหล็กถาวร เมื่อเรากรอกเสียงลงไปยังไดอะแฟรม 

ไดอะแฟรมจะเกิดการสั่น   มีผลทำให้มูฟวิ่ง – คอยล์ขยับตัวตามการสั่นนั้นด้วย  เราจึงเรียกคอยล์ขดลวดที่สั่นตามไดอะแฟรมนี้ว่า “มูฟวิ่ง – คอยล์”  เพราะเป็นคอยล์ที่สามารถเคลื่อนตัวได้นั้นเอง  เพราะคำว่ามูฟวิ่งหมายถึงการเคลื่อนไหว – เคลื่อนที่ได้

จาก หลักการที่ว่าเมื่อขดลวดเคลื่อนตัวผ่านสนามแม่เหล็ก  จะมีการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าขึ้นได้  พลังงานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้คือพลังงานที่ถูกเปลี่ยนจากพลังงานเสียงหรือพลัง งานอะคูสติคเป็นพลังงานไฟฟ้า  โดยอาศัยการสั่นของไดอะแฟรมปฐมเหตุ

จากการออกแบบไมโครโฟนแบบนี้  ทำให้เกิดข้อเด่นกว่าไมโครโฟนแบบริบบอนและคอนเดนเซอร์อยู่หลายประการคือ

1. ราคาไม่แพงนัก

2. สามารถรับภาระและลดภาระของเสียงที่เข้ามาแรง ๆ  ได้ดีโดยไม่ทำให้เสียงที่ออกไปมีลักษณะของเสียงกระแทกที่เรียกว่าเสียง “โอเว่อร์โหลด”ทั้งยังกันเสียงกระแทกจากลมได้ดีด้วย

3.ให้เสียงละเอียด

4.ใช้กับงานนอกสถานที่ได้

ไมโครโฟน แบบริบบอน  ประกอบด้วยแผ่นไดอะแฟรมและมูฟวิ่งคอยล์ที่สร้างอยู่ในรูปของริบบอนย่น ๆ  ซึ่งเรียกว่าคอรูเกต  เมตัล  ริบบอน  วางส่วนดังกล่าวไว้ในสนามแม่เหล็ก  เมื่อแผ่นริบบอนเกิดการสั่นด้วยแรงอัดของเสียง  มันจะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้นเช่นเดียวกับระบบมูฟวิ่งคอยล์  ริบบอนเป็นไมโครโฟนที่ออกแบบมาให้เป็นไมโครโฟนที่มีความไวต่อสัญญาณเสียง ค่อนข้างมาก 

ไมโครโฟน แบบคอนเดนเซอร์ทำงานแตกต่างไปจากไมโครโฟนแบบมูฟวิ่งคอยล์และแบบริบบอนการ ทำงานของมันใช้กำลังงานของกระแสไฟฟ้าแทนที่จะให้พลังงานโยหลักการของสนามแม่ เหล็ก  ซึ่งเราเรียกว่าวิธีการที่ใช้ในไมโครโฟนแบบมูฟวิ่ง-คอยล์และริบบอนว่า”อิเล็กโตรสแตติค”  องค์ประกอบหรือโครงสร้างของไมโครโฟนแบบนี้สร้างมาจากแผ่นโลหะ  ชิ้นวางขนานกัน  โดยทิ้งระยะห่างไว้ไม่มากนัก  บางคนเรียกแผ่นโลหะนี้ว่าแผ่นอิเล็กโทรด  โดยให้แผ่นโลหะแผ่นหลังจะยึดติดคงที่ไว้แผ่นโลหะทั้งสองจึงมีองค์ประกอบ อย่างเดียวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่าคอนเดนเซอร์หรือคาปาซิเตอร์  ด้วยความสามารถในการเปลี่ยนแปลงค่าประจุไฟฟ้า  โดยหลักการชาร์จประจุไฟฟ้าเมื่อแผ่นโลหะที่เป็นไดอะแฟรมสั่นตามความถี่เสียง ไปหน้าถอยหลังกรณีดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของประจุไฟฟ้าหรือเกิดการเปลี่ยนแปลง สนามไฟฟ้าตามสัญญาณเสียงที่กรอกเข้าไปยังไมโครโฟน  พลังงานไฟฟ้าดังกล่าวจึงเอาไปให้วงจรขยายสัญญาณที่เรียกว่าปรีแอมปลิฟายอีก ทอดหนึ่ง  เพื่อขยายสัญญาณให้มีความแรงพอเหมาะต่อไป

แต่ ทั้งปรีแอมปลิฟายและคอนเดนเซอร์จะต้องมีไฟจ่ายให้แก่กันและกันมันจึงจะทำงาน ได้  คอนเดนโซอร์ไมโครโฟนจึงต้อมีแหล่างจ่ายไฟเฉพาะของมัน  หากเป็นไมโครโฟนที่เป็นระดับโปรเฟสชันน่อบแบบเดิม  ๆ   อาจมีภาคจ่ายไฟทั้งตัวคอนเดนเซอร์ไมโครโฟนและปรีแอมปลิฟายแต่ทุกวันนี้เราจะ พบว่าการสร้างนั้นจะสร้างให้มันง่ายเข้าเพื่อสะดวกต่อการพกพา

                ระบบอิเล็กโตรสแตติคนั้นจะให้คุณภาพเสียงที่มีคุณภาพมากที่สุด – กล่าวเฉพาะคอนเดนเซอร์ไมโครโฟนที่เป็นระดับโปรเฟสชันน่อล  แต่จะต้องไม่ลืมว่าไมโครโฟนที่เป็นคอนเดนเซอร์ไมโครโฟนโปรเฟสชันน่อลมีราคา แพงกว่าชนิดอื่น  อย่างไรก็ดีไมโครโฟนแบบนี้จะมีความไวของการรับสัญญาณมากเกินไปหากใช้กับงาน นอกสถานที่หรืองานเอาต์ดอร์  ซึ่งคำว่านอกสถานที่หมายถึงนอกสตูดิโอ  ในพื้นที่โล่งซึ่งไม่มีการกันทิศทางลม  ไมโครโฟนแบบนี้จึงถูกเลือกให้เป็นไมโครโฟนที่ใช้ในงานบันเทิงมากที่สุด  รวมไปถึงระบบบันทึกเสียงด้วยในเวลาเดียวกัน


-คุณสมบัติของทิศทางการรับเสียง(Directiona Characteristics)



                หลักการเบื้องต้นของการเลือกใช้ไมโครโฟนที่ดี  เพื่อให้เสียงออกไปได้มนต์เสียงดั่งต้นแบบนั้น  ย่อมขึ้นอยู่กับระยะห่างของต้นแบบเสียงกับไมโครโฟนเป็นประเด็นแรก  ประเด็นต่อมาก็คือทิศทางรับเสียงของไมโครโฟน-ที่เรียกว่าลักษณะของ    พิคอั้พ  แพทเทิร์น

                พิคอั้พ  แพทเทิรน์  จะต้องผูกติดกับทิศทางของการรับหรือการได้ยินเสียงโดยไมโครโฟนประเภทนั้น ๆ  จะถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความไวต่อเสียงในทิศทางนั้น ๆ  ซึ่งเราสามารถแบ่งทิศทางการรับเสียงได้  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ

                1.โอมนิไดเร็คชันน่อล(Omnidirectional)เป็นไมโครโฟนที่รับทิศทางเสียงรอบตัว

                2.ไบไดเร็คชันน่อล(Bidirectional)ทำหน้าที่รับเสียงสองทางด้านริมซ้ายขวาหรือหน้า

                3.ยูนิไดเร็คชันน่อล(Undirectional)รับเสียงทางด้านหน้าอย่างเดียว

                ทิศทางเสียงของไมโครโฟนแบบยูไดเร้คชันน่อลหรือชนิดคาร์ดิออยด์ได้รับการ พัฒนาตามยุคสมัยต่าง ๆ  กันเป็นเวลาค่อนข้างจะยาวนานพอสมควรจนกระทั่งมีผลผลิตของมันแตกสาขาออกไป เป็นแบบ ซุปเปอร์  ไฮเปอร์  และอุลตร้าคาร์ดิออยด์

       
-การตอบสนองเชิงมุม(Polar  Response  Diggrams)

                หากจะพิจารณาถึงผลตอบสนองมุมเสียงที่ถูกต้องเด่นชัด  สามารถจะศึกษาได้จากสเป็คของไมโครโฟนที่ทางผู้ผลิตระบุมา   อย่างไรก็ดีเพื่อให้เกิดความเข้าใจโดยเบื้องต้น  จึงขอให้พิจารณาจากรูปแบบทิศทางเสียงมีการแยกส่วนออกไปเป็นส่วนต่าง  ๆ  ด้วยค่ามุม  30  องศาการอ่านทำความเข้าใจสามารถแสดงได้ด้วยการอ่านรอบต่าง ๆ ของกราฟ  ไม่ว่าจะเป็นรอบในหรือรอบนอก  แต่ละวงรอบที่ปรากฏจะค่ารอบละเดซิเบล

                ผลตอบสนองเชิงมุมของโอมนิไดเร็คชันน่อลจะมีพิคอั้พแพทเทิร์นรอบทิศทาง  ซึ่งมีระดับความแรงสม่ำเสมอกันในทุกทิศทางในขณะที่ไมโครโฟนชนิดไดเร็ คชันน่อลจะมีความไวต่อสัญญาณเสียงที่มาจากด้านหน้าและด้านหลังความไวของการ รับสัญญาณจะดีขึ้นเสียงนั้นอยู่ทางด้านหน้าเสียสงที่มุม 50,130,230(และ310 องศาจุถูกลดทอนลง  เดซิเบล  เสียง ณ มุม 60,120,240และ300  องศาจะถูกลดทอนลง  10  เดซิเบล  และที่มุม  90  และ270  องศาไมโครโฟนชนิดนี้จะไม่สามารถตอบสานองได้

                ในขณะที่ไมโครโฟนแบบคาร์ดิออยด์ตอบสนองทิศทางเสียงได้เพียงด้านเดียว  เสียง ณ มุม 180  องศาจะถูกคัดทิ้งจนหมดไม่มีโอกาสจะรับได้  ระบบสัญญาณเสียงทิศทางเดียวอย่างชนิดที่เรียกว่า “ยูนิไดเร็คชันน่อล” ไปแล้ว ซึ่งพบว่าไมโครโฟนแบบนี้แยกออกไปเป็นซุปเปอร์และไฮเปอร์  แพทเทิร์นเชิงมุมของไมโครโฟนแบบนี้จะให้มุมที่แคบ  โดยเน้นทิศทางเสียสงด้านหน้าเป็นประเด็นหลัก  และพยายามกันสัญญาณเสียงด้านริมออกไกความต่างระหว่างซุปเปอร์กับไฮเปอร์ คาร์ดิออยด์ไมโครโฟน  อยู่ที่ไมโครโฟนแบบซุปเปอร์คาร์ดิออยด์สามารถขจัดเสียงริม ๆ  ทั้งสองด้านและเสียงด้านหลังไมให้เข้ามากวนได้เพราะคุณสมบัติของไมโครโฟนแบบ นี้รับสัญญาณทิศทางเดียว  ในขณะที่ชนิดไฮเปอร์คาร์ดิออยด์สามารถขจัดเสียงด้านข้างได้ดีกว่า  แต่ขจัดเสียงที่มาจากด้านหลังได้แย่กว่า

                และเพื่อบีบมุมของการรับสัญญาณให้แคบลง  จึงได้มีการคิดอุลตร้าคาร์ดิออยด์ขึ้นมาดังแสดงทิศทางเพื่อให้เห็นว่ามันมี ทิศทางแคบ  แต่ก็ยังมีเสสียงด้านข้างและด้านหลังลอดเข้าไปได้เล็กน้อยการจะใช้ไมโครโฟน มีทิศทางและเชิงมุมแบบใดย่อมขึ้นอยู่กับงาน   ดังนั้นงานบางอย่างที่ไม่ต้องการเสียงก้องเสียงทิศทางอื่นก็ต้องเลือก ไมโครโฟนที่มีทิศทางเชิงมุมแคบไว้


-ไมโครโฟนแบบมัลติไดเร็คชันน่อล(Multidirectional Microphones)

     ไมโครโฟนที่รับ เสียงเพียงด้านเดียว  มีโครงสร้างที่ใช้ไดอะแฟรมด้านหนึ่งยึดคงที่ไว้  หรือริบบอนก็ได้เมื่อมีการเปลี่ยนไดอะแฟรมเป็นชนิดสวิตช์อะเบิ้ลไดอะแฟรม(Switchable   Diaphragm)หรือระบบที่มีไดอะแฟรม 2 ชุด  ไมโครโฟนดังกล่าวเราเรียกว่าไมโครโฟนแบบมัลติไดเร็คชันน่อลไมโครโฟน(Multidirecitonal  Microphone)

                มัลติไดเร็คชันน่อลจึงเป็นไมโครโฟนที่สามารถใช้สวิตช์เลือกเพื่อให้มัน เปลี่ยนแปลงทิศทางในการรับสัญญาณได้  ซึ่งท่านสามารถเลือกว่าจะให้มันรับแพทเทิร์นเสสียงแบบไหน  ซึ่งที่ตัวไมโครโฟนได้เขียนรูปแพทเทิร์นให้เลือกซิสเต็มไมโครโฟน(System  Microphones)

                อย่างไรก็ดีมีการผลิตไมโครโฟนที่จะเข้ามาทำหน้าที่เหมือนกับไมโครโฟนชนิดมัลติไดเร็คชันน่อล  เรียกว่าซิสเต็มไมโครโฟน(System  Microphone)  โดยซิสเต็มไมโครโฟนเป็นวิธีการเปลี่ยนเฉพาะส่วนหัวของไมโครโฟนซึ่งจะทำเป็น แคปซุลให้เปลี่ยน  เพื่อเลือกพิคอั้พแพทเทิร์นของเสียงโดยจะมีตัวฐานหรือตัวเมาต์เพียงตัวเดียว ก็ได้นับแต่มีการผลิตไมโครโฟนแบบมัลติไดเร็คชันน่อบขึ้นมาโดยพยายามให้มัน ใช้คอนเดนเซอร์เป็นอุปกรณ์หลักโดยมีการบรรจุถ่านเพื่อเป็นภาคจ่ายไฟสำหรับ ระบบปรีแอมปลิฟลาย  ทำเป็นแคปซูลสำเร็จอยู่กับฐานของไมโครโฟน  โดยการขันสกรูที่ฐานออกมา  แบบของไดเร็คชันน่อลแคปซูลที่มีใช้อยู่เช่น-โอมนิ-และไบไดเร็คชันน่อล, คาร์ดิออยด์,ซุปเปอร์คาร์ดิออยด์,ไฮเปอร์คาร์ดิออยด์,และอุลตร้าคาร์ดิ ออยด์  ทั้งหมดนี้ใช้ฐานไมโครโฟนอันเดียวกันหมด


                เมื่อหันมาใช้ไมโครโฟนแบบไดเร็คชันนน่อลหรือซอสเต็มไมโครโฟนต้องไม่ลืมว่า  โดยธรรมชาติมันจะให้ความถี่ตอบสนองต่ำกว่า,ความไวของทิศทางน้อยกว่าในบาง ครั้งไมโครโฟนชนิดนี้จะไม่มีการแสดงกราฟเชิงมุมให้


-ความถี่ตอบสนอง(Frequency Response)

                ในองค์ประกอบที่ประกอบขึ้นมาเป็นไมโครโฟน  อันประกอบด้วยโครงสร้าง,วัสดุที่นำมาใช้งาน,คุณสมบัติทางทิศทางเสียง  เป็นประเด็นสำคัญเพื่อให้เราเลือกใช้ไมโครโฟนให้สอดคล้องกับงานและสอดคล้อง กับเอฟเฟ็คท์ต่าง ๆ  ที่ต้องการ   ไมโครโฟนระดับโปรเฟสชันน่อลทั่วไปจะออกแบบให้ตอบสนองความถี่เสียงด้วยค่า ความแรงเท่ากันทุกความถี่ดังแสดงด้วยกราฟผลตอบสนองความ  ไมโครโฟนแต่ละตัวจะมีสีสันของเสียงแตกต่างกันออกไปมิได้แฟลตตามทฤษฎี  อย่างเช่นไมโครโฟนของยี่ห้ออิเล็กโตร-ว้อยส์  รุ่น RE 15  และรุ่น  RE16  จะให้ค่าตอบสนองความถี่คล้ายคลึงกันในความเหมือนนั้นมีความต่างอยู่  เสียงของรุ่น RE 15  นั้น

ตอบสนองความถี่ได้มากกว่าของรุ่น RE 16  แต่รุ่น RE  16  จะมีเสียงใส-เสียงสว่างกว่ารุ่น Re 15  การที่จะบอกว่าไมโครโฟนตัวใดดีกว่าตัวใดนั้นไม่อาจกล่าวได้

                ในความคล้ายที่มีความต่าง  ในความธรรมดาของไมโครโฟนอยู่ที่ตรงไหน  ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าในความงามเป็นศิลปะย่อมมีสีสันของสุนทรีย์แผงอยู่  การตอบสนองความรู้สึกทางศิลปะให้ดีที่สุดเป็นวิถีทางหนึ่งที่คนเราทุกคนต่าง ค้นหา  การแยกชนิดและโมเดลต่าง ๆ กานออกไป  ทำให้เกิดไมโครโฟนดี ๆ  หลายโมเดลด้วยกัน   เพื่อให้เราสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม  แต่ทุกอย่างมีจุดกำเนิดมาจากหลักการมาตรฐานอันเดียวกันทั้งสิ้น  บางครั้งการเลือกก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมในเสียงแต่ละแบบ,ขึ้นอยู่กับสีสันโทน เสียงของตัวกำเนิดเสียงเพื่อทำให้เสียงที่ออกไปนั้นมีความกลมกลืนกัน , บางครั้งหากใช้ไมโครโฟนผิดประเภทไปอาจจะให้เสียงพร่าเสียงกระแทกก็เป็นได้  ไมโครโฟนแบบหนึ่งอาจจะมีข้อด้อยเทียบกับแบบอื่นได้หลายกรณีก็ได้  ยกตัวอย่างเช่นการยกระดับเสียงหรือบูสต์เสียงของแต่ละต้นแบบเสียงอาจจะไม่ เหมือนกัน  อย่างเช่นทรัมเป็ตซึ่งเป็นแตรเครื่องดนตรี –เครื่อง เป่า  เขาจะพยายามบูสต์เสียงหรือยกระดับเสียงให้มันตอบสนองความถี่ในช่วง  500   ถึง  1000  เฮิร์ตซ์  ซึ่งถือว่าเป็นช่วงที่ให้ความถี่เสียงกลมกลึงที่สุดสำหรับทรัมเป็ต  ในขณะที่เครื่องดนตรีสตริงต้องการบูสต์ความถี่สูงกว่านั้นอาจจะถึงช่วง 4000  หรือ 5000 เฮิร์ตซ์เลยทีเดียว  แน่นอน  การเลือกให้ไมโครโฟนย่อมต่างกันแน่นอน


-ไมโครโฟนตอบสนองความถี่พิเศษ (Special Response Features of Microphones)

ไมโครโฟนที่ให้ค่าพร็อกซมิตี้เอฟเฟ็คท์  และเบสโรลล์-ออฟ คืออะไร

                เราได้ให้ข้อสังเกตอยู่ว่าไมโครโฟนแบบยูนิไดเร็คชันน่อลซึ่งเป็นไมโครโฟนที่ มีทิศทางการรับเสียงทิศทางเดียว  โดยไมโครโฟนชนิดนี้พยายามออกแบบเพื่อกันความถี่เสียงที่มาจากทางด้านข้างและ ด้านหลังตัวไมโครโฟน  อย่างไรก็ดี  การออกแบบไมโครโฟนแบบยูนิไดเร็คชันน่อลนั้นยังมีปัญหาสำคัญประการหนึ่งคือ  ปัญหาของเอฟเฟ็คท์ที่เรียกว่า “พร็อกซิมิตี้เอฟเฟ็คท์”ซึ่ง เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อนำไมโครโฟนตัวนั้น ๆ   เข้าไปใกล้กับแหล่งกำเนิดสัญญาณเสียงมาก ๆ  มีส่วนทำให้เกิดเสียงเบสส่วนเกินเกิดขึ้น  หรือในบางคราวที่เราต้องการให้มันตอบสนองความถี่ต่ำมาก ๆ  ซึ่งอาจจะเป็นเสียงร้องหรือเสียงดนตรีก็ได้  เขาต้องใช้ไมโครโฟนแบบปิดเพื่อมิให้เสียงเบสปกติเข้าไปรบกวนได้  ไมโครโฟนแบบยูนิไดเร็คชันน่อบจึงได้มีระบบ “เบสโรลล์ออฟ”  ซึ่งเป็นระบบปรับแต่งเสียงหรือระบบอีควอไลซิ่ง   ให้กับไมโครโฟนความพึงประสงค์ในการขจัดเสียงก้องวกของเบส  นับเป็นประเด็นทั่วไปที่ไมโครโฟนประเภทต่าง ๆ  พยายามทำให้มันขจัดให้ได้  ทั้งน้เพื่อมิให้เกิดเอฟเฟ็คท์ทางเสียงที่เรียกตามภาษษวิชาการว่าการเกิดพร็ อกซิมิตี้เอฟเฟ็คท์ลักษณะของไมโครโฟนที่มีระบบเบสโรลล์-ออฟมีอยู่หลายรุ่น ด้วยกัง

                อย่างไรก็ดีในงานบางแบบลักษณะของพร็อกซิมิตี้ก็เป็นความจำเป็นอย่างหนึ่ง   อย่างเช่นเมื่อเราพบว่าเสียงกลอง หรือเสียงที่ออกมาจากกีตาร์เบส  มีความบางเบา-หล่นร่วงกว่าเสียงอื่นหรือเสียงเบสที่ออกมาเป็นเสียงที่ออกมา “แข็ง” หากเราใช้เครื่องมือที่ตอบสนองเสียงเบสได้นั่นหมายความเสียงที่ออกมาได้ความ กลมกลืนอย่างแท้จริง  มากกว่าที่จะใช้ไมโครโฟนแบบยูนิไดเร็คชันน่อลมาตรฐานทั่วไป  หรืออาจจะมีการแบ่งไมโครโฟนแบบยูนิไดเร็คชั่นน่อลที่มีลักษณะของการตอบสนอง พร็อกซิมิตี้เอฟเฟ็คท์ โอเว่อร์โหลด(Overload)

                ไมโครโฟนทั่วไปจะเกิดปัญหาความผิดเพี้ยนของสัญญาณ  หากสัญญาณเสียงนั้น ๆ  มีระดับความแรงเกินไป  ลักษณะดังกล่าวเราเรียกเกิดสภาพ “โอเว่อร์โหลด”(Overload)แต่ ไมโครโฟนบางชนิดจะมีคุณภาพทางเสียงกับกรณีดังกล่าวดีกว่าบางแบบ   อย่างเช่นไมโครโฟนแบบมูฟวิ่งคอยส์มีจุดเปลาะบางในกรณีโอเว่อร์โหลดค่อนข้าง ชัดเจน   ทั้งนี้และทั้งนั้นเนื่องจากระบบโครงสร้างของไมโครโฟนชนิดนี้  สัญญาณแรง ๆ  จะอัดเข้าไปก่อให้ระบบภายในของไมโครโฟนถูกทำลายสภาพที่จะเป็นอุปกรณ์ถ่ายทอด เสียง  และเราจะไม่ใช้ไมโครโฟนแบบริบบอนเมื่อเสียงดังกล่าวเป็นเสสียงโอเว่อร์โหลด

                ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอรส์ก็มีปัญหาเหมือน ๆ  กับไมโครโฟนชนิดอื่นที่รับเสียงแล้วทำให้องค์ ประกอบภายในสั่นสะเทือนด้วยความแรง  ทำลายสภาพของอุปกรณ์ถ่ายทอดเสียงลงได้  อย่างไรก็ตามไมโครโฟนแบบนี้บางแบบได้สร้างสวิตช์เลือกซึ่งเราเรียกกันว่า “แพ็ด” เลือกระดับความแรงของสัญญาณก่อนส่งเข้าปรีแอมป์ในกรณีที่เสียงเป็นเสียงที่ มีความแรงมาก ๆ  เข้ามามันจะถูกแพ็ดให้ระดับความแรงของสัญญาณลดความแรงลงการเลือกระดับความ แรงขจะมีการเลือกสัญญาณลดระดับความแรงลงมาเป็นค่าเดซิเบลระดับต่างๆ หากพิจารณาผลตอบสนองความถี่ 

การเลือกแพ็ดธรรมดากับแพ็ดลดระดับความแรงลงมา  10  เดซิเบล


ตัวกรองลม-ป๊อป  ฟิลเตอร์ และวินด์สกรีน (Pop  Fillers and Windscreens)

                ในขณะที่เสียงที่มีความดังแรง ๆ  ทำให้ไมโครโฟนเกิดการถ่ายทอดสัญญาณออกไปผิดเพี้ยน  เมื่อกลับไปมองอีกแง่มุมหนึ่งพบว่า – เสียงเบา ๆ  ก็มีปัญหากับระบบเสียงด้วยเช่นเดียวกัน   หากเสียงนั้นเป็นเสียงเป่าลมเข้าสู่ไมโครโฟน  หรือเป็นเสียงที่เกิดจากลมจากแหล่งต่าง ๆ  ผ่านเข้าไปยังไมโครโฟนซึ่งเสียงดังกล่าวอาจจะมาจากเสียงหายใจรดไมโครโฟน เสียงหอบของนักร้อง – นักพากย์  เสียงลมพัดผ่านเมื่ออยู่ในพื้นที่ใกล้พัดลมหรือใกล้ทะเล  หรือแม้แต่เสียงที่

เกิดจากการเน้นเสียง – เค้นเสียงของนักการเมืองนักพูดก็ทำให้เกิดเสียงดัง”ปุป” ขึ้นได้  เสียงดังกล่าวฝรั่งเรียกว่าเสียงดัง

ปุป”  หรือ “ป๊อป”  หรือเสียง “บลาสต์  ซึ่งคำว่าบลาสต์มีความหมายทั่วไปหมายถึงเสียงเป่าไฟสูบลมให้กับเตาหลอมโลหะนั่นเอง

                เพื่อลดปัญหาหรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว  ไมโครโฟนหลายแบบจึงได้สร้างตัวกรองลมที่เรียกว่าป๊อปฟิลเตอร์หรือบลาสต์  ฟิวเตอร์  ขึ้น  หรือไม่ก็ใส่ตัวกรองที่เป็นวินด์สกรีน  ซึ่งแปลตามตัวก็คือตัวกรองลมเข้าไป

                ตัวกรองลมที่ออกแบบมาเพื่อสวมเข้ากับไมโครโฟนอาจจะทำให้เกิดความผิดเพี้ยน ของสัญญาณเสียงได้หรือไม่ก็ทำให้เสียงที่ออกมามีความบางเบาลง  บางครั้งก็ทำให้มันเสียงเฉพาะความถี่สูงเท่านั้น

                ตัว กรองลมที่เราพบเห็นโดยทั่วไปในไมโครโฟนแบบมูฟวิ่งคอยล์  จะพบเห็นอยู่ในไมโครโฟนแบบยูนิไดเร็คชันน่อลนั้นเพราะโดยหลักความเป็นจริง เราทราบแล้วว่า-ไมโครโฟนแบบนี้จะรับเสียงดังกล่าวได้ง่ายกว่าแบบโอมนิไดเร็ คชันน่อล  โดยระบบการรับทิศทางเสียงตามที่เราทราบมาแล้ว

                ในขณะเดียวกันไมโครโฟนแบบริบบอนหรือคอนเดนเซอร์หากใครใส่ป๊อป  ฟิลเตอร์  เข้าไปในโครงสร้างภายในของไมโครโฟน  จะทำให้เกิดปัญหากับระบบเสียง  ซึ่งหากพูดตามภาษาชาวบ้านก็ต้องบอกว่าไมโครโฟนดังกล่าวกินเสียง  หรือต้องตะเบ็งเสียงจึงจะให้เสียงออกมาดี  โดยปกติแล้วมันจะให้เสียงที่แข็ง  ป๊อป  ฟิลเตอร์ในกรณีที่ไมโครโฟนเป็นแบบริบบอนหรือคอนเดนเซอร์  จึงใช้แบบสวมเข้ากับหัวไมโครโฟน  แต่นั่นทำได้หากเราไม่เข้มงวดกับความถี่ตอบสนองของเสียงที่ต้องลดคุณภาพลง

                แต่มิใช่ว่าไมโครโฟนแบบมูฟวิ่งคอยล์ทุกแบบจะมีป๊อป  ฟิลเตอร์  อยู่ภายใน  เพราะนั่นจะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายแพงขึ้น  ดังนั้นการออกแบบไมโครโฟนโดยทั่วไปของมูฟวิ่งคอยล์จึงแบ่งออกเป็น  แบบคือแบบที่มีป๊อป  ฟิลเตอร์  กับแบบที่ไม่มีป๊อป  ฟิลเตอร์

ไมโครโฟนชนิดพิเศษ(Special-Purpose Microphones)

                ท่าน ทราบหรือไม่ว่าเทคนิคการใช้ไมโครโฟนอาจต้องแปรตามลักษณะของงาน   แม้ว่าลักษณะงานโดยทั่วไปท่านอาจจะใช้ไมโครโฟนอย่างกล่าวไว้ข้างบนแล้ว  สำหรับงานบางลักษณะเช่นโทรทัศน์,งานละคร ที่ต้องใช้ไมโครโฟนเฉพาะงาน  การออกแบบไมโครโฟนชนิดพิเศษจึงเกิดขึ้น

                หากไมโครโฟนดังกล่าวนั้นใช้เพื่อถ่ายทำละครโทรทัศน์  ไมโครโฟนดังกล่าวต้องเป็นไมโครโฟนแบบเหน็บไร้สาย  เพราะหากมีสายเมื่อตัวละครเดินไปมาจะไม่สะดวก  และผิดธรรมชาติที่คนเราจะพกพาไมโครโฟนติดตัวไปในชีวิตประจำวันจริง ๆ  ดูจะตลกไม่น้อยหากในชีวินจริงคนเราต้องพูดลงไปที่ไมโครโฟน  ดังนั้นการถ่ายทำละครโทรทัศน์จึงไม่สามารถใช้ไมโครโฟนธรรมได้

                ในงานแสดงคอนเสิร์ต  บางครั้งนักร้องหรือนักดนตรีน้องการเปลี่ยนโลเกชั่นหรือตำแหน่งการแสดงของ ตนเอง  จากพื้นที่หนนึ่งของเวทีไปอีกพื้นที่หนนึ่งซึ่งอาจจะมีปัญหากับระบบสาย  สายอาจจะต้องใช้ยากเกินไปแต่นั่นไม่เป็นปัญหามากเท่ากับสายไมโครโฟนอาจจะไป สะดุดหรือไปพันเข้ากับเครื่องมืออย่างอื่นได้  ดังนั้นไมโครโฟนแบบไร้สายจึงเข้ามามีบทบาท

                หากเป็นการถ่ายทอดสดรายการที่มีการถ่ายทอดมาจากริมทะเล  แน่นอนเสียงกระแทกของสายลมต้องเกิดขึ้น  จะทำอย่างไรกับระบบเสียง  เพราะแม้คุณใช้เครื่องมือปรุงแต่งเสียงแล้วก็ไม่อาจจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้

                ดังนั้นไมโครโฟนชนิดพิเศษจึงถูกสร้างขึ้นด้วยเหตุผลต่าง ๆๆ ดังที่กล่าวมา

ไมโครโฟนที่มีผลต่อระบบภาพหรือมุมมอง(Microphones In The Picture)

                ทำอย่างไรภาพของไมโครโฟนจึงจะออกมาแล้วดูดี  ไม่ขัดสายตาโดยเฉพาะในงานแพร่ภาพทางโทรทัศน์หรือทำอย่างไรจึงจะหลบมุมให้กับ ไมโครโฟน   และประเด็นสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ผู้ร่วมรายการสามารถผันอิริยาบถได้ ธรรมชาติมากที่สุด

                ประการต่อมาเมื่อเราสามารถสร้างมุมต่าง ๆ  ได้ลงตัวแล้ว  แต่ความถี่ตอบสนองของไมโครโฟนนั้นออกมาได้คุณภาพหรือไม่คือประเด็นที่ต้อง กล่าวถึงกัน  ในงานโชว์ทั่วไปจึงพยายามเน้นไปที่ใบหน้าของคนมากกว่าส่วนอื่น  เพราะนั่นหมายความว่าเราอาจจะใช้ไมโครโฟนแบบชอร์ตกัน  ยาว ๆ  หย่อนลงไปจากด้านบน  ซึ่งไมโครโฟนดังกล่าวมีลักษณะทางทิศทางเป็นแบบไดเร็คชันน่อลและประการ สุดท้ายไมโครโฟนสำหรับงานโทรทัศน์ต้องประกอบด้วยลักษณะ  อย่างคือ

                1.  ลักษณะของระบบข้อมูลเสียง ต้องสามารถให้ความถี่ตอบสนองเป็นธรรมชาติชัดเจนแจ่มใส

                2.  ลักษณะของมุมมอง ทำอย่างไรจะให้ภาพออกมาน่าดู

                ไมโครโฟนที่ใช้ในงานโทรทัศน์โดยหลักการพื้นฐานคือไมโครโฟนแบบลาวาเลียร์ซึ่ง พบว่าไมโครโฟนแบบนี้มีขนาดเล็กสามารถซ่อนไว้  ณ ที่หนึ่งที่ใดได้ง่าย  นั่นหมายถึงมุมมองที่เกิดขึ้นเหมือนกับไม่มีไมโครโฟนร่วมรายการอยู่หรืออาจ จะใช้ขนาดเล็กลงไปอีกซึ่งเป็นชนิดใช้ติดกับเน็คไทหรือบางทีอาจจะเรียกชนิด ติดสาบเสื้อ

                ไมโครโฟนแบบลาวาเลียร์มีลักษณะเฉพาะของมันอยู่  ประการคือ  1)  เป็นไมโครโฟนแบบโอมนิไดเร็ตชันน่อล  และ  2)  มีการออกแบบให้บูสต์ความถี่สูงได้มากกว่าความถี่ต่ำ

                ทำไมที่ต้องสร้างให้ลาวาเลียร์ไมโครโฟนมีลักษณะเฉพาะอย่างนั้น  เพราะว่าคนพูดเองไม่ได้พูดตรง ๆ  ไปยังไมโครโฟน  แต่การพูดโดยทั่วไปพูดข้ามไปเหนือไมโครโฟน  จึงเป็นการถูกต้องหากโรงงานจะออกแบบทิศทางการรับเสียงของลาวาเลียร์ให้เป็น ชนิดโอมนิไดเร็คชันน่อล  การวางตำแหน่งของไมโครโฟนที่อยู่ตรงหน้าอกทำให้ผลตอบสนองออกมาเป็นผลตอบสนอง แบบยูนิไดเร็คชันน่อล  ระดับเสียงที่เลยคางลงไปจะมีการตัดเอาความถี่สูงทิ้งไป  หรือให้ผลของความถี่สูงลดลง  จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ไมโครโฟนดังกล่าวาต้องออกแบบให้ตอบสนองความถี่สูงมาก ขึ้น  พิจารณาผลของการสูญเสียความถี่แล้วไมโครโฟนแบบลาวาเลียร์จึงได้ออกแบบให้มี ความถี่ตอบสนองหากไมโครโฟนแบบลาวาเลียร์วางอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของคนพูด  การตอบสนองความถี่จะให้ความถี่สูงดีมากทีเดียว  แต่สิ่งที่ตามมาคือเสียงซี๊ด  ดังนั้นหากมีการนำเอาไมโครโฟนแบบลาวาเลียร์ไปใช้รับเสียงในแนวตรงกับปากคน พูด   จึงต้องให้ตัวกรองลม  ด้วยปัญหาของความไวของไมโครโฟนต่อความถี่สูงขนาดเล็กจึงพบว่าไมโครโฟนแบบลา วาเลียร์จึงได้ใช้ตัวกรองลมเป็นแบบวินด์สกรีนไมโครโฟนแบบลาวา เลียร์ที่พบเห็นโดยทั่วไปมีอยู่  ชนิดคือ  ชนิดมูฟวิ่งคอยด์  และชนิดอิเล็กเตรตคอนเดนเซอร์    โดยทั่วไปชนิดอิเล็กเตรตมีขนาดเล็กกว่าและมีการตอบสนองความถี่ได้ดีกว่า  แต่มันมีราคาแพงกว่าส่วนความทนทานก็น้อยกว่าแบบมูฟวิ่งคอยล์ด้วย


ไมโครโฟนที่ไม่มีผลต่อภาพหรือมุมมอง(Microphones Out  of  The Picture)

                ไมโครโฟนที่เราเสนอไว้ในหัวข้อก่อนเป็นไมโครโฟนที่แสดงตนออกมากับสัญญาณ ภาพ   เพียงแต่เราหาทางหลบซ่อนทำให้มันดูดีขึ้น  มีไมโครโฟนอีกแบบหนึ่งเราไม่ต้องการให้มันโชว์ออกมากับระบบภาพ  เพียงแต่เราหาทางหลบซ่อนทำให้มันดูดีขึ้น  มีไมโครโฟนอีกแบบหนึ่งเราไม่ต้องการให้มันโชว์ออกมากับระบบภาพ  ไมโครโฟนที่แอบซ่อนไว้ตามแจกันดอกไม้  ไมโครโฟนที่แอบซ่อนไว้กับหลอดไฟโคมไฟ  ไมโครโฟนที่แอบซุกไว้ในเสื้อผ้าของคนแสดง  และอื่น ๆ  อีก

ตามสถานการณ์ที่เป็นไป  โดยให้ไมโครโฟนนั้นสามารถรับสัญญาณเสียงได้ในทุกระยะที่ผู่ร่วมรายการหรือผู้แสดงเคลื่อนไหว

ไมโครโฟนแบบช็อตกัน(Shotgun  Microphones)

                ไมโครโฟนแบบช็อตกัน(shotgun Microphones)เป็นไมโครโฟนที่เขาจะติดตั้งไว้กับขายึดไมโครโฟนแบบบูม(Boom)  โดย หลักการของไมโครโฟนแบบนี้มันจะคัดทิ้งเสียงที่ไม่ต้องการออกไป   ด้วยมุมของการรับเสียงที่แคบและรับเสียงจากด้านหน้าอย่างเดียว   ในทางปฏิบัติไมโครโฟนแบบนี้จะมีลักษณะเป็นแขนยื่นต่อออกไปซึ่งมีทั้งชนิดโอม นิไดเร็คชันน่อล,ไบไดเร็คชันน่อลและคาร์ดิออยด์  ทิศทางของการรับเสสียงจะต้องให้สัญญาณเป้าหมายได้ดีที่สุด  โดยไม่มีสัญญาณเงาที่เรียกว่าเสียงจากพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ของ  “แอมเบียนซ์” เข้าไปรบกวน   อันจะสามารถตัดเสียงลากเท้าของกล้องถ่าย  เสียงจากผู้ชมหรือผู้ร่วมงาน 

                ข้อพึงสังเกตอีกประการหนึ่งก็คือปัญหาที่เกิดจากระบบก้านหรือแขนของซ็อตกัน เอง  เพราะโครงสร้างดังกล่าวจะมีผลต่อความถี่ต่ำที่มีความยาวคลื่นมากกว่าตัวก้าน ส่ง  ทำให้เกิดสัญญาณรบกวน ซึ่งเกิดจากกระบอกของแขนส่งหรือก้านส่งของมันเอง

                ยกตัวอย่างเช่นไมโครโฟนแบบช็อตกันที่มีความยาวของก้านส่ง  ฟุต   มันจะมีปัญหากับความถี่ประมาณ   300  เฮิร์ตซ์  หรือสูงกว่านั้น  ด้วยความยาวดังกล่าวไปสอดคล้องกับความยาวคลื่นของเสียงที่มีความยาว  ฟุตหรือต่ำกว่านั้น   ในส่วนของความถี่  300  เฮิร์ตหรือความถี่ซึ่งเป็นความถี่ต่ำลงมานั้นจะทำให้ระบบของการรับด้วย คุณภาพด้วยการกวนของความถี่  ซึ่งเราจะเรียกเสียสง “มัดดี้”  ซึ่งคำว่ามัดดี้นั้นแปลว่าโคลนหรือตะกอนเสียงนั่นเอง  คนที่เป็นนักนิยมฟังเสียงจะบอกว่าเป็นเสียงเบสที่รกหู  ดังนั้นไมโครโฟนชนิดนี้หากต้องการแก้ปัญหาต้องออกแบบให้เป็นระบบ”เบส โรลล์



ออฟ”(Bass Roll-Off)

ไมโครโฟนแบบจานโค้ง  (Parabolic Microphones)


                ไมโครโฟนที่ใช้เป็นไมโครโฟนรับเสียงสระยะไกลอีกแบบหนึ่งก็คือไมโครโฟนแบบจานโค้ง  หรือพาราโบลิคไมโครโฟน(Paraabolic  Micrkophones) ไมโครโฟนแบบนี้เป็นไมโครโฟนชนิดโอมนิไดเร็คชันน่อลที่มีคุณสมบัติในการรับ เสียงด้านหน้าได้ดีที่สุด  ผนวกเข้ากับระบบสะท้อนของจานโค้งซึ่งมีเค้าโครงเดียวกับจานพาราโบล่าร์ของ ไมโครเวฟ  ระบบดังกล่าวนี้สามารถคัดทิ้งสัญญาณในส่วนที่ไม่ต้องการออกไปอย่างได้ผลมาก  เพื่อนำเอาเสียงในทิศทาง

เป้าหมายเข้าสู่ ไมโครโฟนแบบช็อตกัน-ไมโครโฟนแบบนี้จะให้ผลตอบสนองความถี่ต่ำได้เลวลงหากว่า ความยาวคลื่นของเสียงนั้นมีความยาวคลื่นมากกว่าระยะของเส้นผ่าศูนย์กลางของ จานโค้ง

ไมโครโฟนไร้สาย(Wireless Microphone System)

                หากระยะของคนพูดกับกล้องถ่ายไกลจนเกินไป   นั่นหมายความว่ากรณีดังกล่าวจะเป็นปัญหาสำหรับไมโครโฟนช็อตกันหรือพาราโบ ลิค  ไมโครโฟนไร้สายหรือไวร์เลสไมโครโฟนจึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบัน  รวมไปถึงกรณีที่เรานำเอาไปใช้สำหรับเวทีดนตรีไนกรณีที่นักร้องหรือนักดนตรี ต้องการเปลี่ยนพื้นที่ของการแสดงจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง   เพียงแต่ระบบไวร์เลสไมโครโฟนในบ้านเราบางครั้งก็ใช้กันฟุ่มเฟือยโดยไม่ จำเป็นอย่างเช่นสถานบันเทิงเล็ก ๆ  ที่นักร้องไม่ต้องเดินเหินไปไหน  ก็ยังมีการนำเอาไมโครโฟนไร้สายมาใช้

                ในทางกลับกันนักร้องดังระดับซุปเปอร์สตาร์ของโลกจะไม่นิยมใช้ไมโครโฟนแบบไร้ สาย  หากไม่มีความจำเป็นต้องกระโดดโลดเต้นทั่วเวที  การเต้นตามจังหวะเพลงกับไมโครโฟนระบบสายให้ความพลิ้วไหวได้น่าดูกว่าและเป็น สิ่งพิสูจน์ความช่ำชองได้ดีกว่าไมโครโฟนไร้สายอาจจะมีลักษณะโครงสร้างเล็ก ๆ  หรือบางแบบก็มีโครงสร้างแบบมาตรฐานของไมโครโฟนทั่วไป  บางแบบก็เป็นชนิดลาวาเลียร์   แต่สิ่งหนึ่งที่ไมโครโฟนแบบนี้ต้องมีก็คือแบตเตอรี่ภายใน  เพื่อจะจ่ายไฟให้กับเครื่องส่งภายในตัวไมโครโฟน  ดังนั้นไมโครโฟนไร้สายจึงถือว่ามันคือเครื่องส่งเครื่องหนึ่ง  ที่ทำการส่งคลื่นวิทยุระบบเอฟเอ็ม. ด้วยความถี่เป็นเมกะเฮิร์ตซ์  ซึ่งปกติแล้วไวร์เลสไมโครโฟนหรือไมโครโฟนไร้สายจะส่งได้ไกลหลายเมตรที เดียว   ไมโครโฟนไร้สายที่ดีต้องป้องกันสัญญาณรบกวน  ต่าง ๆ  ได้เป็นอย่างดีจะถือว่าดี  และต้องให้เสียงแหลมที่ชัดเจน  ทั้งนี้เพราะการผสมสัญญาณในระบบเอฟเอ็ม. จะมีปัญหาตรงที่เสียงแหลมออกมาไม่มีความกลมกลึงเท่าที่ควร  ซึ่งช่างเครื่องเสียงทั่วไปจะบอกว่าเสียง “ทู่”

ไมโครโฟนหูฟัง(Headset Microphones)


                ไมโครโฟนแบบนี้จะมีระบบการรับส่งเพื่อให้เกิดระบบติดต่อแบบเดียวกับระบบ อินเตอร์คอม    สามารถติดต่อกันได้ระหว่าง  ฝ่ายด้วยกัน  ไมโครโฟนแบบนี้จะใช้เพื่อการจัดทำรายการกีฬาที่ถ่ายทอดสด  อย่างเช่นในกีฬาโอลิมปิคที่มีการแข่งขันซ้อนๆ กันหลายรายการ  เมื่อรายการหนึ่งน่าสนใจการตัดภาพและเสียงจะตัดทันทีไมโครโฟนดังกล่าวจะ ทำให้การสื่อสารติดต่อระหว่างห้องควบคุมกับผู้ดำเนินรายการต่อเนื่องกันได้

                ไมโครโฟนที่เลือกใช้กับระบบนี้เป็นไมโครโฟนมูฟวิ่งคอยล์ ที่มีตัวกรองลม-ป๊อป ฟิลเตอร์  อยู่ภายในพร้อมทั้งติดตั้งระบบหูฟังเพื่อติดต่อกับห้องควบคุมรายการ  ไมโครโฟนที่ใช้มีทิศทางเสียงเป็นชนิดยูนิไดเร็คชันน่อล  เพื่อเก็บเสียงแบ็คกราวด์รอบข้างให้น้อยที่สุด  เพราะในขณะที่ผู้บรรยายกำลังบรรยายกีฬาอยู่นั้นอาจจะมีเสียงเชียร์ดังกลบจน อื้อไปหมด  อย่างเช่นรายการมวยเป็นต้น  หารรายการนั้นจะต้องการเสียงแบ็คกราวด์จะเอาไมโครโฟนอีกตัวไปรับเสียง  เช่นเสียงเชียร์หรือเสียงนักมวยต่อยกันแรง ๆ  เราก็จะมีไมโครโฟนรับโดยตรง  โดยผู้ความคุมเสียงจะเป็นคนควบคุมระบบเสียงให้  หากเสียงนั้นอื้ออึงอยู่แล้วก็ต้องตัดเสียงภายนอกออกไป

                หากไมโครโฟนแบบนี้ใช้ชนิดโอมนิไดเร็คชันน่อลก็สามารถทำได้หากจะเอาเสสียง หรือสีสันบรรยากาศภายนอกซึ่งเป็นแบ็คกราวด์เข้าไปด้วย  นั่นคือต้องเลือกใช้ไมโครโฟนให้ถูกต้องตรงกับงาน

                ระบบหูฟังจะแยกข้างออกจากกันโดยเด็ดขาด  โดยเสียงที่กำลังออกอากาศอยู่จะรับฟังได้จากหูฟังข้างหนึ่ง  ซึ่งหมายถึงหูฟังทำหน้าที่เป็นมอนิเตอร์ให้คนพูด  อีกข้างหนึ่งเป็นเสียงที่มาจากระบบการติดต่อของผู้กำกับรายการ  หรือบางแบบจะมีการออกแบบให้พิธีกรสามารถตัดเสียงตนเองได้ในกรณีที่ต้องการ ตัดเสสียงทิ้งหรือยังไม่ต้องการให้เสียงรบกวนออกไปก่อนที่จะเริ่มต้นพูด

ไมโครโฟน-คอนแท็คต์(Contact Microphones)

                คอนแท็คต์ไมโครโฟนเป็นไมโครโฟนที่ให้เสียงกลางซึ่งไม่ได้รับสัญญาณเสียงที่ ผ่านแรงอัดอากาศเข้ามา  แต่มันรับสัญญาณมาจากแรงสั่งของโมเลกุลของเนื้อสารที่มันเข้าไปรับ  ไมโครโฟนแบบนี้จึงนิยมใช้กับเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายอย่างเช่น กีต้าร์,เปียโน,ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประเภทนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่า “อะคูสติค” มันรับสัญญาณตรงจากการสั่นของวัสดุเนื้อแข็งได้ดีกว่าการสั่นของแรงอัดอากาศ แต่อย่างไรก็ดีบางครั้งหากเสียงที่ออกไปแล้วมีผลย้อนกลับมาทำให้เนื้อวัสดุ สั่นก็จะทำให้เกิดปัญหาทางเสียงด้วยเช่นเดียวกัน  ดังนั้นไมโครโฟนแบบคอนแท็คต์จึงออกแบบมาเฉพาะเครื่องดนตรีแต่ละประเภท ๆ ไป


พีแซทเอ็มไมโครโฟน(PZM Microphones)

                ไมโครโฟนโดยทั่วไปจะใช้เพื่อรับสัญญาณเสียงที่มาจากทางตรงและทางสะท้อนเป็น สัดส่วนซึ่งกันและกันทั้งนี้และทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับทิศทางเสียงเป็น หลัก  แต่เมื่อพิจารณาถึงไมโครโฟนแบบพีแซทเอ็ม  หรือเพรสเซอร์โซนไมโครโฟน  แล้วจะพบว่าการออกแบบไมโครโฟนออกแบบด้วยค่าเวลาที่แตกต่างกับออกไปของเสียง เสียงที่รับได้นั้นจะเป็นเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่มาจากแหล่งกำเนิดเสียง โดยตรง  หรือเฟสตรง  มันจะรับสัญญาณเสียงแล้วเพิ่มความแรงขึ้น

                โดยที่ไม่ทำให้แอมปลิจูดของเสียงเกิดความผิดเพี้ยนแต่อย่างใด  องค์ประกอบของพีแซทเอ็มประกอบด้วยตัวถ่ายทอดสัญญาณที่ติดตั้งอยู่บนก้าน เหล็ก  โดยทิศทางเสียงจะเป็นทิศทางครึ่งวงกลมและตอบสนองความถี่ได้กว้าง

                คำว่า PZM  เป็น เครื่องหมายทางการค้าของบริษัทคราวน์อิเตอร์เนชั่นแนล  อินคอร์เปอเรชั่น  แต่คนทั่วไปเมื่อพบเห็นไมโครโฟนแบบนี้ต่างเรียกว่าพีแซทเอ็นจนติดปาก




สเตอริโอไมโครโฟน และ ควอดไมโครโฟน (Stereo and Quad Microphones)

ไมโครโฟน ที่เป็นสเตอริโอโฟนิค  กับไมโครโฟนที่เป็นควอดริโฟนิค  เป็นการนำเอาไมโครโฟนมาบรรจุลงไนแคปซูลเดียวกัน  โดยตัวไมโครโฟนแต่ละตัวแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดด้วยระบบวงจรทางไฟฟ้า  สเตอริโอไมโครโฟนประกอบด้วยไมโครโฟน  ตัว  ตัวแรกเป็นไมโครโฟนติดตั้งคงที่ซึ่งติดไว้ด้านล่าง  ส่วนไมโครโฟนอีกตัวหนึ่งติดตั้งไว้ด้านบนเหนืออีกตัวหนึ่ง  เราจะสร้างให้มันหมุนได้  270  องศา  เพื่อให้รับแพทเทิร์นเสียงที่ต่างกันออกไป  โดยทั่วไประบบสเตอริโอจะควบคุมด้วยระบบรีโมทคอลโทรล

                ควอดไมโครโฟนประกอบด้วยไมโครโฟน  ตัวไนแคปซูลเดียวกัน  โดยแยกอยู่กันเป็นคู่ ๆ  โดยคู่แรกติดตั้งไว้ด้านบนของแคปซูล  เป็นคู่ที่สามารถหมุนได้และเก็บเสียงจากด้านหน้าขวาและด้านหลังซ้าย  ส่วนคู่กลางจะรับสัญญาณจากทางด้านหน้าซ้ายและหลังขวา  ไมโครโฟนแบบนี้จะใช้ระบบควบคุมชนิดพิเศษในการทำจุดโคออดิเนตของพิคอั้พ แพทเทิร์น 


ไมโครโฟนระบบซาวด์ฟิวล์หรือไมโครโฟนสนาม(Sound  Field  Microphone  System)

                บาง ครั้งหากต้องการรับสัญญาณเสียงรอบทิศทางเราอาจจะต้องใช้ไมโครโฟนสนามหรือ ซาวด์ฟิลด์ไมโครโฟน ไมโครโฟนดังกล่าวจะถูกแยกเอาต์พุตออกเป็น  เอาต์พุตส่งผลของสัญญาณเข้าสู่หน่วยควบคุม  ไมโครโฟนที่ใช้อาจจะเป็นไมโครโฟนแบบมอนิวรอลโอมนิไดเร็คชันน่อล,ไบไดเร็ คชันน่อล,คาร์ดิออยด์และไฮเปอร์คาร์ดิออยด์  จะเป็นไมโครโฟนแบบสเตอริโอหรือแบบควอดก็ได้แนวคิดของการนำเอาระบบนี้มาใช้ก็ คือเพื่อรับเสียงอะคูสติครอบ ๆ 

เรื่องที่คุณควรเลิกทำระหว่างการใช้ไมโครโฟน

              1. หากคุณทดสอบไมโครโฟนด้วยการบรรจงเคาะลงที่หัวไมค์สัก 2-3 ทีเพื่อความมั่นใจว่ามันใช้งานได้ จงเลิกซะ เพราะการกระทำเช่นนั้นถือเป็นการผิดมารยาทมากสำหรับการเป็นนักร้อง เพราะมันอาจจะทำให้ตัวรับสัญญานเสียงของไมโครโฟนเสียได้ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดเสียงดัง "ปุ๊กๆๆๆ" เป็นที่น่ารำคาญแก่ผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะคนที่อยู่ใกล้ๆเครื่องขยายเสียง

                2. หากคุณถือไมโครโฟนอยู่ใกล้หรือไกลปากจนเกินไป จงเปลี่ยนซะ คุณควรถือไมโครโฟนโดยให้ระยะห่างจากปากประมาณ 2-3 นิ้วมือ เพราะนั่นคือระยะที่ไมโครโฟนที่มีคุณภาพปานกลางขึ้นไป จะสามารถรับเสียงได้ดีที่สุด ให้เสียงที่ดังพอประมาณ ได้เนื้อเสียงที่ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด หากถือไมค์ใกล้ปากจนเกินไป อาจทำให้เสียงที่ได้ออกมามีลักษณะทุ้มและดังจนเกินไป อีกทั้งน้ำลายของคุณที่กระเด็นออกไปแปะที่ไมโครโฟน อาจทำให้เกิดความชื้นและเกิดเชื้อราที่ฟองน้ำที่ถูกบุอยู่ภายในหัวไมโครโฟน ทำให้ไมโครโฟนเสียได้ง่าย หรือถ้าไม่เสียคนที่ร้องต่อจากคุณคงเหม็นน่าดู หากถือไมค์ไกลปากจนเกินไปอาจทำให้เสียงที่ได้เบาและบางจนเกิดเหตุ

                3. หากคุณถือไมโครโฟนแล้วยกท่อนล่างของมันขึ้นมาสูงๆ จงลดมันลงมาให้อยู่ในระดับเฉียงลงประมาณ 45 องศา เพราะคุณรู้มั๊ยว่าการยกท่องล่างของไมโครโฟนขึ้นมาสูงๆ นอกจากมันจะไม่เท่ห์แล้ว มันยังบังหน้าตาอันสวยงาม หรือหล่อเหลาของคุณอีกด้วย คงไม่มีใครอยากฟังเสียงอันไพเราะของคุณไป มองไมโครโฟนไปเป็นแน่

                4. หากคุณเป็นคนที่ชอบดึงสายไมโครโฟนมาพันๆๆๆๆๆ แล้วก็พันไว้ที่มือของคุณเมื่อยามคุณเขินล่ะก็ จงปล่อยสายซะ เพราะเมื่อเวลาที่คุณยืนอยู่บนเวทีนั้น สายตาทุกคู่กำลังจ้องมองคุณอย่างสนใจ หูของเค้ากำลังรอฟังเสียงอันไพเราะจากคุณ แต่ถ้าเผอิญเค้าเหลือบไปเห็นมือของคุณอีกข้างหนึ่งที่ไม่ได้ถือไมค์ กำลังหยิบสายไมโครโฟนมาพันเล่นอย่างสนุกสนาน ขยำๆๆๆ แล้วก็พันๆๆๆ คุณลองคิดดูสิว่า หลังจากนั้นสายตาทุกคู่จะมองไปที่ไหน..... หากคุณรู้ตัวว่าสาเหตุที่คุณทำเช่นนั้น เป็นเพราะคุณเขินจนไม่รู้จะทำอะไรกับมือข้างที่เหลือนั้น จงปล่อยมันไว้นิ่งๆ รอจังหวะคำร้องที่สามารถสื่อความหมายด้วยภาษาร่างกายได้ แล้วจงทำซะ เช่น ยื่นมือ-ผายมือออกไป เมื่อร้องคำว่า "เธอดึงมือกลับมาทำท่ากำไว้ที่หน้าอกเมื่อร้องคำว่า "หัวใจ" ฯลฯ สารพัดวิธีที่คุณจะใช้มัน หลังจากที่คุณทำท่าทางตามนั้นแล้ว มันยังมีประโยชน์ตามมาอีกมากมาย เช่น คุณสามารถสื่อความหมายของบทเพลงได้เพิ่มอีก ทาง ด้วยภาษาร่างกายลดความประหม่า ฯลฯ จากนั้นเมื่อคุณจะเดินไปยังจุดต่างๆบนเวทีคุณสามารถใช้มือจับที่สายไมค์แล้วรูดมันไปอย่างช้าๆ นิ่มนวลที่สุด แล้วจับมันหลบไปให้พ้นทางเดินของคุณ เพียงเท่านี้ คุณก็สามารถที่จะเดินได้อย่างสง่าผ่าเผย มือของคุณจะไม่ว่างพอที่จะพันสายไมโครโฟนเล่นอีกต่อไป


เทคนิคการใช้ไมโครโฟน (Microphone)
     
ไมโครโฟน ( Microphone) เป็นส่วนประกอบสำคัญของระบบขยายเสียงทำหน้าที่รับเสียงหรือรับสัญญาณเข้า (Input Signal) โดยการเปลี่ยนเคลื่นเสียงที่รับให้เป็นคลื่นกระแสไฟฟ้าความถี่เสียง (Audio Frequency current) แล้วส่งผ่านไปทางไมโครโฟนเข้าสู่เครื่องขยายเสียง (Amplifier) เพื่อเพิ่มกำลังแรงให้สามารถขับดันลำโพง (Speaker) ให้เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าความถี่เสียงกลับออกมาเป็นคลื่นเสียงที่มีกำลังขยายเสียงดังขึ้นกว่าเดิม

การใช้ไมโครโฟน
              1. 
ระยะห่างในการพูดไมโครโฟน ระยะห่างการพูดไมโครโฟนจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติความไวต่อการรับเสียงของไมโครโฟนแต่ละตัวเป็นหลัก แต่โดยทั่วไปแล้วผู้พูดควรพูดห่างจากไมโครโฟนโดยเฉลี่ยประมาณ 6-12 นิ้ว ถ้าผู้พูดใกล้หรือไกลกว่านี้ อาจจะทำให้เสียงที่ออกมามีคุณภาพไม่ดี เช่น อาจทำให้เกิดเสียง "ฮัม" เสียงลมหายใจและเสียงลมฝีปากรบกวน

                 2. ควรมีการป้องกันเสียงลมจากบรรยากาศรอบข้าง เสียงลมหายใจจากผู้พูดรบกวน โดยการใช้ฟองน้ำสวมครอบที่หัวของไมโครโฟน
     3. 
ในการทดสอบเสียงของไมโครโฟน ควรพูดห่างจากเสียงไมโครโฟนระยะที่เหมาะสมโดยพูดคำว่า "สวัสดี ทดสอบ" (ตรงกับคำว่า"ฮัลโหล เทส") แล้วนับ ถึง ลงท้ายด้วย ทำติดต่อกันไปอย่างช้า ๆ ช่วงละประมาณ 10 วินาที แล้วขึ้นต้นใหม่ ทำติดต่อกัน ครั้ง เพื่อให้ผู้ควบคุมเสียงปรับระดับความดังและน้ำเสียงให้เหมาะสมกับสภาพห้องและความต้องการที่เหมาะสมกับงาน


ข้อควรระวังในการใช้ไมโครโฟน
                1. 
อย่าเคาะ อย่าเป่า ไมโครโฟน เพื่อทดสอบการทำงานของไมโครโฟนเป็นอันขาดเพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ไมโครโฟนได้ง่าย
                 2. 
อย่าให้ไมโครโฟนได้รับความกระทบกระเทือน หรือแตกหล่นเป็นอันขาด เช่น กระแทกกับโต๊ะแรงๆ ตกลงบนพื้นห้อง เพราะจะทำให้เกิดการเสียหายซึ่งจะทำการซ่อมแซมได้ยาก จึงควรระมัดระวังในการติดตั้งการวาง และการให้สัมผัสไมโครโฟนด้วยความนุ่มนวล
              3. 
อย่าหันส่วนหน้าของไมโครโฟนเข้าหาลำโพง หรืออยู่ใกล้ลำโพงเกินไปหรืออยู่ใกล้ผนังที่มีการสะท้อนเสียงอยู่มาก ๆ หรือเร่งระดับเสียงของไมโครโฟนที่เครื่องขยายเสียง (Microphone Volume) ให้ดังเกินไป เพราะการกระทำเหล่านี้ จะเป็นสาเหตุให้เกิดเสียงหวีดแหลมคล้ายเสียงหอนดังออกจากลำโพง
     
การแก้ไขในกรณีเสียงหอนดัง (Feedback) ให้หันด้านรับเสียงของไมโครโฟนหลบคลื่นเสียงที่สะท้อนหรือย้อนกลับมา ถ้ายังไม่หายให้ปิดสวิทซ์ที่ไมโครโฟนแล้วลดระดับของไมโครโฟนลงแล้วเปิดทดสอบเสียงใหม่ค่อย ๆ เร่งเสียงให้ดังขึ้นมา จนถึงระดับที่ต้องการก็จะสามารถแก้ไขเสียงลำโพงหอนได้





อ้างอิง


http://www.jazlerthailand.com/articledetail.asp?id=3391
http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-en-lexitron/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99
https://foam2540.wordpress.com/2013/05/30/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B9%8C-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99-microphones%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%9F%E0%B8%99/


 ผู้รวบรวมข้อมูล
นาย สรายุทธ ปิ่นทอง
นาย สิทธิพล เพ็ชรแอ
นาย วิชยา พูลสวัสดิ์
นาย กฤษฎารัฐ ฟังทอง                                                                                                      

1 ความคิดเห็น:

  1. Blackjack Casino Review | Online Games - DrmCD
    Play blackjack and 안양 출장샵 casino games for real money. 광명 출장안마 Get access to exclusive bonuses, promotions and games. Get access to exclusive bonuses, Bonus: Deposit $10, win real money, 대구광역 출장마사지 first Deposit: 삼척 출장샵 100% up 춘천 출장샵 to $1,000

    ตอบลบ