ระบบเสียงกลางแจ้ง

ระบบเสียงกลางแจ้ง

ระบบเสียงมีอะไรบ้าง
1. ต้องมีความเข้าใจ เป้าหมายว่าต้องการระบบแบบไหน งานสนามเครื่อง PA ( out door) หรืองานในร่ม ( In door) และลักษณะงานว่าเป้นงานที่ต้องการบุคลิค คุณภาพเสียงแบบไหน หนักแน่น แรง โฉ่งฉ่าง เร้าใจ  ( งานเทคกลางดิน ดิ้นกลางแปลง) หรืองานนุ่มนวล หวาน คมชัด สดใส ( งานโชว์เสียงร้อง +ดนตรี งานประกวดร้องเพลง งานผู้ดี ผู้ใหญ่) เพื่อเลือกมิกเซอร์ ตู้ลำโพงและอุปกรณอื่นๆได้ถูกต้อง
2. ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการในการใช้งาน ปรับ ตั้งค่าอุปกรณ์ต่างๆได้อย่างถูกต้อง เช่นการใช้การปรับมิกเซอร์ -EQ - Cross -FX -Compressor
3. ต้องมีความรู้ในเรื่องการปรับระบบหน้า PA ให้ระบบ +เสียง สมดุลย์ ลงตัวกันทั้ง Mixer - EQ - Cross -FX - poweramp - compressor (ถ้ามี) - ตู้ลำโพง  และการทำ Soundcheck หน้างานของแต่ละงาน
4 ต้องรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์ทุกชิ้นให้ถูกต้องการลักษณะงาน เพราะอุปกรณ์บางชิ้นจะออกแบบมาให้มีคุณสมบัติ โทนเสียง บุคลิคเสียงเหมะกับงานไม่เหมือนกัน เช่นมิกเซอร์ sound craft บางรุ่นทำมาสำหรับงานเล็กๆ ( In door) บางรุ่นทำมาสำหรับงานสนามใหญ่ๆ ( Out door)
5 ต้องเลือกพาวเวอร์แอมป์ที่ให้โทนเสียง บุคลิคเสียงให้เหมาะที่จะใช้มาขับ ถ่ายทอดเสียงทั้ง Low Mid hight เพราะพาวเวอร์แอมป์ยี่ห้อ รุ่น ต่างๆจะเหมาะกับการใช้ขับเสียงหนึ่งเสียงใดเท่านั้น มีน้อยยี่ห้อรุ่นมากที่สามารถใช้ขับเสียงทั้ง ow mid Hight ได้ดีทั้งหมด
6. ต้องยึดหลักการ หลักวิชาการ ศาสตร์ของระบบเสียง ศาสตร์ของระบบที่ถูกต้อง อย่าเล่นมั่วแบบเครื่องเสียงชาวบ้าน เช่น พาวเวอร์แอมป์เขาออกแบบมาให้ใช้ได้ 4 โอห์ม ลำโพงต่อขนานข้างละ 2 ตู้ หรือ 2 ดอก ก็ไปเล่นกันแบบลูกทุ่ง ชาวบ้านต่อขนาน+อนุกรมข้างละ 3 ตู้ เพราะต้องการให้ตู้มากๆ ดูอลังการณ์ คิดว่าเสียงจะดังมากขึ้น..แต่จริงๆแล้วไม่ใช้ คุณภาพเสียงกลับจะแย่ลง และเบากว่า
 7.ต้องเลือกใช้ดอกลำโพง ให้ถูกต้อง เหมาะสมกับพาวเวอร์แอมป์ หมายความว่าดอกลำโพงต้องมีสเป็ครับกำลังวัตต์ได้พอดี เหมาะสมกับกำลังขับของพาวเวอร์แอมป์..ถ้าใช้ดอกลำโพงข้างละ2 ดอก ต้องให้กำลังรับวัตต์รวมกันได้พอดี เหมาะสมกับกำลังขับของลำโพงต่อข้าง เช่นดอกลำโพงรับกำลังขับได้สูงสุด 1000 วัตต์ 2 ดอกรวมกันก็ได้ 2000 วัตต์ ดังนั้นพาวเวอร์แอมป์ต้องมีกำลังขับที่ 4 โอห์มได้ ใกล้เคียงกำลังวัตต์รวมของดอก เช่น 1500-1800-2000 วัตต์ ถึงจะได้คุณภาพเสียงที่ดัง แรง อิ่ม แน่น หนา มีน้ำหนัก
เมื่อพูดถึงระบบในโรงละคร ห้องประชุม ตลอดจนระบบเสียงที่ใช้ในการแสดงดนตรีหลายคนอาจจะคุ้นเคยและทราบดีว่ามันเป็นระบบที่ใช้เครื่องขยายตลอดจนอุปกรณ์ทางเสียงที่มีคุณภาพและราคาอยู่ในขั้นมืออาชีพ (ดีและแพง) แต่ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่คิดว่าจะใช้เครื่องขยายเสียงที่เปิดฟังตามบ้านกับระบบเสียงดังกล่าวนี้ได้ (ลองใช้ดูหลายราย) เครื่องขยายเสียงที่ใช้ฟังตามบ้าน ตามห้องนั้นความคงทนตลอดจนกำลังขับ (output power) ไม่เหมาะสมกับระบบเสียงใหญ่ ๆ ที่มีบริเวณกว้าง ๆ นี่เป็นเพียงความแตกต่างทางด้านอุปกรณ์เท่านั้น มันยังมีข้อแตกต่างอีกมากมายระหว่างระบบเสียงภายในบ้าน (domertic system) กับระบบเสียงสำหรับการแสดง (sound reinforcement system)
ระบบเสียงสำหรับการแสดงที่เราจะกล่าวถึงนี้แยกเป็นส่วนย่อยอีกระบบหนึ่งคือ ระบบกระจายเสียงในที่สาธารณะ (Public Address) ซึ่งเรามักจะคุ้นเคยกับชื่อย่อของมันที่ว่า ระบบพีเอ
(P.A. system) ระบบพีเอเป็นระบบเสียงที่เน้นหนักด้านการกระจายเสียงพูด เช่น ในการอภิปารยปาฐกถา การหาเสียง เป็นต้น ส่วนระบบเสียงสำหรับการแสดจะมีจุดมุ่งหมายในการกระจายเสียงทั้งเสียงพูดและเสียงพูด เสียงร้องเพลงและเสียงดนตรีควบคู่ไปด้วย ดังนั้นระบบเสียงสำหรับการแสดงจะมีความยุ่งยากและละเอียดอ่อนมากกว่าระบบพีเอ อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้หลักการเดียวกันกับทั้งสองระบบได้ ระบบเสียงทั้งสองนี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ผู้ชมคนดูจะอยู่ในบริเวณเดียวกับผู้แสดง สภาพเช่นนี้เราถือว่าผู้ชมและผู้แสดงอยู่ในสภาพธรรมชาติของเสียงแบบเดียวกัน เช่น ถ้าอยู่ในห้องประชุมทั้งคนดูและคนแสดงจะอยู่ในสภาพเสียงก้องเสียงสะท้องแบบเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเสียงรบกวนจากลมและอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน จะเห็นว่ามันแตกต่างจากการเปิดเครื่องรับ (receiver) ฟังรายการจากวิทยุหรือฟังเพลงจากเครื่องเล่นเทป เพราะว่าสัญญาณต่าง ๆ เหล่านี้มาจากที่อื่น หรือเป็นสัญญาณที่ถูกบันทึกไว้ โดยในขณะบันทึกนั้นสภาพธรรมชาติของเสียงในห้องบันทึกกับห้องที่เรานั่งฟังนั้นแตกต่างกัน

 1 เป็นระบบพีเอที่ง่ายและพื้นฐานที่สุด ถึงแม้ว่าจะใช้ไมโครโฟนหลายตัวแต่ใช้เฉพาะเสียงพูดเรายังถือว่าเป็นระบบพีเอเช่นกัน ส่วนในรูปที่ 2 เป็นระบบเสียงสำหรับการแสดง จะเห็นว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไมโครโฟนซึ่งต้องเลือกใช้กับเครื่องดนตรีเฉพาะแบบ เครื่องดนตรีต่าง ๆ เหล่านี้มีทั้งแบบที่ใช้ไฟฟ้าและไม่ใช้ไฟฟ้า สัญญาณจากเครื่องดนตรีเหล่านี้จะนำเข้าสู่วงจรมิกเซอร์ อีควอไลเซอร์และอื่นๆ แล้วนำเข้าสู่เครื่องขยายเสียงเพื่อนำออกกระจายเสียงยงคนฟัง เราจะไม่ใช้เครื่องขยายของเครื่องดนตรีชิ้นนั้น (ถ้าเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ไฟฟ้า) กระจายเสียงไปยังคนดูโดยตรงแต่มันยังคงทำหน้าที่ขยายเสียงจากเครื่องดนตรีเพื่อให้ผู้แสดงเองได้ยินเท่านั้น

 2 เราจะพบว่ามีเครื่องขยายอีกชุดที่ใช้เป็นตัวขับลำโพงมอนิเตอร์ เพื่อที่จะให้ผู้แสดงเองได้ยินระดับความดังของเสียงดนตรีหรือเสียงร้องที่ตัวเองกำลังแสดงอยู่ว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับเครื่องดนตรีชิ้นอื่น ๆ หรือเปล่า ประโยชน์ของการใช้มอนิเตอร์นี้จะทำให้นักดนตรีสามารถแสดงได้อย่างมั่นใจไม่พวงว่าขณะนั้น ๆ เสียงดนตรีที่ไปยังคนดูมีคุณภาพเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าผิดพลาดก็จะได้แก้ไขได้ทันท่วงที ในสมัยแรก ๆ นั้นการแสดงดนตรีมักจะไม่มีระบบมอนิเตอร์ ทำให้เสียงเพลงที่ได้ห้วน ๆ หรือแย่งกันตะเบ็งเสียง ประโยชน์อีกข้อของการใช้ระบบมอนิเตอร์ก็คือ จะช่วยให้การบันทึกเสียงของการแสดงเป็นไปได้ง่ายเข้า โดยต่อพ่วงจากมอนิเตอร์เลย


จุดหมายหรือเป้าหมายของระบบเสียงสำหรับการแสดง (รวมระบบพีเอด้วย) นั้นถ้าจะพูดก็พูดได้ง่ายมาก แต่จะทำให้ได้นั้นจะยากเป็นหลายเท่าทวีคูณ เป้าหมายใหญ่ ๆ ก็คือการกระจายเสียงร้องเสียงดนตรีไปยังคนดูด้วยระดับความดัง ความสมจริงที่เหมาะสม ไม่ดังหรือค่อยเกินไปในทุก ๆ บริเวณและทุกเวลาที่เราต้องการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวเราต้องเผชิญกับปัญหาด้านต่างๆ มากมาย ดังจะได้กล่าวในตอนต่อไป ก่อนอื่นเรามาพิจารณาถึงส่วนประกอบสำคัญของระบบเสียงที่ว่านี้ ส่วนประกอบที่สำคัญแยกออกเป็น 3 ส่วนคือ ทางด้านผู้แสดง (performers) อุปกรณ์เครื่องเสียง (equipment) สภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้น (environment and acoustics) ตอนนี้บางท่านก็คงจะเข้าใจถึงระบบเสียงที่แท้จริงแล้วว่ามันไม่ใข่มีเฉพาะอุปกรณ์เครื่องเสียงเท่านั้นที่เป็นหัวใจของระบบเสียง แต่ยังมีสิ่งที่ควบคู่มาอีก 2 อย่าง ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่ดีเยี่ยมอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้ระบบเสียงดีเท่าที่ต้องการได้ ปัญหาต่าง ๆ ที่มักจะพบบ่อยที่สุดในระบบเสียง พร้อมด้วยการแก้ไขปัญหาเหล่านี้

คุณภาพของเสียง
ปัญหาข้อนี้ขึ้นกับคุณภาพของอุปกณ์เครื่องเสียงที่ใช้ว่าจะให้ความขัดเจนมากน้อยเพียงใด ความเพี้ยนของอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในระดับที่พอเพียงหรือเปล่า ถ้าจะพูดกันง่าย ๆ คุณภาพของเสียงขึ้นกับความเป็น Hi-Fi ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ นอกจากนี้ผลตอบเชิงความถี่ยังเป็นตัวกำหนดความชัดเจนด้วย ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความเพี้ยนต่ำและผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณภาพของเสียงดีขึ้นได้
โดยปกติแล้วผลตอบเชิงความถี่ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเรียบครอบคลุมช่วงความถี่ที่ประสาทหูของคนรับรู้ได้ เพราะเสียงคนไม่เหมือนเสียงดนตรี สำหรับเสียงพูดผลตอบเชิงความถี่ควรจะราบเรียบในช่วง 150 Hz  ถึง 7 kHz ก็พอ ดังนั้น เวลาเราเลือกใช้ไมโครโฟนเพื่อรับเสียงคนอย่างเดียวก็พยายามเลือกชนิดที่ให้ผลตอบเชิงความถี่ในช่วงดังกล่าวก็พอแล้ว สำหรับระบบเสียงที่ต้องการทั้งเสียงนักร้องและเสียงดนตรีผลตอบเชิงความถี่อยู่ในช่วง 50 Hz ถึง 12 kHz การเลือกไมโครโฟนหรือเครื่องขยายและอุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงอื่น ๆ ก็ควรจะเลือกให้อยู่ในช่วงนี้
นอกจากนี้แล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้คุณภาพของเสียงไม่ดีพอ สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือ สายนำสัญญาณต่าง ๆ ถ้าใช้กับไมโครโฟนอิมพีแดนซ์สูงสายไมโครโฟนควรจะยาวไม่เกิน 20 ฟุต และถ้าจำเป็นต้องใช้สายไมโครโฟนยาวกว่านี้ก็ควรเปลี่ยนมาใช้ไมโครโฟนแบบอิมพีแดนซ์ต่ำ ลำโพงที่ใช้ควรมีผลตอบเชิงความถี่ทั้งในแนวตรง (on axis) จากลำโพง และในแนวที่เยื้องออกไปจากลำโพง นั่นคือมีผลตอบเชิงมุม (polar response)   ที่ดี แบบของไมโครโฟนควรจะเลือกแบบที่มี่ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เช่น เมื่อใช้กับเสียงคน เสียงดนตรี งานกลางแจ้ง รายละเอียด สำหรับแบบของไมโครโฟนที่ใช้หาได้จากบริษัทผู้ผลิต ที่กล่าวมาเป็นการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงเพื่อให้ได้ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสม (เกี่ยวกับทางด้านวงจร) แต่ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้ผลตอบเชิงความถี่ของเสียงไม่ดีพอ ถึงแม้จะใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมแล้วก็ตาม สภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้นหรือในห้งอไม่เหมาะสมทำให้เสียงความถี่สูงหรือต่ำมีระดับความดังที่ผิดปกติไป หรือค่อยกว่าปกติไป การแก้ไขโดยมากจะใช้วงบจรเสริมแต่งเสียงเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ อีควอไลเซอร์ และ ฟิลเตอร์


ความเพี้ยนเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้คุณภาพของเสียงที่ได้ไม่ดีพอ โดยปกติความเพี้ยนในระบบเสียงมักจะเกิดจากการขลิบยอดสัญญาณเอาต์พุต (output level) เนื่องจากความแรงของสัญญาณเข้ามากเกินไป เช่นไมโครโฟนที่ใช้หลักการของคาปาซิเตอร์ มักจะกำเนิดความเพี้ยนในลักษณะนี้เสมอ เมื่อมีเสียงที่ระดับความดังมาก ๆ เข้าไปความไวตัวของแผ่นไดอะแฟรมจะทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวไมโครโฟนขลิบยอดสัญญาณที่ออกมา (overdrive) การแก้ไขมักจะต้องเปลี่ยนเป็นไปใช้ไมโครโฟนแบบไดนามิกที่คุณภาพดีเยี่ยม ปรีแอมป์สำหรับไมโครโฟนและมิกเซอร์ซึ่งไม่สามารถปรับอัตรขยายสำหรับสัญญาณเข้าก็ทำให้เกิดการขลิบได้ถ้าสัญญาณที่เข้ามาแรงเกินไป เราอาจจะใช้ชุดลดสัญญาณ (attenuation pad) ตั้งแต่ 5 dB ขึ้นไปเข้ามาต่อพ่วงช่วยลดความแรงของสัญญาณ สำหรับอุปกรณ์ที่สามารถปรับอัตรขยายได้เราก็พยายามปรับไว้ในระดับที่เหมาะสมที่สุด โดยมากแล้วจะใช้ VU มิเตอร์ช่วย


เครื่องขยาย (main amplifier) ของระบบก็มีส่วนทำให้เกิดอาการเพี้ยนเนื่องจากการขลิบยอดสัญญาณได้เช่นกัน และโดยมากมักจะเกิดขึ้นกับเครื่องขยายที่ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับระบบเสียงโดยเฉพาะ ดังนั้นเมื่อเราเร่งกำลังขยายเพิ่มขึ้นจนสุดกำลังซึ่งในช่วงนี้ความเพี้ยนของเสียงจากเครื่องขยายพวกนี้จะมีค่าสูงสุดทำให้เสียงแตกพร่าฟังไม่รู้เรื่องเลยทีเดียว ลำโพงที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำเกินไปจะทำให้กินกำลังของเครื่องขยายมาก นั่นคืออัตราขยายของมันจะมีโอกาสเกินกว่าที่มันจะขับได้ในภาวะปกติ (rated power) ซึ่งจะทำให้เกิดการขลิบยอดสัญญาณได้ทั้งที่ตัวลำโพง เองและที่เครื่องขยายด้วย ลำโพงที่ออกแบบมาสำหรับระบบเสียงจะมีความไวพอที่จะขับสัญญาณแรง ๆ ได้โดยไม่เกิดความเพี้ยนที่เกิดจากตัวมันเอง ลำโพงโดยทั่วไปที่ใช้หลักการของสนามแม่เหล็กจะมีความเฉื่อยในการขับเสียงออกมาอยู่แล้ว ทำให้เกิดความเพี้ยนโดยเฉพาะในกรณีที่ระดับสัญญาณที่เข้ามามีความแรงมาก ๆ จะทำให้วอยซ์คอยล์ (voice coil) เคลื่อนตัวไปผิดไปจากแกนไปกระแทกหรือบีบตัวกับกรอบข้าง ๆ เกิดเสียงแตกพร่าได้เช่นกัน

เทคนิคการติดตั้งเครื่องเสียง

1. สายแบต เริ่มต้นที่เบอร์ 4 เลือกใช้สายทองแดง OFC ไม่เอาสายที่แกนกลางเป็นอลูมิเนียม แล้วเคลือบด้วยทองแดง CCA ( หลอกตา เหมือนใส่สร้อยชุบทอง )

2. กระบอกฟิวส์ แบบขันน๊อต ( ถ้าเป็นแบบ ANL ยิ่งดี ) มีแอมป์ 1 ตัว จะต้องมีฟิวส์ 2 ตัว

3. สายกลาวด์ ( วัสดุเหมือนสายแบต ) ที่ใหญ่ประมาณเบอร์ 4 และสั้นที่สุด เท่าที่จะทำงานได้ ( เริ่มต้นที่ 2 เส้น )

4. แบต 45-75 แอมป์ ( ชาร์จไฟให้เต็มก่อนลองฟัง )
4.1 ถ้าแบตในรถ เล็กกว่า 45 แอมป์. ผมเลือกเปลี่ยนแบตก่อน เป็นอันดับที่ 1
4.2 ถ้าแบตในรถ เล็กกว่า 45 แอมป์. ผมเลือกเพิ่มแบต ลูกที่ 2 ก่อน เป็นอันดับที่ 1
*** 4.1 และ 4.2 ให้เลือกทำ ข้อใดข้อหนึ่ง

5. แดมป์ประตูเต็มแผ่น ทั้งด้านนอก และด้านใน ( ถ้าต้องการประหยัดให้เน้นด้านหลังลำโพง ข้างละครึ่งแผ่นก็ยังดี )

6. แผงเสริมลำโพง อย่างหนา / เอียงขึ้น / เป็นห้องหรือเป็นเหมือนตู้ ยื่นเข้าไปในประตู ( ลองเอามือปล้องปากแล้วพูดดูครับ เสียงมันจะพุ่งกว่าใช่มั๊ย ) ข้อดีก็คือเสียงมันจะทะลุออกมาจากแผงประตูได้มากขึ้น โดยที่เราไม่ต้องไปเสียเงินซื้อลำโพง รุ่นที่แพงขึ้น ( ร้านที่ขายเก่งๆ เซลล์จะแนะนำสินค้าที่แพงขึ้นเรื่อยๆ)

7. เสา a-pilla / หูช้าง ใช้สำหรับติดตั้งทวิตเตอร์ เพื่อให้ได้องศา ที่เราต้องการ ( ร้านใหญ่ๆจะเชียร์ขายลำโพงกับแอมป์และฟร้อนรุ่นแพงๆ เข้าไว้ ) โดยที่ใส่ทวิตเตอร์ ไว้ในช่องเดิม ...รู้ทั้งรู้ ว่าเสียงไม่ดี

8. เลือกซื้อลำโพง ที่พาสซีพเน็ตเวิอร์ค มีค่าสโลป 12 dB ทั้งของเสียงกลาง และของเสียงแหลม ( ดูจากกล่องภายนอกจะเหมือนกัน แต่ต่างกันที่อุปกรณ์ด้านใน ) ข้อ 8. สำคัญที่สุด ถ้าใช้ลำโพงแยกชิ้น และระบบเป็น ไบแอมป์ ( 2 ย่านความถี่เสียง ไม่ใช่แอมป์ 2 ตัวน่ะครับ
9. ถ้าในระบบมีซับ ต้องเลือกตู้ซับ ให้เหมาะกับดอกซับวูฟเฟอร์ ( อย่าบังคับให้ดอกซับ ไปอยู่ในตู้ที่มันไม่ชอบ ) อ่านสเปค + เข้าโปรแกรมคอม ฯ ดูค่า EBP
* ค่า EBP จะเป็นตัวกำหนดว่า จะตีตู้ เปิด หรือตู้ ปิด
10. เลือกแอมป์ กับลำโพง ให้วัตต์ใกล้เคียงกัน
11. ประกอบเครื่องเสียงเสร็จทั้งคัน ให้เช็คเฟสก่อน เป็นอันดับแรก ก่อนที่จะจูนเสียง
12. เลือกจุดตัดความถี่เสียง ที่ครอสโอเวอร์ ให้เหมาะกับตำแหน่งการติดตั้งลำโพง ( ทั้งพาสซีพ และแอคทีฟ ครอสโอเวอร์ )
13. อย่าลืมทำ LEVEL MATCHING อย่าข้ามขั้นตอนนี้เด็ดขาด
14. หางปลา ก้ามปู ที่ใช้กับสายแบต และสายกลาวด์...จะต้องมีขนาดใหญ่เท่ากับขนาดของสาย ( ไม่ใช่ว่า ใช้สายใหญ่ๆ แต่รูหางปลาเล็กนิดเดียว / พอใส่สายไม่ได้ ก็ต้องไปควั่นสายให้เล็กลง ) ถ้าทำแบบนี้ จะเลือกสายใหญ่ ไปทำไม
15. สายสัญญาณ
16. สายลำโพง
17. CAPA มีความจำเป็นน้อยอีกเช่นกัน ถ้าทุกท่านทำมาครบแล้วทั้ง 16 ข้อ
การติดตั้งและวางระบบเครื่องเสียง
การติดตั้งและวางระบบ : การทำงานในปัจจุบันมักจะใช้เครื่องขยายเสียง ซึ่งการได้ยินเสียงนับได้ว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการจัดวางอุปกรณ์

การติดตั้งเครื่องขยายเสียง : เครื่องขยายเสียงใช้ในงานมักจะเกี่ยวข้องกันในสองลักษณะคือ
1. เครื่องขยายเสียงที่ใช้ฟังตามบ้าน (domestic system) ไม่เหมาะสมกับระบบเสียงใหญ่ ๆ ที่มีบริเวณกว้าง ๆ
2. ระบบเสียงสำหรับการแสดง (sound reinforcement system) ระบบเสียงสำหรับการแสดงที่เราจะกล่าวถึงนี้แยกเป็นส่วนย่อยอีกระบบหนึ่งคือ ระบบกระจายเสียงในที่สาธารณะ (Public Address) ซึ่งเรามักจะคุ้นเคยกับชื่อย่อของมันที่ว่า ระบบพีเอ (P.A. system)
ระบบเครื่องขยายเสียง : เป็นระบบเสียงที่เน้นหนักด้านการกระจายเสียงพูด เช่น ในการอภิปรายปาฐกถา การหาเสียง เป็นต้น
ระบบเสียงสำหรับการแสดง : จะมีจุดมุ่งหมายในการกระจายเสียงทั้งเสียงพูดและเสียงพูด เสียงร้องเพลงและเสียงดนตรีควบคู่ไปด้วย ดังนั้นระบบเสียงสำหรับการแสดงจะมีความยุ่งยากและละเอียดอ่อนมากกว่าระบบพีเอ


ะบบเสียงทั้งสองนี้มีอยู่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ผู้ชมคนดูจะอยู่ในบริเวณเดียวกับผู้แสดง สภาพเช่นนี้เราถือว่าผู้ชมและผู้แสดงอยู่ในสภาพธรรมชาติของเสียงแบบเดียวกัน เช่น ถ้าอยู่ในห้องประชุมทั้งคนดูและคนแสดงจะอยู่ในสภาพเสียงก้องเสียงสะท้อนแบบเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเดียวกัน ถ้าอยู่ในสนามหญ้าก็จะพบปัญหาเสียงรบกวนจากลมและสิ่งอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกัน แตกต่างจากการเปิดเครื่องรับ (receiver) หรือเป็นสัญญาณที่ถูกบันทึกไว้ โดยในขณะบันทึกนั้นสภาพธรรมชาติของเสียงในห้องบันทึกกับห้องที่เรานั่งฟังนั้นแตกต่างกัน

ระบบพีเอเบื้องต้น : ถึงแม้ว่าจะใช้ไมโครโฟนหลายตัวแต่ใช้เฉพาะเสียงพูดเรายังถือว่าเป็นระบบพีเอเช่นกัน กระจายเสียงไปยังคนดูโดยตรงแต่มันยังคงทำหน้าที่ขยายเสียงจากเครื่องดนตรีเพื่อให้ผู้แสดงเองได้ยินเท่านั้น
ระบบพีเอหลายชิ้น : เป็นระบบเสียงสำหรับการแสดง จะเห็นว่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะไมโครโฟนซึ่งต้องเลือกใช้กับเครื่องดนตรีเฉพาะแบบ เครื่องดนตรีต่าง ๆ เหล่านี้มีทั้งแบบที่ใช้ไฟฟ้าและไม่ใช้ไฟฟ้า สัญญาณจากเครื่องดนตรีเหล่านี้จะนำเข้าสู่วงจรมิกเซอร์ อีควอไลเซอร์และอื่นๆ แล้วนำเข้าสู่เครื่องขยายเสียงเพื่อนำออกกระจายเสียงยังคนฟัง เราจะไม่ใช้เครื่องขยายของเครื่องดนตรีชิ้นนั้น (ถ้าเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ไฟฟ้า) กระจายเสียงไปยังคนดูโดยตรงแต่มันยังคงทำหน้าที่ขยายเสียงจากเครื่องดนตรีเพื่อให้ผู้แสดงเองได้ยินเท่านั้น
ระบบพีเอเบื้องต้น
คุณภาพของเสียง : คุณภาพของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ว่าจะให้ความขัดเจนมากน้อยเพียงใด ความเพี้ยนของอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่ในระดับที่พอเพียงหรือเปล่า คุณภาพของเสียงขึ้นกับความเป็น Hi-Fi ของอุปกรณ์เครื่องเสียงที่ใช้ นอกจากนี้ผลตอบเชิงความถี่ยังเป็นตัวกำหนดความชัดเจนด้วย ดังนั้นการเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีความเพี้ยนต่ำและผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณภาพของเสียงดีขึ้นได้
เครื่องเสียงที่ใช้ไม่จำเป็นต้องครอบคลุมช่วงความถี่ที่ประสาทหูของคนรับรู้ได้ เพราะเสียงคนไม่เหมือนเสียงดนตรี สำหรับเสียงพูดผลตอบเชิงความถี่ควรจะราบเรียบในช่วง 150 Hz ถึง 7 kHz ก็พอ ดังนั้น เวลาเราเลือกใช้ไมโครโฟนเพื่อรับเสียงคนอย่างเดียวก็พยายามเลือกชนิดที่ให้ผลตอบเชิงความถี่ในช่วงดังกล่าวก็พอแล้ว สำหรับระบบเสียงที่ต้องการทั้งเสียงนักร้องและเสียงดนตรีผลตอบเชิงความถี่อยู่ในช่วง 50 Hz ถึง 12 kHz การเลือกไมโครโฟนหรือสิ่งอื่น ๆ ก็ควรจะเลือกให้อยู่ในช่วงนี้
นอกจากนี้แล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้คุณภาพของเสียงไม่ดีพอ สาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือ สายนำสัญญาณต่าง ๆ ถ้าใช้กับไมโครโฟนอิมพีแดนซ์สูงสายไมโครโฟนควรจะยาวไม่เกิน 20 ฟุต และถ้าจำเป็นต้องใช้สายไมโครโฟนยาวกว่านี้ก็ควรเปลี่ยนมาใช้ไมโครโฟนแบบอิมพีแดนซ์ต่ำ ลำโพงที่ใช้ควรมีผลตอบเชิงความถี่ทั้งในแนวตรง (on axis) จากลำโพง และในแนวที่เยื้องออกไปจากลำโพง นั่นคือมีผลตอบเชิงมุม (polar response) ที่ดี
คุณภาพของเสียงจากแบบของไมโครโฟน
แบบของไมโครโฟนควรจะเลือกแบบที่มี่ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสมกับงานนั้น ๆ เช่น เมื่อใช้กับเสียงคน เสียงดนตรี งานกลางแจ้ง รายละเอียด สำหรับแบบของไมโครโฟนที่ใช้หาได้จากบริษัทผู้ผลิต ที่กล่าวมาเป็นการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงเพื่อให้ได้ผลตอบเชิงความถี่ที่เหมาะสม (เกี่ยวกับทางด้านวงจร)

แต่ยังมีองค์ประกอบที่สำคัญที่แม้จะใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมแล้วก็ตาม คือสภาพธรรมชาติของเสียงในบริเวณนั้นหรือในห้องไม่เหมาะสมทำให้เสียงความถี่สูงหรือต่ำมีระดับความดังที่ผิดปกติไป หรือค่อยกว่าปกติไป การแก้ไขโดยมากจะใช้วงบจรเสริมแต่งเสียงเพิ่มเติม ซึ่งได้แก่ อีควอไลเซอร์ และ ฟิลเตอร์

เสียงรบกวนจากพัดลม มอเตอร์ คนดู เสียงจากบริเวณข้างเคียง
เช่น เสียงรถยนต์ เครื่องจักร (ถ้ามี) จะทำให้น้ำเสียงฟังดูคลุมเครือมาก เครื่องขยายที่ใช้ต้องมีระดับความดัง 20-25 dB มากกว่าเสียงรบกวน ดังนั้นในบริเวณที่เสียงรบกวนมีมากเครื่องขยายและลำโพงที่ใช้เป็นแบบที่ราคาค่อนข้างแพงมาก
คุณภาพของเสียงความก้องกำธร
ความก้องกำธรของห้องจะทำให้เสียงที่ได้ฟังดูสับสนไปหมด เพราะว่าเสียงเดิมที่ได้ยินไปแล้วจะดังตามมาอีก มันจะแทรกเข้ามาพร้อมเสียงใหม่ที่เพิ่งพูดไป ทำให้เกิดความสับสนเหมือนคนมีคนแย่งกันพูด การจัดวางตำแหน่งของลำโพงที่มีมุมครอบคลุม (coverage angle) แคบจะช่วยได้มาก โดยวางให้ปากลำโพงหันเข้าหาคนดูมากที่สุด และพยายามหลีกเลี่ยงการหันเข้าหากำแพงหรือเพดาน ซึ่งมักจะเป็นพื้นราบกว้าง ๆ การแก้ไขอีกวิธีที่ได้ผลแต่ราคาและค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงคือการบุกำแพงเพดานด้วยวัสดุดูดกลืนเสียง
การป้อนกลับทางเสียง (acoustic feedback)
ไมค์หอนนับได้ว่าเป็นปัญหาที่พบมากที่สุด เสียงหอนที่ว่านี้มีทั้งเสียงหวีดหวิวในช่วงความถี่สูง หรือเสียงหึ่ง ๆ ในช่วงความถี่ต่ำ โดยมันจะดังอยู่อย่างนั้นตลอดเวลาและจะมีระดับความดังขึ้นเรื่อย ๆ บางครั้งเพิ่มจนถึงอัตราขยายสูงสุดของเครื่องขยาย นอกจากเราจะปิดเสียงเสียก่อนเท่านั้น เสียงหอนนี้เกิดจากการป้อนกลับทางเสียงระหว่างลำโพงและไมโครโฟน ระดับความดังของเสียงหอนจะขึ้นกับอัตราขยายของลูป (loop – วงจรส่วนนั้น)
ชุดเครื่องเสียงสำหรับห้องสัมนาขนาดย่อม ประกอบด้วย
Power Amp Stereo 120W x 2 รุ่น STA-240P
3D Surround Pre Karaoke  รุ่น SK-202
ตู้ลำโพงพ่นสี 10 1 คู่ รุ่น JL-10
ขาตั้งตู้ลำโพง 1 คู่
งบประมาณ 12,733 บาท

นางสาว วรรณกานต์ แดงดิษฐ์

งานวีดีโอ

นาที
เหตุการณ์
เนื้อหา
การถ่ายภาพ
00.00-00.04
ผู้ชายกับผู้หญิงล้มลงที่นอนและจ้องหน้ากัน
(เสียงดนตรี)
ถ่ายด้านหน้าและซูมเข้าตอนจ้องหน้ากัน
00.05-00.10
ผู้ชายโอบกอดผู้หญิง
(เสียงดนตรี)
ถ่ายจากด้านหน้าครึ่งตัว
00.11-00.16
ผู้หญิงโอบกอดผู้ชายจากด้านหลัง
(เสียงดนตรี)
ถ่ายทั้งลำตัว แล้วซูมเข้าตอนโอบกอด
00.17-00.23
ผู้ชายบาดเจ็บและมีผู้หญิงเข้าช่วย
พูดไม่ออก เมื่อเห็นว่าเธอ ต้องเป็นอะไรเพราะฉัน
โฟกัสครึ่งตัวที่บาดแผลและซูมเข้าตอนจ้องหน้า
00.24-00.29
ผู้หญิงจะล้มและมีผู้ชายเข้าช่วย
เพิ่งเข้าใจ ว่าฉันคอยถ่วง ฉุดรั้งเธอไว้ตรงนั้น
สโลตอนที่ผู้หญิงจะล้ม และซุมเข้าที่หน้าผู้ชายและผู้หญิง
00.30-00.34
ผู้หญิงหอมแก้มผู้ชายและผู้ชายก็ผลักออก
ไม่มีฉัน เธอก็คงไม่ต้องเจ็บ
ถ่ายจากด้านหลังของผู้หญิงและซูมเข้าตอนหอมแก้ม
00.35-00.43
ผู้ชายจ้องหน้าผู้หญิงตอนนอนบนเก้าอี้
ผิดที่ฉัน เราไม่ควรรักกันอีกต่อไป
ถ่ายทั้งลำตัวจากด้านหน้าและซูมเข้าโฟกัสที่หน้าของทั้งสอง
00.44-00.50
แม่ผู้ชายตบหน้าผู้หญิงและมีคนเข้ามาช่วย
ถ้าไม่มีฉัน เธอคงดีกว่านี้
ถ้าไม่มีฉัน เธอคงไม่ลำบาก
ถ่ายจากด้านหลังผู้ตบทั้งลำตัว แล้วซูมเข้าตอนมีคนมาช่วย
00.51-1.03
ผู้หญิงตบหน้าผู้ชายและเดินออกไป
จะรักแค่ไหน แต่ใจจะยอมให้สักที
จะเจ็บแค่ไหน ยอมทนไม่บอกใคร
จะเก็บเอาไว้ กับใจมี
ถ่ายครึ่งตัวของผู้ชายและผู้หญิง และมีภาพซ้อนที่หน้าผู้ชาย
1.04-1.18
ผู้ชายยืนตากฝนตอนกลางคืน ส่วนผู้หญิงนั่งร้องไห้อยู่ในบ้าน
จะยอมเพื่อรัก จะทำเพื่อเธอคนนี้
แม้ฉันต้องเสียเธอ
ถ่ายด้านหน้าผู้หญิง และพื้นหลังจะใช้ภาพเบลอ
1.19-1.24
ผู้หญิงอยู่กับคนอื่น และผู้ชายก็เปิดประตูมาเห็น
แม้ทุกวัน ที่ไม่เธอ เจ็บเกินจะทนแค่ไหน
โฟกัสจากทางด้านหน้าครึ่งตัว และซูมเข้าที่หน้าผู้ชาย
1.25-1.32
ผู้หยิงอีกคนเอามือแตะหน้าผู้ชาย และโอบกอด
ต้องทำได้ เมื่อรักในใจ สั่งฉันให้ทำเพื่อเธอ
โฟกัสที่หน้าของทั้งสองและตัดฉากไปที่ผู้หญิงโอบกอดผู้ชาย
1.33-1.46
ผู้ชายเข้ามาหาผู้หญิงและพากันเดินออกไป
ยิ่งมาเจอ ใจเธอมันก็ยิ่งเจ็บ
ผิดที่ฉัน เราไม่ควรรักกันอีกต่อไป
ถ่ายทั้งลำตัวของทั้งสอง
1.47-1.54
ผู้ชายอยู่กับคนอื่น และผู้หญิงเข้ามาเห็น
ถ้าไม่มีฉัน เธอคงดีกว่านี้
ถ้าไม่มีฉัน เธอคงไม่ลำบาก
จะรักแค่ไหน แต่ใจจะยอมให้สักที
ถ่ายครึ่งตัว และโฟกัสที่หน้าของผู้ชายและผู้หญิง
1.55-2.07
ผู้หญิงเข้ามาช่วยผู้ชายที่กำลังบาดเจ็บและโอบกอด
จะเจ็บแค่ไหน ยอมทนไม่บอกใคร
จะเก็บเอาไว้ กับใจมี
ถ่ายเต็มตัวตอนเข้าช่วย แล้วซูมเข้าถ่ายจากด้านหลังผู้ชาย
2.08-2.23
ผู้ชายจ้องหน้าผู้หญิและโอบกอด
จะยอมเพื่อรัก จะทำเพื่อเธอคนนี้
แม้ฉันต้องเสียเธอ
ถ่ายจากครึ่งตัวและซูมที่หน้าผู้ชายจากด้านหลังของผู้หญิง
2.24-2.34
ผู้หญิงมาเฝ้าผู้ชายตอนอยู่โรงพยาบาล
(เสียงตนตรี)
ถ่ายภาพกว้าง เห็นทั้งหมดภายในห้อง
2.35-2.46
ผู้ชายจับมือผู้หญิงและจ้องหน้ากันอยู่บนเตียง
ถ้าไม่มีฉัน เธอคงดีกว่านี้
ถ้าไม่มีฉัน เธอคงไม่ลำบาก
จะรักแค่ไหน แต่ใจจะยอมให้สักที
ถ่ายครึ่งตัวจากด้านหน้าและโฟกัสทั้งหน้าผู้ชายสลับไปมาโดยภาพสะท้อนโดยพื้นหลังเป็นภาพเบลอ
2.47-2.56
ผู้ชายเข้าโอบกอดผู้หญิงที่อยู่ในรถกู้ภัย
จะเจ็บแค่ไหน ยอมทนไม่บอกใคร
จะเก็บเอาไว้ กับใจมี
ภาพโฟกัสที่หน้าผู้ชายและผู้หญิงครึ่งตัว
2.57-3.02
ผู้ชายจูบหน้าผากผู้หญิง
จะยอมเพื่อรัก จะทำเพื่อเธอคนนี้
โฟกัสที่หน้าของผู้ชายและผู้หญิง
3.03-3.16
ผู้ชายให้ดอกไม้ผู้หญิง
ถ้าไม่มีฉัน เธอคงดีกว่านี้
ถ้าไม่มีฉัน เธอคงไม่ลำบาก
จะรักแค่ไหน แต่ใจจะยอมให้ซักที
ถ่ายเต็มตัวโฟกัสด้านหน้า
3.17-3.29
ผู้หญิงโอบกอดผู้ชายจากทางด้านหลัง
จะเจ็บแค่ไหน ยอมทนไม่บอกใคร
จะเก็บเอาไว้ กับใจมี
จะยอมเพื่อรัก จะทำเพื่อเธอคนนี้
แม้ฉันไม่เหลือใคร
ถ่ายเต็มตัวที่ด้านหลังของผู้หญิง และโฟกัสที่หน้าผู้ชาย
3.30-4.04
ผู้ชายและผู้หญิงจ้องหน้ากัน และจูบกัน
(เสียงดนตรี)
ถ่ายครึ่งตัวด้านหน้า

https://www.youtube.com/watch?v=r-3hQpwrbps